TOT บริษัทของประชาชนที่ประชาชนไม่เคียงข้าง

ผมเคยดูเรื่องลอดลายมังกรตั้งแต่ครั้งมันทำเป็นละครเวอร์ชั่นแรก (ซึ่งคิดว่าทำดีกว่าเวอร์ชั่นใหม่มาก) ฉากหนึ่งที่จำได้ชัดในหัวคือตอนที่อาเหลียงตัดสินใจสั่งซื้อกาแฟลงเรือมา เนื่องจากมองเห็นว่ากาแฟกำลังขาดตลาดอย่างรุนแรง อันเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ดี แต่สุดท้ายแล้วความฝันก็ต้องดับลง เมื่อเรือสินค้าถูกพายุทำให้สินค้าเสียหายหนัก กาแฟที่สั่งมานำไปขายได้ไม่ถึงครึ่ง

ปัญหาคืออาเหลียงไปสัญญาไว้กับลูกค้าจำนวนมากแล้วว่าเขาจะทำกาแฟไปขายให้

สิ่งที่อาเหลียงทำคือการนำกาแฟไปขายให้กับร้านขายส่ง แล้วซื้อกลับมาในราคาแพง แล้วค่อยทำกาแฟนั้นกลับไปขายให้กับรายย่อยไปเรื่อยๆ จนครบตามจำนวนที่ตนสัญญาไว้ แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ทำให้อาเหลียงขาดทุนป่นปี้ แต่อาเหลียงก็ยังเลือกที่จะรักษาสัญญากับลูกค้าทั้งหมดไม่ว่าจะเสียหายเพียงไร

เรื่องของอาเหลียงเป็นอีกเรื่องที่สอนใจคนทำธุรกิจว่าความเชื่อใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะมันเป็นสิ่งที่เมื่อเสียไปแล้วไม่สามารถนำกลับมาได้อีกง่ายๆ

หลายสิบปีที่ผ่านมา บริษัทอย่าง TOT และ CAT พยายามสร้างภาพบอกกับประชาชนว่าเป็นหน่วยงานของประชาชน และมีพันธกิจอันยิ่งใหญ่คือการสร้างความเจริญด้วยการนำการสื่อสารเข้าไปถึงประชาชนอย่างเท่าเทียม หลายสิบปีที่ประชาชนทนรำคาญกับบริการที่ย่ำแย่ด้วยเหตุผลสารพัด หลายสิบปีที่ประชาชนอดทกับตัวเลขจำนวนโทรศัพท์ต่อประชากร และพื้นที่ที่การสื่อสารเข้าถึงที่ต่ำกว่ามาตรฐานอย่างอดทน

แต่สิ่งที่ TOT และ CAT แสดงให้ประชาชนได้รับรู้ตลอดมา คือความฟอนเฟะของหน่วยงานที่ฝังรากลึกอย่างไม่น่าให้อภัย เป็นที่รู้กันว่าพนักงานของสองหน่วยงานนี้มีอภิสิทธิ์อย่างล้นเหลือ ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงานที่เข้าสาย พักเร็ว เริ่มงานช้า กลับบ้านก่อน กันเป็นเรื่องปรกติ แถมยังมีโบนัสให้ทุกปีไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร

เมื่อเอกชนเช่นกลุ่มชิน แทค และทรู เข้ามาเสนอทางเลือกใหม่ ประชาชนได้พบกับความแตกต่างที่เคยโดนกรอกหูว่าบริษัทเอกชนนั้นพยายามรีดไถจากประชาชน ภาพนายทุนหน้าเลือดเริ่มถูกตั้งคำถามเมื่อบริษัทเอกชนจำนวนมากเข้ามาเสนอทางเลือกที่ดีกว่า ถูกกว่า และเร็วกว่า ขณะที่บริษัทของประชาชนนั้นเองกลับไม่เสนออะไรใหม่นอกจากการทำงานที่ล่าช้า ราคาที่แพง และบริการที่เหมือนเป็นเจ้านายมากกว่าผู้รับใช้ประชาชน

มาวันนี้ประชาชนเรียนรู้ว่าการที่เราให้ผลประโยชน์กับกลุ่มเอกชนบ้าง คงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ถ้าจะมีคนรวยจากการเอาผลกำไรจากประชาชนไป ตราบใดก็ตามที่พวกเขาได้รับบริการที่น่าพึงพอใจ

วันนี้ที่ TOT และ CAT พยายามสร้างภาพว่าเป็นสมบัติของประชาชนที่ถูกรังแกนั้น กลับถูกประชาชนดูถูกเป็นวงกว้าง ด้วยภาพการขอเลขหมายโทรศัพท์นานนับปี ค่าโทรที่แพงมหาศาลจาก TOT และบริการเครือข่ายที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นบริการระดับชาติเช่น ด้วยการทำเครือข่ายล่มมากกว่า 60 ชั่วโมงในปี 2004 ของ CAT การพยายามโอบอุ้ม TOT และ CAT ในวันนี้จึงไม่เป็นสิ่งที่ประชาชนเชื่อแม้แต่น้อยว่าจะเป็นผลดีกับพวกเขา เพราะความเชื่อใจที่ซื้อมาด้วยทุกอย่างในแบบที่อาเหลียงทำนั้น TOT และ CAT ได้สูญเสียมันไปนานแล้ว

ถึงวันนี้เราอาจจะพูดได้ว่าบริษัทสองบริษัทนี้ไม่มีประชาชนอยู่เคียงข้าง เพราะมันไม่เคยอยู่เคียงข้างประชาชน

 

Diggmocracy

เห็น mk มาบอกว่าช่วงนี้ผมต่อมการเมืองแตก มันแตกตอน “ขอความร่วมมือ” เนี่ยแหละ แต่อาจจะต้องลดๆ มั่งแล้ว

ว่ากันต่อกับหัวข้อเว็บ คนไม่น้อยคงเห็นเว็บ Digg กันแล้ว ด้วยการเป็น Social Network แบบง่ายๆ คือใครเขียนเรื่องอะไรก็เอาเข้ามาโพส ถ้ามีคนอื่นมาเห็นแล้วชอบ ก็โหวตกันไป พอโหวตถึงค่าหนึ่งก็จะได้ขึ้นหน้าแรกที่คนสนใจจำนวนมาก

แนวคิดอย่างนี้ได้รับความนิยมมาก คนหลายๆ คนเอาไปใช้กันอย่างกว้างขวาง (ลอกนั่นแหละ) แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือเดลล์ ที่สร้างเว็บ IdeaStorm โดยลอกหลักการจาก Digg มาตรงๆ จนรับรู้ว่าลูกค้านับแสนรายอยากได้ลินุกซ์ในเครื่องของเดลล์ มากกว่าคนที่อยากได้เว็บแคมเกือบสิบเท่า

มันจะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมเช่นนี้ในสังคม อาจจะต้องมีการยืนยันตัวจากบัตรประชาชนบ้าง แล้วให้ทุกอำเภอมีตู้ Kiosk เอาไว้ให้ประชาชนเลือกเสนอแนวทางที่น่าสนใจเข้าไปได้ หรือจะเข้าไปโหวตอย่างเดียวก็ไม่ว่ากัน เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน ไม่มีวันหยุด แต่ละคนให้โหวตเรื่องที่สนใจได้เรื่องละหนึ่งครั้ง แต่จะโหวตกี่เรื่องก็ได้

เมื่อโหวตแล้วรัฐบาลอาจจะไม่ทำทุกอัน แต่อย่างน้อยข้อเสนอที่ได้รับความสนใจสูงๆ แล้วทำไม่ได้จริง อย่างส่งเด็กทุกคนเรียน ดร. ที่ MIT อะไรงี้ ก็ออกมาพบสื่อธิบายกันเป็นครั้งๆ ไป

แนวคิดอย่างนี้อาจจะสร้างสังคมประชาธิปไตยที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมตลอดเวลา ไม่ใช่แค่สี่ปีครั้งอย่างทุกวันนี้ ไม่ใช่การทำประชาพิจารณ์ที่เข้าถึงได้ลำบาก บันทึกที่ไม่กระจายตัวพออย่างทุกวันนี้

แต่ผมว่ามันมีรัฐบาลสักประเทศคิดจะทำอะไรอย่างนี้อยู่แล้วนะ

 

บอลไทย

แมตซ์ทีสร้างชื่อให้วิทยา เลาหกุล โด่งดังไปทั่วโลกที่สุดและเป็นเรื่องตลกขบขันของคนทั้งโลก คือ แมตซ์ที่เขาคุมทีมชาติไทยเจอกับทีมชาติอินโดนีเซียในทัวนาเม้นต์ ไทเกอร์คัพ ปี1988 รอบแรก ซึ่งทีมชาติไทยภายใต้การคุมทีมของวิทยา เลาหกุล กับ ถิรชัย วุฒิธรรมผู้จัดการทีม ไม่ต้องเข้ารอบเป็นที่ 1 ของสายA ในตอนนั้น เพราะต้องไปเจอที่ 2 ของสายB นั้นคือเจ้าภาพเวียดนามซึ่งทางอินโดนีเซียก ็ไม่ต้องการเอาชนะเช่นกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความประสงค์จะยิงเข้าประตูตัวเองด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งทางวิทยา เลาหกุลได้ให้สัมพาษณ์ทางโทรศัพท์ออกอากาศทางสถานีวิทยุคลื่นหนึ่งในเมืองไทยส่งตรงจากเวียดนามว ่า “เราไม่ต้องการเล่นเพื่อชนะเพื่อไปเจ้าภาพ เพราะจะทำให้เราป้องกันแชมป์ไทเกอร์คัพได้ลำบาก การเข้ารอบเป็นที่ 2 ของสายจะทำให้ไทยเราเล่นสบายขึ้น เพราะเราจะเจอกับสิงคโปรซึ่งเป็นงานไม่หนัก ” จึงเป็นเหตุผลให้วิทยา เลาหกุล สั่งลูกทีมในสนามเล่นไม่ให้ชนะ

และในที่สุดทีมชาติไทยชนะไปด้วย สกอร์ 3-2 จากการยิงประตูชัยของกองหลังอินโดนีเซีย Mursyid Effendi ยิงเข้าประตูตัวเองไป ซึ่งวรวุฒิ ศรีมะฆะ กองหน้าของไทยสกัดการยิงเข้าประตูตัวเองของอินโดนีเซียไม่ทัน ทำให้ไทยเราชนะไป 3-2 ซึ่งสื่อมวลชนในประเทศไทยเรียกแมตซ์นี้ว่าแมตซ์อัปยศ

ที่มาWikipedia

ผมไม่ค่อยดูบอล เพิ่งรู้ว่ามีอะไรอย่างนี้ด้วย