วิศวกร

วิศวกรคืออะไร?  สำหรับเด็กป. ตรีเมืองไทยหลายๆ คน (น่าจะเยอะด้วย) วิศวกรไม่ต่างอะไรไปจาก “Yet another science faculty with higher average salary” (ขอไม่แปลแล้วกัน)

โดยเนื้อแล้ววิศวกรนั้นต่างจากนักวิทยาศาสตร์ที่ทรัพยากร ขณะที่นักวิทยาศาสตร์มุ่งทำทุกอย่างเพื่อให้ได้คำตอบดังที่หวัง โดยไม่สนใจว่าคำตอบนั้นจะสามารถนำมาใช้งานได้จริงหรือไม่ หากความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ท่านนั้นมีเอกลักษณ์ (Unique) ก็ถือได้ว่ามันมีคุณค่าแล้วในเชิงวิทยาศาสตร์

ขณะที่วิศวกรสนใจการใช้งานในโลกความเป็นจริง (ณ ตอนที่ศึกษาความรู้นั้นๆ)  อยู่ด้วย

……

มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง ราชาประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมันเรียกสุดยอดวิศวกร กับสุดยอดนักวิทยาศาสตร์มาพบ แล้วบอกถึงประสงค์ว่า ราชาต้องการสร้างการเดินทางทะลุกำแพง โดยให้ทั้งสองคนทำงานแยกกันอิสระ

นักวิทยาศาสตร์เริ่มระดมทีม นักวิทยาศาสตร์จำนวนมหาศาล กับเครื่องมือแยกมวลสารที่เพิ่งออกจากห้องวิจัย หลังจากทำการพัฒนาอยู่สิบปี ใช้ทีมงานกว่าร้อยคน เครื่องเทเลพอร์ตก็สำเร็จลง สามารถเดินทางทะลุกำแพงได้สำเร็จ

เขานำงานไปเสนอต่อราชา แล้วถามถึงผลงานของวิศวกรที่ทำงานแข่งกับเขา

ราชาตอบนักวิทยาศาสตร์ว่า “เขากลับบ้านไปนานแล้ว ตั้งแต่วันที่เราสั่งงานนั่นล่ะ”

นักวิทยาศาสตร์ถาม “เขาไม่รับงานนี้หรือ?”

“เปล่า เขาสร้างประตู”

……

เรื่องข้างบนเล่ากันเล่นๆ แต่จริงๆ แล้วงานทางวิทยาศาสตร์แบบบริสุทธิ์ยังคงจำเป็นมาต่อโลกของเรา ถ้าเราได้อ่านหนังสือเล่าชีวิตนักคณิตศาสตร์ (ซึ่งน่าจะเป็นสาขาที่บริสุทธิ์มากๆ ของวิทยาศาสตร์) จะพบว่าหลายๆ เรื่องที่ตอนที่เราคิดนั้นอาจจะหาคำตอบไม่ได้ว่าจะใช้งานอะไร แต่มันจะมีคุณค่าอย่างล้นเหลือเมื่อเราต้องการมัน

 

Geneva Drive

เคยสงสัยมานานว่าเวลาเครื่องฉายหนังแล้วมันเลื่อนฟิล์มผ่านหลอดภาพไปเร็วๆ มันทำยังไงถึงได้เป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอได้

จนวันนี้เพิ่งรู้ว่าจริงๆ แล้วฟิล์มแต่ละภาพจะเคลื่อนที่เป็นจังหวะ ด้วยชุดเกียร์แบบพิเศษที่แปลงการเคลื่อนที่แบบต่อเนื่องของมอเตอร์ให้กลายเป็นการเคลื่อนที่เป็นจังหวะ โดยเรียกชุดเกียร์แบบนี้ว่า Geneva Drive มันถูกประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ปี 1896 โดย Oskar Messter นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน และเป็นเจ้าพ่อวงการภาพยนตร์ในสมัยนั้น

Geneva Drive

ปล. ยังขี้เกีัยจพอร์ต ZWSP มาใช้บน Unbuntu, OpenOffice.org หาวิธีเขียน Event Handler ไม่เจอ