Microsoft’s Bug

Not mine….

MS's word break bug.

This is why we need to embed ZWSP into the document. It’s not for the present time only, it’s for future use too. Imagine one day you import your html into docbook and found that all paragraph become frustrated.

With embedded ZWSP, you just carefully compose a document and then it will usable everywhere it go.

 

อันตราย

เรื่องหนึ่งที่เราเจอกันในการถกเถียงเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์คือ เรื่องของอุปกรณ์การทำสำเนาอย่างเครื่องเขียนซีดี เครื่องถ่ายเอกสาร ไปจนถึงกล้องวีดีโอ

เรื่องที่ถกกันคือ เครื่องทำสำเนาพวกนี้เป็นต้นตอของการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ด้านเ้จ้าของลิขสิทธิ์มักระบุเสมอๆ ว่าหากไม่มีเครื่องทำสำเนาเหล่านี้เกลื่อนกลาด การละเมิดลิขสิทธิ์ก็คงไม่มากเท่านี้

ด้านผู้บริโภคก็ป้องกันตัวเองด้วยว่าในเมื่อซื้อลิขสิทธิ์มาแล้ว จะเอาไปฟังยังไงมันก็เรื่องของเรา ผมเองซื้อซีดีของแท้มาซักแผ่น ก็มักจะก๊อปเก็บเอาไว้เสมอๆ โดยเฉพาะแผ่น Bakery/LoveIs ที่ต้องก็อปเอาของก็อปไปใส่กล่องจริง แล้วเอาแผ่นจริงไปใส่กล่องเก็บซีดีจริงๆ เพราะใส่อย่างที่ซื้อมาแล้วมันเป็นรอย -_-”

เรื่องอย่างนี้มันเหมือนไข่กับไก่ ที่เถียงกันไปกันมา มันก็จริงกันทั้งคู่

ล่าสุดด้านผู้ผลิตลงมติให้เครื่องบันทึกทั้งหลายต้องเข้ามาตรฐานการไม่บันทึกข้อมูลที่ระบุไว้ในตัวว่าห้ามทำสำเนา อาจจะฟังดูแปลกๆ แต่เป็นเรืองจริงคือในไม่กี่ปีข้างหน้า เครืื่องบันทึกซีดีของคุณจะอ่านข้อมูลในซีดีว่ามันยอมให้ทำสำเนารึเปล่า มันถึงจะก็อปต่อไปได้ เรื่องที่เจ็บปวดกว่านั้นคือเครื่องบันทึกทุกประเภทจะต้องเข้ามาตรฐานนี้หมด โดยอาจจะรวมถึงเครื่องบันทึกอนาล็อก หมายความว่าต่อให้คุณเอาไมค์จ่อลำโพง ถ้าเพลงมันห้ามก็อป ไมค์คุณก็อัดไม่ิติด…

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงพ่อแม่ที่ห้ามไม่ให้ลูกเล่นเกม หรือดูการ์ตูน เพราะเชื่อว่ามันเป็นต้นตอของความชั่วร้าย ความเกียจคร้าน ฯลฯ

มีดทำครัวเอาฆ่าคน ก็มีคนตาย แต่ถ้าเอาไปทำอาหาร มันทำให้คนรอดตายเพราะมีข้าวกิน

เช่นกัน ผมเชื่อว่ามันมีวิธีอีกมหาศาลที่ทำให้คนใช้เครื่องทำสำ้เนาในทางที่ดีพร้อมๆ เช่นเดียวกันกับการดูการ์ตูนและเล่นเกมให้ได้ประโยชน์

ขณะที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า mp3 และเครื่องไรต์ซีดีีที่เป็นจุดกำเนิดของเครื่องการละเมิดลิขสิทธิ์กันมหาศาลนั่นเอง ที่เป็นตัวจุดประกายของธุรกิจพันล้านอย่าง iTunes หรือในเมืองไทยเองก็ได้อนิสงค์ จากการขยายตัวของตลาดซีดีที่ส่วนต่างกำไรสูงกว่ามาก

วันนี้ืที่ไมโครซอฟท์ฺไม่เอาจริงกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ผมเชื่อว่าไมโครซอฟท์ก็รู้ตัวดีว่าคนละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่คนที่ยินดีจ่ายเงินให้ไมโครซอฟท์อยู่ีแล้ว การไปบีบคนกลุ่มนี้มากๆ ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยนอกจากการที่คู่แข่งอย่างลินิกซ์จะเติบโตขึ้นมาในตลาด

ตรงกันข้าม หากมีทางออกที่ดีกว่า มันให้ผลที่ทั้งสองฝ่ายพอใจได้เสมอ

ในวันนี้ที่ซีดีเพลงแกรมมี่ขายกันได้แผ่นละ 120 มันทำให้ผมมีความสุขเพราะซื้อได้สบายใจ แกรมมี่มีความสุขเพราะได้เงินผม

NOD32 ขายกันปีละ 249 บาท ผมมีความสุขเพราะได้ใช้อย่างสบายใจ ผู้ผลิตมีความสุขเพราะได้เงิน

สมัยผมเป็นเด็กๆ ผมได้ดูการ์ตูนโดยแลกกับการที่มันเป็น Sub-Eng เมื่อสิบห้าปีก่อนสมัยเป็นแผ่น LD ตราบใดมันไม่เป็นซับไทย ข้อแลกเปลี่ยนระหว่างผมกับพ่อคือการที่ผมได้ดูการ์ตูน และพ่อผมได้เห็นผมเรียนภาษา

แม่ผมซื้อโดเรมอนให้หลังฉีดวัคซีน แม่ไม่ต้องฟังผมแหกปากหลังฉีดยา ผมไม่ต้องเจ็บตัวฟรี….

ทุกอย่างมันมีทางออก มีทางที่ลงตัว มันยากกว่าการตอบรับหรือปฏิเสธกันดื้อๆ แต่มันให้ผลที่คุ้มค่าเสมอ

ขึ้นอยู่กับเราว่าจะลงทุนหรือไม่เท่านั้นเอง

 

ทางไหน

หลายคนน่าจะได้ยินเรื่องตลกที่ว่าบิล เกตต์ไปปะทะคารมกับประฐานบริษัทฟอร์ด

เกตต์ – ถ้าอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นอย่างอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ วันนี้รถจะราคาพันดอลลาร์ วิ่งได้ร้อยกิโลด้วยน้ำมันลิตรเดียว และอัตราเร่งเป็นสองเท่าของทุกวันนี้

ฟอร์ด – แน่นอน และรถพวกนั้นจะดับไปเองทุกสองวัน ในแต่ละเดือนจะมีรถที่คุณพบระเบิดโดยไม่รู้สาเหตูอย่างน้อยหนึ่งคัน และบางทีมันอาจจะวิ่งถอยหลังไปเองบ้างนานๆ ที

นึกเรื่องนี้ขึ้นมาได้เมื่อผมอ่านรายงานของ US-CERT ที่ว่ามีบั๊กในซอฟท์ฺแวร์ที่รู้จักกันดีกว่าห้าพันตัว ฟังดูน่าตกใจ

ในอดีตที่ผ่านมาเชื่อได้ว่าเรามีบั๊กต่อจำนวนบรรทัดของโค้ดต่ำกว่าในวันนี้มาก แต่ความเป็นจริงคือในอดีตนั้น คอมพิวเตอร์ และคอมไพล์เลอร์ ถูกใช้งานโดยดอกเตอร์ที่ต้องการทำงานวิจัย โดยต้องรอคิวในการคอมไพล์โปรแกรมรอบละสัปดาห์ ดอกเตอร์เหล่านั้นเชี่ยวชาญในภาษาที่เขาใช้งานเป็นอย่างดี เวลาที่ต้องรอนานทำให้ดอกเตอร์พวกนั้นเพ่งโค้ดซ้ำไปซ้ำมาเพื่อไม่ให้มันมีบั๊ก เพราะจะเสียเวลาในการแก้มหาศาล
แต่ในวันนี้โปรแกรมเมอร์ส่วนมากค่อนตลาด จบปริญญาตรี หลายคนได้จับคอมพิวเตอร์ครั้งแรกเมื่ออยู่ปีหนึ่ง ตอนเรียนเขียนโปรแกรมเบื้องต้นนั่นแหละ ส่วนคอมพิวเตอร์น่ะ หาได้ทุกหัวระแหง
คำถามคือเราต้องการให้กระบวนการผลิตซอฟท์แวร์ถูกตรวจสอบอย่างหนักเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นรถยนต์ หรือเครืองบินไหม? ถ้าต้องการ เรายอมรับได้ไหมกับราคาที่แพงมหาศาล เรายอมรับได้ไหมกับแลปทอปเครื่องละห้าล้าน แทนที่จะเป็นห้าหมื่นอย่างในวันนี้

ในวันนี้ืที่เทคโนโลยีล่าสุดจากห้องวิจัย ถูกจับมาลงกล่องขายกันแทบวันต่อวัน ราคาที่ลงเร็วเป็นน้ำตก

บางทีเราอาจจะอยู่ในทางเลือกที่ดีกว่าก็ได้

ใครจะรู้

 

Avalanche

เคยเขียนบทความขนาดยาวถึงเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ตัวนี้ไว้นานแล้ว ไม่ได้เก็บไว้เพราะ Blognone ย้ายบ้าน เอามาใส่ไว้ที่นี่อีกทีแล้วกัน