ผมคิดเรื่องนี้มานานแล้ว [มาร์คมาเขียนเรื่องนี้](http://www.isriya.com/node/3190/transform-thailand-1-เลือกตั้งผู้ว่า)เข้าพอดีเลยได้เวลา
เราเห็นคำพูดมากมายว่านักการเมืองนั้นชั่วช้าอย่างนั้น โกงอย่างนี้ ไม่รับผิดชอบ โดดประชุม ฯลฯ
เราจะมีส่วนแก้ได้อย่างไร?
คำตอบในเรื่องนี้ของผมคือแทนที่เราจะพยายามฟอกคนเหล่านี้ให้ขาวสะอาดขึ้นมา ด้วยการซักฟอกสารพัด ขุดโคตรเหง้ามาเจ็ดชั่วโคตร ฯลฯ เราควรกลับคำถาม
เราต้องตั้งคำถามว่าทำไมคนดีๆ (เช่นเราๆ ที่ด่านักการเมืองทุกวัน) จึงไม่ลงเล่นการเมือง
ผมเคยตั้งคำถามนี้เล่นๆ กับนักวิจารณ์การเมืองตัวยงรอบข้างผม คำตอบคล้ายๆ กันหมด
“ไม่เห็นคุ้มเลย”
ถ้าการเป็นนักการเมืองมัน__ไม่คุ้ม__เสียแล้ว เราจะคาดหวังให้คนดีๆ ลงไปทำงานการเมืองได้อย่างไรกัน เราอาจจะต้องเปลี่ยนตัวเอาเองก่อนเป็นอย่างแรก เราต้องช่วยกันทำให้การเมืองเป็นเรื่องที่__คุ้ม__ ที่คนดีๆ แต่มีครอบครัวต้องดูแล มีอนาคตรออยู่ข้างหน้า พร้อมจะเข้ามาทำงานเพื่อบ้านเมืองเพราะมัน__คุ้ม__
ถ้าใครบอกว่าคนเล่นการเมืองต้องเสียสละ อนาคต ความเป็นส่วนตัว และเสี่ยงต่อการถูกรังเกียจ ผมก็ขอเรียกร้องให้เขาลาออกจากงานไปเลือกตั้งสส. สมัยหน้า
ความคุ้มค่าไม่ใช่แค่เรื่องเงินเดือนอย่างเดียว แต่เราควรสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งให้เห็นว่าการลงเล่นการเมืองเป็นเรื่องที่ทำได้ ถ้าคุณจะทำ
1. ใส่วันลางานไปหาเสียงไว้เป็น one-time leave แบบเดียวกับลาบวชหรือลาคลอด ไปเลย ชีวิตคนๆ หนึ่งลองลงสมัครสส. อบต. ฯลฯ ดูสักทีก็น่าจะดี
2. เพิ่มเงินเดือนให้มันคุ้ม น่าแปลกที่เงินเดือนนายกเราน้อยกว่าผู้ว่าแบงค์ชาติมากนัก เราอาจจะเห็นว่ามันเยอะ แต่ในระดับผู้บริหารด้วยกันแล้วคงต้องบอกว่าสภาพการทุกวันนี้ฐานเงินเดือนนายกอยู่ในระดับย่ำแย่
3. เปิดทางออกให้กับคนที่หมดสมัย ไม่ใช่ว่ามาเป็นสส.ดีๆ ได้สมัยเดียวแล้วสมัยหน้าสอบตก ต้องหมดอนาคต ไม่มีเงิน ไม่มีอาชีพ เราอาจจะสร้างระบบรับประกันตำแหน่งงานสำหรับการออกไปทำหน้าที่การเมือง (เหมือนไปเกณฑ์ทหาร) เราอาจจะต้องมีระบบบำนาญสำหรับอดีตนักการเมืองที่ยัง active อยู่ในวงการ ฯลฯ
ทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นเรื่องของการเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องที่คนดีๆ ไม่ทำกันเช่นทุกวันนี้
นักการเมืองหลายๆคน เช่น อภิสิทธิ์ และรสนา ก็สร้างตัวเองขึ้นมาจากการสร้างภาพลักษณ์ว่าตัวเอง “ไม่ชัว” ซึ่งสุดท้ายแล้วเราก็พบว่าทั้งคู่ก็ “ชั่ว” อยู่ดีในมุมมองหลายๆมุม
ผมมองในมุมกลับกันว่า การที่เราคิดว่านักการเมืองนั้นชั่ว มันเกิดจากการที่สังคมไทยไม่ชอบระบบการเมืองที่มีการต่อรองอำนาจ ถ้าคิดเห็นไม่ตรงกันก็จะหาว่าอีกฝ่ายนั้นชั่วร้าย จึงทำให้การเมืองรูปแบบกำจัดฝ่ายตรงข้ามนั้นอยู่คู่กับไทยตลอดมา
แนวคิดดี-ชั่วแบบนี้ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ชนกลุ่มหนึ่งสังคมไทย ต้องการอำนาจเบ็ดเสร็จ ที่มีคุณธรรมความดีแบบตำหนิมิได้ เพื่อที่จะขจัด”ความชั่วร้าย”ไม่ว่าจะแลกกับอะไรก็ตาม
ผมคิดว่า ปัจจุบันมีความคุ้มค่าสูงอยู่แล้ว เพียงแต่มันไม่ถูกต้องและไม่มีใครพูดกัน (จริงๆ ก็คงเป็นเกือบทุกอาชีพนะ เรื่องไม่ถูกต้องที่ไม่ยอมบอกกันตรงๆ ว่ามันมีพ่วงกับอาชีพนั้นๆ ที่เราเคยคุยกันก็เช่นหมอรับเงินดีเทลยา :P หรือนักข่าวรับเงินแหล่งข่าว ฯลฯ)
ดังนั้นผมคิดว่าการเพิ่มความคุ้มค่าเพื่อทดแทนความสูญเสีย น่าจะยังไม่ช่วยมาก วิธีการที่ดีคือลดความเสี่ยง หรือลดงาน/ลดขนาดไปเลยดีกว่า
ผมสนับสนุนให้รัฐมีขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีแรงแค่
ตอบบล็อกนี้่เหมือนตอบบล็อกรุ่นน้องอีกที่เลยครับ ที่ http://www.arjin.com/2010/06/blog-post_12.html?showComment=1276415694721#c5570866427232334996
มันก็คงจะเป็นแบบ
เขาดีต่อเราคนเดียว แต่ร้ายกับคนทั้งโลก เราก็ว่าเขาเลวไม่ได้
เขาเลวต่อเราคนเดียว แต่ดีกับคนทั้งโลก เราก็ว่าเขาดีไม่ได้
หรืออย่างน้อยก็ไม่เต็มปากเต็มคำ
@iMenn ผมพิจารณาเฉพาะความคุ้มค่าที่เกิดขึ้นบนโต๊ะอย่างถูกต้องน่ะครับ
เพราะประเด็นคือจะนำ “คนดี” (หรืออย่างน้อยคนที่อ้างว่าตัวเองดี) ให้ลงสนามมาวัดกันเสียที ไม่ต้องอ้างโน่นอ้างนี้
ผมว่าในที่สุด นักการเมือง คือรูปแบบสูงสุดของการต่อรองและรักษาผลประโยชน์
ผลประโยชน์ของใครบ้าง ต่อประชาชนชาวไทย ประชาชนที่ชอบพรรคการเมืองที่สังกัด ประชาชนเขตที่เค้าอยู่ ประชาชนที่เลือกเขา กลุ่มล็อบบี้ลิสต์ กลุ่มผลประโยชน์
ทรัพยากรทั้งหลายมีจำกัด ทั้งเงินภาษี งบประมาณรัฐ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ทันที่ที่ตัดสินเลือกปุ๊บ จะมีคนได้ และจะมีคนที่ไม่ได้
คนที่ได้ ก็ว่าดี คนที่ไม่ได้ ก็ว่าอีกฝั่งมันเลว แล้วไม่หยุดที่ความคิด ใส่ร้าย โจมตี ขุดโคตรเหง้ามาดิสเครดิต ทาสีฝั่งตรงข้ามเป็นปีศาจ แต่แล้วไง วันหน้าก็กลับมาจูบปากกอดคอกันได้ ปล่อยให้ชาวบ้านที่โดยไม่รู้เท่าทันความคิดรวบยอด เคยหลงเชื่อเต้นตาม งงเป็นไก่ตาแตก