วิศวกร

วิศวกรคืออะไร?  สำหรับเด็กป. ตรีเมืองไทยหลายๆ คน (น่าจะเยอะด้วย) วิศวกรไม่ต่างอะไรไปจาก “Yet another science faculty with higher average salary” (ขอไม่แปลแล้วกัน)

โดยเนื้อแล้ววิศวกรนั้นต่างจากนักวิทยาศาสตร์ที่ทรัพยากร ขณะที่นักวิทยาศาสตร์มุ่งทำทุกอย่างเพื่อให้ได้คำตอบดังที่หวัง โดยไม่สนใจว่าคำตอบนั้นจะสามารถนำมาใช้งานได้จริงหรือไม่ หากความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ท่านนั้นมีเอกลักษณ์ (Unique) ก็ถือได้ว่ามันมีคุณค่าแล้วในเชิงวิทยาศาสตร์

ขณะที่วิศวกรสนใจการใช้งานในโลกความเป็นจริง (ณ ตอนที่ศึกษาความรู้นั้นๆ)  อยู่ด้วย

……

มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ราชาประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมันเรียกสุดยอดวิศวกร กับสุดยอดนักวิทยาศาสตร์มาพบ แล้วบอกถึงประสงค์ว่า ราชาต้องการสร้างการเดินทางทะลุกำแพง โดยให้ทั้งสองคนทำงานแยกกันอิสระ

นักวิทยาศาสตร์เริ่มระดมทีม นักวิทยาศาสตร์จำนวนมหาศาล กับเครื่องมือแยกมวลสารที่เพิ่งออกจากห้องวิจัย หลังจากทำการพัฒนาอยู่สิบปี ใช้ทีมงานกว่าร้อยคน เครื่องเทเลพอร์ตก็สำเร็จลง สามารถเดินทางทะลุกำแพงได้สำเร็จ

เขานำงานไปเสนอต่อราชา แล้วถามถึงผลงานของวิศวกรที่ทำงานแข่งกับเขา

ราชาตอบนักวิทยาศาสตร์ว่า “เขากลับบ้านไปนานแล้ว ตั้งแต่วันที่เราสั่งงานนั่นล่ะ”

นักวิทยาศาสตร์ถาม “เขาไม่รับงานนี้หรือ?”

“เปล่า เขาสร้างประตู”

……

เรื่องข้างบนเล่ากันเล่นๆ แต่จริงๆ แล้วงานทางวิทยาศาสตร์แบบบริสุทธิ์ยังคงจำเป็นมาต่อโลกของเรา ถ้าเราได้อ่านหนังสือเล่าชีวิตนักคณิตศาสตร์ (ซึ่งน่าจะเป็นสาขาที่บริสุทธิ์มากๆ ของวิทยาศาสตร์) จะพบว่าหลายๆ เรื่องที่ตอนที่เราคิดนั้นอาจจะหาคำตอบไม่ได้ว่าจะใช้งานอะไร แต่มันจะมีคุณค่าอย่างล้นเหลือเมื่อเราต้องการมัน

 

CRUD

CRUD เป็นคำย่อมาจาก Create Read Update Delete ซึ่งเป็นการรวมการทำงานพื้นฐานบนฐานข้อมูลใดๆ คำนี้จะเจอบ่อยกับบรรดา Web Framework ทุกยี่ห้อ

วันนี้นั่งอ่านๆ ไปแล้วก็เพิ่งรูว่ามันมีคำอื่นด้วย

  • ABCD: add, browse, change, delete
  • ACID: add, change, inquire, delete
  • BREAD: browse, read, edit, add, delete
  • VADE(R): view, add, delete, edit (restore)

ที่มา – Wikipedia

 

note on django

Today, i try to write more sample application in django. While django is a great framework with simplicity. Many parts of its’ quite unstable. With many modules waiting for rewrite before version 1.0. I hit a quite simple bug in ORM mapper. (Bug #2918)

But the problem was not all bad. I has tried to find some GUI application to work with sqlite3 for awhile. (For I’m too lazy to read SQL which I hardly used.) Most application were written for win32. But at last I found sqlitebrowser, it’s simple and clean GUI administration for sqlite3.

The problem always come with solution and knowledge, doesn’t it?

 

Unblockable

ช่วงนี้กำลังคุยกับอาจารย์มะนาว เรื่องโปรแกรมที่บล็อคไม่ได้ เอามาจดไว้แถวๆ นี้เผื่อใครจะสนใจ

  • ระบบนั้นอาจจะถูกบล็อคได้บ้าง แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะบล็อคทั้งหมด
  • สามารถอิงแอบกับโปรโตคอลอื่นๆ ที่เชื่อว่ารัฐไม่กล้าบล็อค เช่น MSN หรือ HTTP ได้
  • ถ้ามีการบล็อค มีการลบ มีความพยายามแก้ไขข้อความใดๆ ในระบบ จะรู้ตัวได้ทันที
  • ทุกคนเข้าร่วมได้อย่างอิสระ ไม่ต้องยืนยันตัวเอง (ว่าตัวตนจริงๆ เป็นใคร) แต่ทุกข้อความที่โพสลงในระบบสามารถยืนยันได้ว่ามาจากคนเดียวกัน (แต่คนๆ เดียวอาจจะเล่นเป็นหลาย user ก็ได้ อันนี้ไม่กัน)
  • ระบบมีความง่ายอย่างยิ่งยวด สามารถซ่อมแซมตัวเองจากการบล็อค ลบ หรือทำลายในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
  • รองรับการทำงานแบบนิรนามเต็มรูปแบบ หรือหากต้องการยืนยันตัว สามารถทำได้โดยง่าย

งานนี้อาจจะต้องรีบหน่อย กระแสกำลังแรงดี