ผมเป็นนิสิตม.เกษตรศาสตร์รุ่นหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 44
มันคงไม่มีความหมายอะไรกับผมมากมาย ถ้ามันไม่ใช่เลขเดียวกับนิสิตหญิงอีกคนหนึ่งที่ชื่อ น.ส.จิตรา ร่วมเจริญชัย
ผมยังจำได้ ในวันหนึ่งที่ผมขึ้นรถไฟฟ้าสถานีหมอชิตกลับบ้าน ผมไปเจอกับเพื่อนคนหนึ่งที่อยู่คณะเดียวกับจิตรา เขาเดินมาบอกผมว่า “มีเด็กเกษตรโดนแทงที่สถานีนี้เมื่อตอนบ่าย”
ผมกลับบ้านด้วยความงงงวย ผมงงว่าเกิดอะไรขึ้น มันเป็นแค่การลักทรัพย์ตอนกลางวัน? หรือมันเกิดอะไรกันขึ้น
เมื่อผมกลับบ้านผมก็ได้ทราบข่าวว่าจิตราได้เสียชีวิตไปแล้ว
ผมอ่านหนังสือพิมพ์ในตอนเช้า พบว่าคนที่แทงเธอนั้นเป็นชายเมายาบ้า เมื่ออ่านเนื้อข่าว ผมพบว่าตำรวจพยายามเจรจาไปเรื่อยๆ แม้แต่หลังจากที่คนร้ายเริ่มแทงมืดแรก และมืดต่อๆ มา
ผมโกรธมาก ทำไมตำรวจจึงไม่จัดการในเวลาที่ควรต้อง ทำไมถึงได้ทิ้งให้ชีิวิตหนึ่งต้องเสียไป
ตั้งแต่นั้นมาการไม่ทำอะไร ให้ทุกอย่างมันเป็นไปก็ไม่ใช่ความถูกต้องสำหรับผมอีกต่อไป
NGO…
เหตุการณ์นั้นคนมุงดูเพียบ คนร้ายคนเดียว
ไม่มีใคร “ลงมือ” ทำอะไร สุดท้ายตัวประกันเสียชีวิต
แต่จริงๆแล้วกรณีนี้มีจุดที่สามารถแย้งได้นะ
เพราะว่าคนที่เข้ามาช่วยอาจจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง ศีลธรรม/หน้าที่ vs ชีวิตของเขาเอง/ครอบครัว
อย่างไรก็ตาม มันเป็นความจริงที่ว่า
มีกรณีที่เรารู้และสามารถทำได้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่เราก็กลับปล่อยปละละเลยไป
สำหรับผม มองว่านี่เป็น tip of the ice berg
ที่อยู่ข้างล่างผืนน้ำนั่นคือ ยาม้ามันกลับมาระบาดในสังคมนี้แล้ว
ตั้งแต่คนปราบม้าอย่างทักษิณโดนโค่นอำนาจไป
ผมคิดอยู่เสมอว่า สักวันเหตุการณ์อย่างนี้คงต้องเกิดขึ้น ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
รอแต่ว่าใครจะเมาม้า และใครจะเป็นเหยื่อ
รัฐบาลคงออกมาพูดอะไรนิดหน่อย
สรยุทธ์คงได้ข่าวไปทำสักสามสี่วัน แสดงความเห็นใจตามบทบาทไป
แต่การจัดการอย่างเด็ดขาดเป็นระบบ คงไม่มี (อย่างน้อยก็จากรัฐบาลประชาธิปัตย์)
ทายอีกว่า ต้องมีอย่างน้อยอีกหนึ่งราย จากเหตุการณ์คล้ายๆ กันอย่างนี้
44 ผมยัง ม. ต้นอยู่เลย ตอนติด Ragnarok งอมแงม