หลายคนน่าจะได้ยินเรื่องตลกที่ว่าบิล เกตต์ไปปะทะคารมกับประฐานบริษัทฟอร์ด
เกตต์ – ถ้าอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอย่างอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ วันนี้รถจะราคาพันดอลลาร์ วิ่งได้ร้อยกิโลด้วยน้ำมันลิตรเดียว และอัตราเร่งเป็นสองเท่าของทุกวันนี้
ฟอร์ด – แน่นอน และรถพวกนั้นจะดับไปเองทุกสองวัน ในแต่ละเดือนจะมีรถที่คุณพบระเบิดโดยไม่รู้สาเหตูอย่างน้อยหนึ่งคัน และบางทีมันอาจจะวิ่งถอยหลังไปเองบ้างนานๆ ที
นึกเรื่องนี้ขึ้นมาได้เมื่อผมอ่านรายงานของ US-CERT ที่ว่ามีบั๊กในซอฟท์ฺแวร์ที่รู้จักกันดีกว่าห้าพันตัว ฟังดูน่าตกใจ
ในอดีตที่ผ่านมาเชื่อได้ว่าเรามีบั๊กต่อจำนวนบรรทัดของโค้ดต่ำกว่าในวันนี้มาก แต่ความเป็นจริงคือในอดีตนั้น คอมพิวเตอร์ และคอมไพล์เลอร์ ถูกใช้งานโดยดอกเตอร์ที่ต้องการทำงานวิจัย โดยต้องรอคิวในการคอมไพล์โปรแกรมรอบละสัปดาห์ ดอกเตอร์เหล่านั้นเชี่ยวชาญในภาษาที่เขาใช้งานเป็นอย่างดี เวลาที่ต้องรอนานทำให้ดอกเตอร์พวกนั้นเพ่งโค้ดซ้ำไปซ้ำมาเพื่อไม่ให้มันมีบั๊ก เพราะจะเสียเวลาในการแก้มหาศาล
แต่ในวันนี้โปรแกรมเมอร์ส่วนมากค่อนตลาด จบปริญญาตรี หลายคนได้จับคอมพิวเตอร์ครั้งแรกเมื่ออยู่ปีหนึ่ง ตอนเรียนเขียนโปรแกรมเบื้องต้นนั่นแหละ ส่วนคอมพิวเตอร์น่ะ หาได้ทุกหัวระแหง
คำถามคือเราต้องการให้กระบวนการผลิตซอฟท์แวร์ถูกตรวจสอบอย่างหนักเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นรถยนต์ หรือเครืองบินไหม? ถ้าต้องการ เรายอมรับได้ไหมกับราคาที่แพงมหาศาล เรายอมรับได้ไหมกับแลปทอปเครื่องละห้าล้าน แทนที่จะเป็นห้าหมื่นอย่างในวันนี้
ในวันนี้ืที่เทคโนโลยีล่าสุดจากห้องวิจัย ถูกจับมาลงกล่องขายกันแทบวันต่อวัน ราคาที่ลงเร็วเป็นน้ำตก
บางทีเราอาจจะอยู่ในทางเลือกที่ดีกว่าก็ได้
ใครจะรู้
เคยอ่านเป็นแต่ Version MS กะ General Motors แฮะ แต่ข้อความก็คล้ายๆกัน
แต่อ่านเรื่องนี้แล้ว ยังจับจุดคุณที่บอกว่ามีทาง ไม่ได้แหะคิดว่าเป็น
1.ทางที่เน้น Bug น้อยๆ แต่ว่าค่าใช้จ่ายมหาศาล
2.ทางที่เน้นค่าใช้จ่ายถูกลงมา แต่ Bug รับได้รึเปล่าครับ
เพราะสำหรับที่ผมเจอมา ลูกค้ามักเลือกทางเลือกที่สามคือ บักน้อยๆ แต่ค่าใช้จ่ายถูก จนเกิดปัญหากันระหว่าง บ.ที่ทำกับลูกค้าเสมอ
สำหรับผมเอง ก็คงเลือกแนวที่บักให้น้อยที่สุดเท่าที่จะแก้ได้ ส่วนเรื่องราคานี่ ถ้าถูกๆเอาตัดพวก feature ดีกว่าน่ะ