Android ก้าวที่ยิ่งใหญ่?

การเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ของกูเกิลในนาม Android ที่หวังจะเป็นมาตรฐานใหม่ของโทรศัพท์มือถือนี้นับว่าเป็นความท้าทายล่าสุดที่ทางกูเกิลปล่อยออกมาให้เราได้ชม

ขณะที่ SDK ที่ออกมานั้นนับว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความสามารถที่หลากหลาย และ SDK ที่ดูดีมาก จนตอนนี้ดูเหมือนว่าจะบดบังรัสมีของต้นตำรับ “กระแส” มือถือโอเพนซอร์สอย่าง OpenMoko ลงในพริบตา

การเปิดตัวนาทีแรกของกูเกิลในครั้งนี้นับว่า …จุดติด… เลยทีเดียว

แต่คำถามที่ผมสงสัยคือ มีเหตุอะไรจึงไม่มีโทรศัพท์ที่แม้จะไม่ใช่การผลิตในชื่อกูเกิลเอง ออกมาวางขาย หรือกระทั่งออกกำหนดการวางขายหลังการเปิดตัวระบบปฏิบัติการและ SDK ในครั้งนี้

ขณะที่ทาง HTC ออกมาให้ข่าวค่อนข้างชัดเจนว่า บริษัทกำลังจะผลิตมือถือที่ใช้ Android ถึงแปดรุ่นในปีหน้า แต่การออกข่าวแบบไม่มีกำหนดนี้ค่อนข้างน่ากลัวเมื่อเทียบกับวิมานในอากาศที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายๆ ครั้ง

โครงการ OLPC เป็นโครงการหนึ่งที่ค่อนข้างเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีให้กับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ในระดับที่เทียบเท่ากับสิ่งที่กูเกิลหวังใน Android เป็น ด้วยการออกข่าวอย่างหนัก แต่ไม่สามารถแสดงผลสำเร็จได้ในเวลาที่เร็วพอ กระแสหลังจากที่เครื่อง OLPC XO ออกวางจำหน่ายจริงจึงต่ำอย่างน่าใจหาย เมื่อเทียบกับ Asus Eee PC ที่วางจำหน่ายจริงในเวลาเพียงหนึ่งไตรมาสหลังการประกาศข่าว นับว่าเป็นการจุดกระแสล่วงหน้าก่อนการเปิดตัวได้อย่างค่อนข้างดี เช่นเดียวกับ OpenMoko ที่พัฒนาช้าและมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ เสียจนไม่น่าสนใจในช่วงหลัง

นาทีนี้ความอยู่รอดของ Android จึงไม่น่าใช่เรื่องของความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการที่ทรงพลัง แต่หากเป็นตัวโทรศัพท์ที่จับต้องได้ต่างหากว่าจะเข้าสู่ตลาดเร็วแค่ไหน

ที่สำคัญกว่านั้นคือจะออกมาในรูปแบบไหนกัน?

ขณะที่แอปเปิลนั้นได้รับความนิยมในระดับที่ยินดีเป็นสาวกกันเป็นจำนวนมาก ผมยังไม่เคยเห็นใครเรียกใครว่าเป็นสาวกกูเกิลมาก่อน นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะคนจำนวนมากใช้งาน Gmail เพราะมันเร็ว, ความจุสูง และใช้งานง่าย มากกว่าเพราะว่ามันเป็นของกูเกิล

ดังนั้นการออกมือถือเครื่องละสองหมื่นแล้วหวังว่าจะขายได้นับล้านเครื่องแบบแอปเปิล ไม่น่าจะเป็นการคาดหวังที่ดีนัก

ขณะที่การตัดสินใจทำระบบเปิดของ Android ช่วยให้ความกังวลในเรื่องของจำนวนแอพลิเคชั่นลดลงไปได้มาก เราน่าจะได้เห็นโปรแกรมเจ๋งๆ จำนวนมากเข้าไปอยู่ใน Google Code  กันในเร็ววันนี้ แต่ความคาดหวังในตัวโทรศัพท์เป็นสิ่งที่กูเกิลและ Android ต้องแบกรับไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แน่นอนโทรศัพท์มือถือที่ใช้ Android คงไม่สามารถแบกรับความต้องการไว้ทั้งหมดได้ แต่กูเกิลจะแบกรับมันได้มากพอหรือไม่  นั่นเป็นคำถามที่น่าจะชี้ความเป็นความตายให้กับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ลองนึกความคาดหวังเหล่านั้นว่ามีอะไรบ้าง

  • ราคา ขณะที่โทรศัพท์รุ่นที่โชว์อยู่ในตอนนี้น่าจะมีราคาแพง (จอใหญ่ ความเร็วสูง) โทรศัพท์ที่ใช้งาน Android จำเป็นต้องมีหลากหลายเพื่อกินตลาดให้ครบช่วง แม้อาจจะเป็นไปไม่ได้ที่ Android จะลงไปทำงานในมือถือเครื่องละพัน แต่อย่างน้อย Smartphone รุ่นต่ำๆ ที่อยู่ในช่วง 8000 บาทขึ้นไปก็น่าจะทำงานได้ เพื่อให้ฐานตลาดกว้างขึ้น
  • ความเข้ากันได้ ความได้เปรียบตลอดกาลของแอปเปิลคือการควบคุมฮาร์ดแวร์ด้วยตัวเองทั้งหมด ขณะที่ Android เป็นพันธมิตรจำนวนมาก การใช้ยี่ห้อร่วมกันจะสร้างความคาดหวังในความเข้ากันได้ที่ค่อนข้างสูง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโปรแกรมตัวไหนจะสามารถรันบนโทรศัพท์รุ่นใดบ้างนอกจากการนั่งหาตามเว็บบอร์ด
  • อุปกรณ์เสริม ขณะที่ตลาดอุปกรณ์เสริมเป็นตลาดที่ทำกำไรได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ในทางกลับกันการที่ตลาดอุปกรณ์เสริมใหญ่ก็มีส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อตัวโทรศัพท์มากขึ้นด้วย ขณะนี้โลกโทรศัพท์มือถือกำลังเริ่มยอมแพ้ต่อการพยายามใช้พอร์ตที่ไม่มาตรฐาน และพันกลับมาใช้ USB กันเรื่อยๆ หาก Android สามารถสร้างตัวเองเป็นมาตรฐานกลางให้กับอุปกรณ์เสริมที่จะสามารถใช้งานข้ามยี่ห้อกันได้อย่างไม่จำกัด ก็น่าจะเป็นจุดแข็งที่น่ากลัวสำหรับคู่แข่งทุกค่ายไป

ต่อตอนหน้า….

 

ด้วยรักและ Ubuntu

แม้จะขึ้นปีสองแล้ว แต่ Ubuntu ยังคงตามรับน้องผมไม่หยุดหย่อน

  • Sound Card เจ๊งไปเป็นรอบที่สี่ที่ห้าแล้ว แต่รอบนี้แก้ได้ด้วยการใส่ option ใน /etc/modprobe.d/alsa-base อย่างเดียว ไม่ต้องคอมไฟล์ alsa ใหม่
    • แต่ยังไม่จบ มีคนระบอกว่าถ้าใช้ model=laptop-eapd แทน model=3stack เสียงจะดีเหมือนตอนใช้วินโดวส์
    • ลองแล้วดีจริง แต่ปรากฏว่ามันปิด speaker ไม่ได้ – -” อ่านไปอ่านมา มีคนบอกว่าต้อง patch alsa แล้วคอมไพล์ใหม่ อีกแล้ว!!!!
    • คอมไพล์แล้ว alsa เจ๊งไปเลย driver โหลดไม่ขึ้น มีคนบอกอีกว่าให้ลง kernel ใหม่เป็น linux-ubunut-modules
    • ลงใหม่บูตปั๊บไวร์เลสกลับบ้านทันที เนื่องจากไม่มี Restricted Driver ทางเดียวคือบูตกลับไป kernel เดิมแล้วกลับไปลงใหม่
    • ตอนนี้ใช้ linux-ubuntu-modules แล้วแต่ยังไม่กล้าลง alsa ใหม่ มันหลอนๆ (คอมไพล์แล้ว รอ install อย่างเดียว..)
  • ความหวังอันสูงสุดในการใช้งาน Gutsy คือการใช้ Dual Monitor ที่รุ่นนี้โฆษณามาดิบดีว่ามีตัว config เป็น GUI มาให้ ใช้งานดั่งใจนึก
    • ลงปั๊บก็บอกกับตัวเอง “กูนึกแล้ว” (ว่ามันต้องไม่เวิร์ค) ด้วยเหตุผลที่ไม่รู้มีใครบอกได้ตัวคอนฟิกที่มากับ Gutsy ไม่ให้ผมใช้งานจอที่สอง
    • ว่าแล้วก็ยังมีความหวังกับ URandR อ่านจาก Planet Ubuntu มานาน ก็ได้เวลาลอง
    • ทายซิว่าผลเป็นยังไง….
    • สุดท้ายก็มีแต่ command line ที่เข้าใจเรา เล่นเองกับ xrandr ครับพร้อมการคอนฟิก XOrg ไปอีกสองสามรอบ
    • ฟังดูง่าแต่ X บึ้มไปประมาณสามรอบได้ BulletProof ไม่ทำงานครับ – -” ต้องเข้าไปดึง xorg.conf ตัวเก่ามาทับเอง รอดตายไป….
    • วิบากกรรมอื่นๆ ก็มีเช่น intel GMA 950 จะไม่สามารถใช้ Hardware Acceleration ได้ถ้าขนาด Virtual Screen ใหญ่กว่า 2048×2048 ผลคือเราต้องเอาจอที่สองไปวางไว้ข้างล่าง
    • ยัง… ยังไม่จบ ผลล่าสุดคือ Gnome-Panel มันดันไม่รักดีไม่ยอมอยู่จอหลัก หลบไปอยู่จอเล็ก ตอนนี้กำลังง้องอนให้มันกลับมาอยู่

ประมวลภาพอยู่ด้านล่างครับ

หน้าจอ Config ของ Gutsy Gibbon ที่รอคอย

URandR

xrandr เวิร์คเกินคาด

หน้าจอปัจจุบัน – -“

ถึงจะทำเราเจ็บปวดแค่ไหนก็ยังยืนยันจะใช้ต่อไปครับ :P

 

ด้วยรักและ Ubuntu

  • dist-upgrade เป็นโปรแกรมที่ Over-Simplified อย่างรุนแรง แนวคิด just work กลายเป็น just don’t work
    • ไม่มีให้เลือกทิ้งบางโปรแกรม ผลคือผมต้องโหลดไฟล์เพิ่มเติมอีก 885 เมกกะไบต์ ทั้งที่โปรแกรมส่วนใหญ่แค่ลองลงเล่นๆ และไม่ได้ใช้งานนานแล้ว
    • โหลดเยอะไม่ว่า แต่ไม่มีโหมดหยุดกลางคัน ใครเน็ตช้าก็จบกันเลย
    • status หยาบมากอัพจนมันเดี๊ยงไปยังไม่รู้ตัว
  • Compiz ยังไม่พร้อมอย่างรุนแรง แค่ Dictionary Applet ยังใช้งานไม่ได้
  • บั๊ก Intel HDA ยังอยู่เช่นเดียวกับสมัย Feisty
  • แต่ยังไงก็ยังรักมั่นจะใช้ต่อไป ยิ่งช่วงนี้ทำ Simulation บน NS-2 แล้ว รัก Ubuntu หมดใจ….