my RFC

เนื่องจากช่วงนี้ต้องนั่งอ่าน RFC เลยนึกขึ้นได้ว่า RFC นี่เลขมันเยอะพอๆ กับปีเกิดเราหลายๆ คน มานั่งดูเล่นๆ ว่า RFC ของปีไหนเป็นเรื่องอะไรคงฮาๆ ดี

อย่างของผมปี 2525 กลายเป็นเรื่อง Known TCP Implementation Problem

ตอนนี้ยังไม่มันเท่าใหร่เพราะมันมีแค่สี่หลัก อีกหน่อยมีซักหกหลักแล้วเอาเดือนมาต่อกับปีได้คงสนุกกว่านี้

ต่ออีกหน่อย ไหนๆ ก็เล่ามาแล้ว RFC เป็นเอกสารที่ใช้ในการขอความเห็นกับมาตรฐานต่างๆ ที่จะประกาศเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต ตามชื่อของมันคือ Request for Comments โดยทั่วไปแล้ว RFC จะเป็นที่ รวมของเอกสารด้านเทคนิคที่คนทั่วไปอ่านไม่ออกกันเท่าใหร่ไว้เป็นจำนวนมาก

แต่ด้วยอารมณ์ขันแบบ nerd ๆ ก็จะมี RFC จำนวนมากที่โคตรฮา โดยเฉพาะ RFC ประจำวัน April’s Fools ถ้าเผื่อใครอยากอ่านเล่นๆ (จะขำมากสำหรับคอเน็ตเวิร์ค) ทีี่ Wikipedia ก็มีรวมไว้ให้แล้วตามฟอร์ม

อันที่ผมเคยเรียนมาคือ IP over Avian Carriers ที่มีพูดถึงในหนังสือเรียนแถมยังมีการนำไปสร้างของจริงแล้วที่อิสราเอล วัดความเร็วได้ถึง 2.27 Mbps (เร็วว่า ADSL บ้านผมหลายเท่า) แถมยังมีการปรับปรุงให้รองรับ QoS อีกด้วย

แถมทท้ายสุดอีกอย่างที่เด็กคอมคงชอบกัน คือ ประวัติศาสตร์แห่ง “foo” 

 

note on django

Today, i try to write more sample application in django. While django is a great framework with simplicity. Many parts of its’ quite unstable. With many modules waiting for rewrite before version 1.0. I hit a quite simple bug in ORM mapper. (Bug #2918)

But the problem was not all bad. I has tried to find some GUI application to work with sqlite3 for awhile. (For I’m too lazy to read SQL which I hardly used.) Most application were written for win32. But at last I found sqlitebrowser, it’s simple and clean GUI administration for sqlite3.

The problem always come with solution and knowledge, doesn’t it?

 

Movement

เพิ่งอ่าน Traveler’s Dilemma จบไปเมื่อวาน แม้เหมือนจะพอรู้เรื่องแต่เอาเข้าจริงคงแค่ปลายหางอึ่ง เพราะวิชาด้าน Game theory ดูจะยิ่งใหญ่เกินไปหน่อย

Game Theory เป็นแขนงวิชาที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้ร่วมทำกิจกรรมใดๆ (เรียกกว่าเกม) โดยมีแนวคิดง่ายๆ ว่า ผู้เล่นทุกคนพยายามแสวงหาผลประโยชน์เข้าหาตนเองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยแยกเรื่องของจริยธรรมไว้ต่างหาก และถือว่าจริยธรรมเป็นหนึ่งในผลประโยชน์ที่ผู้เล่นแสวงหา (ฟังจากอาจารย์มะนาวมา)

แม้ Game Theory จะอธิบายพฤติกรรมหลายๆ อย่างในชีวิตจริงไว้ได้อย่างแม่นยำ นับแต่พฤติกรรมทางเศรษศาสตร์ ไปจนถึงพฤติกรรมของผู้ใช้เน็ตเวิร์ค แต่บทความในลิงก์แรกได้แสดงให้เห็นว่าโลกความเป็นจริงหลายๆ ครั้ง มนุษย์ไม่ได้ตอบสนองต่อเกมในทิศทางที่ทฤษฏีอธิบายไว้ได้จริง ที่จริงแล้วกว่าครึ่ง (55%) ทำในทิศทางตรงข้ามกับที่ทฤษฎีอธิบายเอาไว้  โดยผู้วิจัยแยกออกเป็นหลายๆ ส่วนว่า เอาเข้าจริงแล้วผู้เล่นอาจจะใช้อารมณ์เป็นหลักในการตัดสินใจ หรืออาศัยการเดาสุ่ม ตลอดจนไม่สามารถคิดลึกอย่างแม่นยำจนได้ผลที่ถูกต้องได้

อาจจะเรียกว่าเป็นข้อจำกัดของทฤษฏีนี้ก็ว่าได้ที่ต้องอาศัยว่าทุกคนเล่นตีโจทย์ในเกมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งได้ผลดีกับเกมหลายๆ อย่างเช่นตลาดหุ้น ที่ไม่ค่อยมีใครเคาะซื้อขายมั่วซั่วเพราะเป็นเงินทั้งนั้น หรือกระทั่งเน็ตเวิร์คที่บรรดา Hacker พยายามหาทางหาประโยชน์เข้าตัวให้สูงสุด

ตอนไปเรียนโทคงได้คุยกับอาจารย์เรื่องนี้เยอะขึ้น

ปล. บทความที่น่าสนใจที่สุดใน Scientific American เล่มนี้คือเรื่องของสาเหตุแห่งการคัน (pruritus) และอธิบายว่าทำไมเราต้องเกา ส่วน Section Working Knowledge นี่เป็น the must ของเล่มนี้อยู่แล้ว

 

ว่าง

ถ้าว่างอย่างนี้มากๆ สงสัยคงโดนจับส่งโรงพยาบาล

ว่าแต่ GTalk มันเป็นอะไรถึงโผล่ชื่อตัวเองมาใน user list ล่ะเนี่ย