life is too short

Find something you like to do, and do it well. Because life’s too short to do something you’re dislike to do. – Mish

มีคนถามผมเสมอๆ ในฐานะรุ่นพี่คนหนึ่งว่าเขาพบว่าตัวเอง “ไม่ชอบ” จนถึง “เกลียด” สิ่งที่เขากำลังเรียนอยู่ (ในกรณีผมคือคอมพิวเตอร์) จะทำอย่างไรดี?

คำตอบจากผมคือ ถ้ายังไม่ได้เรียนถึงปีสี่และรู้ตัวว่ามีอย่างอื่นที่ชอบกว่า ให้ลาออก แล้วหาสิ่งที่ชอบกว่าเรียนซะ ถ้าปีสี่แล้ว อาจจะเรียนให้จบ แล้วหาสายที่อยากทำงานจริงๆ เรียน แม้แต่จะต้องเรียนปริญญาตรีใหม่ก็ตาม

อาจจะดูขวานผ่าซาก แต่เหตุผลง่ายๆ ของผมคือ ชีวิตมันสั้นเกินไป

ถ้าคุณทนเรียนๆ ไป คุณจะเสียเวลาไปอีกสองปี…

คนส่วนมากที่จบมาแบบทนๆ คุณจะพบว่าคุณกำลังหางานจากวุฒิที่คุณ “ทนๆ” ให้มันจบมา

รู้ตัวอีกทีคุณจะทำงานแบบ “ทนๆ” ไปอีกสอง สาม สี่ ปี….

รู้ตัวอีกที คุณจะทรมานกับสิ่งที่คุณไม่ได้ชอบเลยไปเป็นสิบปี ถึงตอนนั้นคุณอาจจะรู้ตัว คุณอาจจะกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง คุณอาจจะลาออกมาทำขนมขาย คุณอาจจะเปิดร้านกาแฟ

หรืออีกที คุณอาจจะมีครอบครัวแล้ว คุณอาจจะโหยหาความมั่นคง

แล้วคุณก็ทนๆ ไปกับมันอีก 20 กว่าปี…

คุณรู้ตัวอีกที อาจจะไม่มีอะไรที่คุณภูมิใจกับมันเลย

อาจจะไม่มีเวลาไหนที่คุณรู้สึกว่ามีความสุขกับงานที่ทำเลย…

แล้วคุณจะทนไปทำไม… ?

ถึงน้องๆ ที่เรียนๆ อยู่ ถ้าน้องไม่ชอบสิ่งที่น้องเรียน แนะนำให้ทำดังนี้

  1. บอกที่บ้าน ทำความเข้าใจว่าเราไม่มีความสุขกับมัน แม้เราจะเกรดดี แม้เราจะเรียนได้ หรือแม้เราจะได้เกียรตินิยม
  2. หาสิ่งที่ชอบ “กว่า” ลองเรียนรู้สิ่งต่างๆ ให้มากขึ้น ไปเรียนภาษา ไปเรียนวาดรูป หรือน้องสายศิลป์อาจจะลองเรียนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพือกำหนดเส้นทางใหม่
  3. บอกกับที่บ้าน ทำความเข้าใจกับเขา และทำความเขาใจพ่อแม่ของเราไปพร้อมๆ กัน ว่า อาจจะมีข้อจำกัดการเงิน เราอาจจะต้องส่งตัวเองเรียนในช่วงเวลาที่เราใช้เพิ่มขึ้น ฯลฯ
  4. เปลี่ยนเส้นทาง…
 

อ่านลาว

ช่วงสองปีที่ผ่านมาผมแวะไปลาวหลายครั้ง (ถ้านับครั้งที่ข้ามประเทศไปมาคงครึ่งโหลได้) ความจริงอย่างหนึ่งที่ผมเจอคือการอ่านภาษาลาวทำได้ไม่ยากเลย ถ้าเราพยายามแกะภาษาไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มอ่านออก

1% ของคนที่ผม follow ใน twiiter เป็นชาวลาว คือ @dokkajiep และ@au8ust ในลินุกซ์ยังอ่านไม่ยากเท่าใหร่ แต่ใน Android ผมก็จะได้เห็นแต่ตัวสี่เหลี่ยม กระนั้นการอ่านก็ยังต้องใช้พลังในการแกะแต่ละทวีตอยู่

Lao to Thai เป็นการทดลองรุ่นขำๆ รุ่นแรกที่จะแสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ที่จะเชื่อมการสื่อสารระหว่างชาวลาวและชาวไทยด้วย และมันพอใช้งานได้แล้วจึง publish มาให้ลองๆ กันก่อน

คำเตือนคือมันไม่สมบูรณ์ในทุกๆ ทาง มันทำ editor ใน WordPress พังมันใช้กับหน้า Twitter เวลากดอ่านทวีตเก่าๆ ไม่ได้ ฯลฯ แต่ถ้ายังอยากลองก็กด install ได้เลย

 

ทำและไม่ทำ

ผมเป็นนิสิตม.เกษตรศาสตร์รุ่นหมายเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 44

มันคงไม่มีความหมายอะไรกับผมมากมาย ถ้ามันไม่ใช่เลขเดียวกับนิสิตหญิงอีกคนหนึ่งที่ชื่อ น.ส.จิตรา ร่วมเจริญชัย

ผมยังจำได้ ในวันหนึ่งที่ผมขึ้นรถไฟฟ้าสถานีหมอชิตกลับบ้าน ผมไปเจอกับเพื่อนคนหนึ่งที่อยู่คณะเดียวกับจิตรา เขาเดินมาบอกผมว่า “มีเด็กเกษตรโดนแทงที่สถานีนี้เมื่อตอนบ่าย”

ผมกลับบ้านด้วยความงงงวย ผมงงว่าเกิดอะไรขึ้น มันเป็นแค่การลักทรัพย์ตอนกลางวัน? หรือมันเกิดอะไรกันขึ้น

เมื่อผมกลับบ้านผมก็ได้ทราบข่าวว่าจิตราได้เสียชีวิตไปแล้ว

ผมอ่านหนังสือพิมพ์ในตอนเช้า พบว่าคนที่แทงเธอนั้นเป็นชายเมายาบ้า เมื่ออ่านเนื้อข่าว ผมพบว่าตำรวจพยายามเจรจาไปเรื่อยๆ แม้แต่หลังจากที่คนร้ายเริ่มแทงมืดแรก และมืดต่อๆ มา

ผมโกรธมาก ทำไมตำรวจจึงไม่จัดการในเวลาที่ควรต้อง ทำไมถึงได้ทิ้งให้ชีิวิตหนึ่งต้องเสียไป

ตั้งแต่นั้นมาการไม่ทำอะไร ให้ทุกอย่างมันเป็นไปก็ไม่ใช่ความถูกต้องสำหรับผมอีกต่อไป

 

ว่าด้วยม๊อบ

กลับมาโหมดการเมืองกันสั้นๆ สรุปความคิดของผมเองเรื่องม๊อบ

  1. ผมสนับสนุนให้รัฐบาลสลายการชุมนุม จริงๆ แล้วจะเรียกว่าสนับสนุนก็ไม่ถูกนัก ผมว่ามันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล และถ้าทำไม่ได้ ท่านควรลาออกไปให้คนอื่นมาทำ
  2. ผมมองว่าปัญหาม๊อบตอนนี้ เป็นปัญหาที่มาจากกระบวนการยุติธรรมของประเทศนี้
  3. ความยุติธรรมที่มาช้า นั่นคือความอยุติธรรม
  4. เราต้องตัดตอนกระบวนการม๊อบซ้ำซากที่มีแนวโน้มจะแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการเคลียร์คดีทั้งหมดลงในเร็ววัน
  5. ถ้ารัฐบาลอยากอยู่อีก 9 เดือน ผมแนะนำให้เคลียร์คดีทั้งพันธมิตรและนปช. ทั้งหมดแบบ FIFO ให้คดีจบในเวลานี้ด้วยก็จะถือเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ ตัด loop คดีเหล่านี้ออกไป ไม่ให้ใครว่าได้ว่าคนโน้นคนนี้ทำยังไม่โดน รัฐบาลหน้ามาจะได้ออกจาก loop นี้ไป
  6. กระบวนการยุติธรรมบ้านเรามีปัญหามานาน คนไม่อยากขึ้นศาลเพราะมันไม่คุ้ม นี่เป็นความอัปยศของกระบวนการยุติธรรมไทย และควรได้รับการแก้ไขกันเสียที
  7. กลับมาเรื่องการสลายการชุมนุม ถ้าจะทำอีกก็ทำตอนกลางวัน (ปีที่แล้วก็ทำกันได้นี่?)
  8. ปืนจริงจะเอาเข้าไปทำไมถ้าจะไม่ยิง?? ถ้าอยากได้เสียงขู่ขอแนะนำสองนวัตกรรม “ปืนแก๊บ และประทัด” น่าจะถูกกว่าลูกกระสุนหลายเท่า แถมไม่น่ามีใครตาย ไม่ตกลงบ้านใคร
  9. ผมเข้าใจได้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่พกอาวุธจริงบ้าง ในกรณีสุดวิสัย แต่ต้องไม่ใช่แนวหน้าที่เข้าไปสลาย และต้องไม่ยิงจนเมื่อถึงเหตุ ไม่ใช่อยู่ๆ ยิงขึ้นฟ้าไปก่อน จนมันมั่วไม่รู้ใครยิงใคร
  10. จริงๆ รัฐบาลควรมีตัวเลขด้วยซ้ำว่าออกไปสลายยิงกระสุนจริงไปกี่นัด และยิงไปทำไม ยิงใส่ใครบ้าง