Blognone 3.0: The User Interface

ทุก​วัน​นี้​การ​ใช้​งาน Blognone มัก​มี​การ​เข้า​ชม​หน้า​เว็บ​ประมาณ 2.2 หน้า​ต่อ​การ​เข้า​เว็บ​ใน​แต่​ละ​ครั้ง เท่า​ที่​ดู​เว็บ​เมือง​ไทย​แล้ว โดย​เฉลี่ย​มัก​อยู่​ที่​ระดับ 7 หน้า​ขึ้น​ไป​เป็น​ส่วน​ใหญ่

ผม​มี​เป้า​หมาย​ว่า Blognone 3.0 นั้น​ต้อง​มี​ค่า​การ​เข้า​ชม​หน้า​เว็บ​ให้​ต่ำ​กว่า 1.6 หน้า​ต่อ​การ​เข้า​เว็บ​ใน​แต่​ละ​ครั้ง​ให้​ได้ ผม​ว่า​มัน​น่า​รำคาญ​ที่​คน​เข้า​เว็บ​เพื่อ​ต้อง​การ​อะไร​บาง​อย่าง ถูก​หลอก​ล่อ​ไป​มา​โดย​เข้า​ของ​เว็บ​เพื่อ​ให้​วน​เวียน​ใน​เว็บ​ของ​ตน​เอง

Blognone ต้อง​แตก​ต่าง ใน Blognone 3.0 ที่​หน้า​แรก​ของ​เว็บ ผู้​ใช้​ควร​ทำ​ฟังก์ชั่นพื้นฐานได้ทั้งหมด ตั้งแต่​การ​อ่าน​ข่าว อ่าน​คอมเมนต์ ไป​จน​ถึง​การ​คอมเมนต์ ทั้ง​หมด​ทำ​โดย​การ​ส่ง​ข้อมูล​ทั้ง​หมด​ไป​ตั้งแต่​ที​แรก แล้ว​ซ่อน​โดย​การ​ใช้ CSS/Javascript ทั้ง​หมด ฟังก์ชั่นการทำงาน​ส่วน​ใหญ่​เป็น​การ “โชว์” ข้อมูล​ที่​ถูก​โหลด​มา​ตั้งแต่​ต้น​มากกว่า​จะ​เป็น​การ​เข้า​หน้า​ใหม่

แนว​คิด​คือ​ส่วน​ใหญ่​แล้ว คอม​เมนต์นั้น​มี​ขนาด​ไม่​ใหญ่​มาก การ​สร้าง Connection ใหม่​นั้น​เสีย​เวลา​ผู้​ใช้​มากกว่า​การ​โยน​คอม​เมนต์ทั้ง​หมด​ไป​ให้​ผู้​ใช้​ตั้งแต่​ที​แรก

จะ​ไม่​มี​แบนเนอร์, หน้า Pop-Up หรือ Intro ตลอด​เวลา​ที่​ผม​บริหาร Blognone แน่​นอน ผู้​ใช้​เข้า​มา​อ่าน​บท​ความ สิ่ง​ที่​คุณ​ได้​คือ​บท​ความ​ใน​ทันที ส่วน​เรื่อง​อื่นๆ ถ้า​ต้อง​การ​เพิ่ม​เติม​จึง​ต้อง​โหลด​เพิ่ม​เอา​ใน​ภาย​หลัง

 

Usability

เมื่อสิบสองสิบสามปีก่อน ผมได้เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก สมัยนั้นคอมพิวเตอร์ไม่มีอะไรมากไปกว่าคำสั่งแบบ Command Line ที่เมื่อคุณพิมพ์ผิด จะมีเพียงคำกล่าวหาเช่น Bad Command or Filename ออกมาให้คุณช้ำใจ

มันเป็นความผิดของคุณ ที่คุณพิมพ์คำสั่งผิด คอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถตอบสนองคุณได้

ในยุคนั้นหากคุณลืิมสั่ง park หัวอ่านฮาร์ดดิสก์ก่อนปิดเครื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาเจ็ดหมื่นบาทของคุณอาจจะหลับไม่ตื่นอีกเลยก็เป็นได้

คอมพิวเตอร์ในยุคนั้นจึงเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญ ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง หรือหากคุณไม่เชี่ยวชาญพอ คุณต้องมีคู่้มือเล่มหนากว่าไบเบิลนิดหน่อย ติดตัวไว้เวลาใช้งานมัน

เรื่องเหล่านี้หายไป ในวันนี้ เพราะโลกคอมพิวเตอร์เริ่มเข้าใจว่า ผู้ครองโลกไม่ใช่นักคอมพิวเตอร์ที่สามารถบอกได้ว่าคำสั่ง dir /w /h >lpt1 แปลว่าอะไร พวกเขาเริ่มแทนที่คำสั่งที่ไม่มีใครในโลกที่ไม่อ่านคู่มือจะเข้าใจด้วยไอคอน ที่ผ่านการวิืจัยมาเป็นอย่างดีว่าแม้คุณจะไม่เคยจับคอมพิวเตอร์มาก่อนเลย คุณก็จะใช้มันได้แม้ในครั้งแรกที่สัมผัสมัน

คนกำหนดทิศทางของการพัฒนาเครื่องมือ ไม่ใชู่้ผู้สร้างเครื่องมืออันปราชญ์เปรื่ิอง แต่เป็นผู้ใช้เครื่องมือที่ไม่ต้องการเข้าใจอะไรมากไปกว่าการสั่งงานเพื่อให้เป็นไปตามที่เขาต้องการ

เมื่อใหร่โลกของภาษาจึงจะเข้าใจว่าภาษานั้นเป็นแค่เครื่องมือสำหรับการสื่อสารกัน….