- ไม่ได้อ่าน Tom Clancy มานาน และอ่านข้ามไปข้ามมา เรื่องล่าสุดที่อ่านน่าจะ The Cardinal of Kremlin
- เนื้อเรื่องบรรยายถึงสงครามในอนาคตที่มีห้ามิติ (น้ำ, บก, อากาศ, สายลับ, และไซเบอร์) ไซเบอร์สำคัญสุด
- เรื่องราวของไซเบอร์แม่นยำอย่างน่าทึ่ง เมื่อคิดว่าหนังสือมันออกมาก่อนยุค Snowden และ Hacking Team (หนังสือออก 2012 Snowden เปิดข้อมูล 2013) ที่เรามีข้อมูลให้ศึกษามากขึ้นมาก
- ที่เวอร์ไปมากคือใครเจอ 0-day โดยจีนเก็บหมด ข้อมูลช่วงหลังโดยเฉพาะ Hacking Team แสดงให้เห็นว่ามูลค่ามันไม่ได้มากขนาดนั้น ซื้อกันดีๆ ก็ได้ แค่แพงหน่อย และมีคนคุ้ยช่องโหว่อยู่ไม่น้อย
- ฉากต่อสู้ยังได้อารมณ์ Tom Clancy อยู่ แม้จะเป็นคนเขียนร่วม (Mark Greaney) แล้ว สเปคเครื่องบิน พิสัยบิน สเปคปืนมาเต็ม
- ฮาร์ดดิสก์เยอรมันนี่มั่ว ให้สมจริงไม่ไทยก็น่าจะจีน
- Master Boot Record ก็มั่ว ใครจะเอาฮาร์ดดิสก์เข้า data center โดยไม่ล้างทิ้ง? ทำจริงคงต้องใส่เฟิร์มแวร์
- USB เสียบมือถือก็ดูมั่วๆ อีก เขียนให้สมจริงอาจจะต้องใช้ช่องโหว่ Firewire แต่อันนี้พอให้อภัยได้เพราะคนเขียนไม่ลงรายละเอียด ละไว้ว่ามีช่องโหว่ที่เราไม่รู้
- เรื่องทางเทคนิคพอให้อภัยกันได้ แต่ที่แย่คือตอนจบ จบปาหมอนมาก
- สหรัฐฯ ส่งเครื่องบินไประเบิดตึกกลางเซี่ยงไฮ้ นอกจากไม่น่าจะปิดสงครามได้แล้ว ยังน่าจะเป็นชนวนยกระดับสงครามไปเป็นสงครามเต็มรูปแบบ
Uncategorized
ติ่ง, first time
- จำไม่ได้แล้วว่าคิดยังไงถึงไปดู แต่รู้ว่าซื้อเองไม่มีทางได้ดู เลยฝากเพื่อนๆ น้องๆ ใน TL
- วันจองลองกดเองทีนึงด้วย แล้วเข้าไปได้ แต่เลือกที่นั่งซ้ำ พอเด้งออกมาเว็บล่ม กลับเข้าไปไม่ได้อีกเลย
- สุดท้ายฟอร์ดกดให้ได้ ก็โอเค ได้ดูก็ดี
- วันจริงไปตั้งแต่บ่ายสามให้ได้ที่จอดฟรีตรงลานตรงข้าม แล้วไปนั่งเขียนบทความที่ค้างไว้ต่อ
- แต่งตัวไม่เข้ากับบรรยากาศใดๆ ใส่ยืนและเสื้อ Go Lang นั่งเขียนบทความ FinTech ถึงสี่โมงกว่า
- เข้าคอนเสิร์ตไปก็ไม่มีแท่งไฟ…. มองซ้ายมองขวาแล้วเออ ไม่เข้าพวกจริงๆ ด้วย
- และร้องเพลงอะไรไม่ได้สักเพลง มาฟังอย่างเดียว
- เป็นคอนเสิร์ตที่ไม่ยาวมาก สองชั่วโมงครึ่งไม่มีพัก
- คิดว่าดูคอนเสิร์ตกับการแสดงสดมาก็ไม่น้อย แต่รอบนี้คนในฮอลล์นี่ … “มีอารมณ์ร่วม” สูงมาก ผมเป็นหลุมดำ
- production น่าจะดีที่สุดเท่าที่เคยดูคอนเสิร์ตมา ไฟ แสง พร็อบ มาเต็ม พร็อบเยอะกว่านี้คงเป็นละครเพลงแล้ว
- ระบบเสียงมีพลาดบ้าง เสียงเบาดังผิดคนผิดจังหวะ ไม่รู้ว่าเพราะ sound engineer มิกซ์ผิดหรือไมค์หลุด แต่ไม่สำคัญนัก เพราะคนข้างหลังคุณจะอินและร้องจนเพลงบนเวทีเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่ง
- แต่ไม่มีปัญหาอะไร เพราะมันไม่ใช่การไป “ฟังเพลง” แต่เป็นรายการ entertain รวมๆ บรรยากาศมันได้ คนบนเวทีเล่นด้วย โปรดักชั่นส่ง มันก็สนุกดี (แต่ผมก็ยังเป็นหลุมดำของคอนต่อไป)
- จุดรำคาญที่สุดของคอนคือพอคนข้างหลังกรี๊ดแล้ว “หูลั่น” (ในหูผมเอง) อาจจะต้องไปหาหมอแล้ว
- มีโอกาสอีกก็คงไปดูอีกล่ะ
แอปดาวเหนือ
วันนี้นักข่าวมาถามเรื่องแอปดาวเหนือ โดยรวมๆ ก็ตอบไปหลายประเด็นแต่คิดว่าคงได้ออกบางส่วน (ปกติของทีวีที่เวลาจำกัด) เอามารวมๆ ไว้ตรงนี้อีกที
- ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลเกินจำเป็น ส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เป็นปัญหาของกระบวนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐโดยทั่วไป มุมมองผมคือการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองก็เป็นปัญหา (อันนี้ไม่ได้พูด) การเปิดเผยเกรดนักเรียนนักศึกษาขึ้นเว็บ การเปิดเผยข้อมูลผู้เข้าสอบ ฯลฯ กระบวนการพวกนี้ไม่มีการตรวจสอบผู้เข้าดูข้อมูลที่ดีพอ หลายครั้งเปิดเผยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมาด้วย ตัวอย่างเช่นการตรวจสอบข้อมูลผู้ไม่ไปเลือกตั้ง กลับเปิดข้อมูลวันเกิดมาด้วย จะเปิดทำไม และประวัติการไปหรือไม่ไปเลือกตั้งควรเป็นข้อมูลส่วนตัวของผมเองที่คนอื่นที่รู้หมายเลขบัตรประชาชนผมไม่ควรอ่านได้โดยอัตโนมัติ
- ความคุ้มค่าในการทำแอป อันนี้ผมตอบไปว่าไม่รู้ กกต. ควรมีข้อมูลว่ามีปัญหาจริงหรือไม่ มีคนจำนวนมากหาหน่วยเลือกตั้งไม่เจอหรืออย่างไรจึงต้องอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม ถ้ากกต. มีข้อมูลส่วนนี้ ว่ามีคนจำนวนมากหาหน่วยเลือกตั้งไม่เจอจริงๆ และในคนกลุ่มนั้นมีจำนวนมากพอที่จะลงทุนทำแอปก็อาจจะคุ้มก็ได้ แต่กกต. ควรตอบคำถามว่ากระบวนการตัดสินใจทำแอปมีที่มาอย่างไร ทำไมจึงคิดว่ามันคุ้มค่า
- การเปิดเผยข้อมูล กระบวนการเปิดเผยข้อมูลพร้อมใช้สำหรับคนทั่วไป (ทำแอป ทำโปสเตอร์ ยิงโฆษณา ฯลฯ) เป็นเรื่องทำได้ และควรทำในหลายกรณี แต่ข้อมูลรัฐที่ใช้เงินภาษีจัดทำมาควรเปิดเป็นข้อมูลเปิดให้คนอื่นๆ ไปใช้งานได้ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข เช่นกรณีนี้กกต. ควรเปิดข้อมูลหน่วยเลือกตั้งและพิกัดทั้งหมดโดยไม่มีข้อมูลส่วนตัวประชาชน ออกมาเป็นไฟล์ที่คอมพิวเตอร์เข้าอ่านได้ง่าย เช่น XML, JSON, CSV (ชื่อฟอร์แมตไม่ได้พูด จะ geek เกิน) แนวทางนี้ควรถูกวางให้กับหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ใช้ภาษีเก็บข้อมูลมา เช่น พิกัดโรงงาน, ระดับน้ำในคลองของกทม. ฯลฯ
Streaming #2
วันก่อนดูช่อง Arirang ไปถึงข่าวบันเทิง เจอว่าสัมภาษณ์ดาราที่เล่นละครอยู่ ถามทั่วไปเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง แนวทางการดำเนินเรื่อง ฯลฯ แต่สะดุดที่มันเป็น “Web Drama” เพิ่งเคยได้ยินเลยมานั่งกดดูว่ามันคืออะไร
- เจอใน Viki ปรากฎว่ามันหลายเรื่องเหมือนกัน (กดดูสองสามเรื่องแล้ว error หมด ไม่รู้ว่าเป็นเพราะลินุกซ์หรือดูในไทยไม่ได้) มาจากเกาหลี จีน มาเลเซีย
- ลองหาใน Wiki เจอเรื่อง We Broke Up ลอยขึ้นมาเรื่องแรกถัดจากหน้า Web Series สะดุดที่ตารางออกอากาศ สองตอนแรกฉายวันเดียวกัน ที่เหลือเว้นสองวันบ้าง วันเดียวบ้าง สิบตอนจบภายในไม่ถึงเดือน
- คิดถึงตอนที่แชมป์เขียนถึงรายการสำหรับ Netflix ว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางแต่ละตอนเอง ไม่ต้องยืดหรือหดเนื้อหาขัดใจผู้กำกับเพราะต้องวางลงไปในผังรายการ พอเป็น Streaming แล้วทำมาแล้วคิวว่ายาวดีกว่า ก็ยืดไปเลยตามใจชอบ สั้นดีกว่าก็หั่นสั้นๆ หน่อยปล่อยเป็นตอนออกไปก่อนได้ แถมแนวทางการทำก็ต่างออกไป ไม่ต้อง flashback มาก คนดูไม่ได้โดนทิ้งช่วงที่ละสัปดาห์เหมือนแต่ก่อน ตารางปล่อยแต่ละตอนไม่ได้นานมากเหมือนทีวีเดิมๆ
- ส่วนที่น่าจะต่างจากทีวีแน่ๆ ละครมันสร้างก่อนแล้วปล่อยได้ตามใจชอบ ถ้าเป็นเรื่องรองแล้วเจอรายการอื่นชนก็ยกของหนี ปรับตารางไป “ปล่อย” เวลาอื่นได้
- คิดว่าในไทยใกล้แล้ว ที่จะเริ่มทำได้ แต่อาจจะ production ใหญ่ได้ไม่เท่า รายการทีวีไทยเรตติ้งสูงๆ ตอนนี้อยู่ที่ 6.4 ล้านคน ในไทยนี่กลุ่มคนแคสเกมนี่ 3-6 แสนวิวต่อวิดีโอยาวๆ เป็นชั่วโมงกันได้สบายๆ ในแง่คนดูน่าจะพอได้แล้ว ในแง่ว่าจะมีคนซื้อโฆษณาจนคุ้มทำละครไหมนี่ยังต้องดูวงการโฆษณาปรับตัว คนต้องรอมีคนใจกล้าทดลอง เช่นเด็กนิเทศทำละครสิบตอนแล้วดังสักเรื่อง
- ในแง่เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตไทยยังไม่พร้อมจะมาแทนที่ทีวีนัก วิดีโอระดับ SD (360p-480p) ยังต้องการ bandwidth 400-1,000 kbps ชั่วโมงนึงกิน 250MB ขึ้นไป คนกลุ่มใหญ่ยังใช้เน็ตไม่จำกัด 199 บาท (แถมที่บ้านยังไม่ค่อยมี land line กัน) ทั้งเดือนดูได้ตอนเดียวก็ติด FUP แล้ว คงต้องรอ FUP มันขยับไปสูงกว่านี้เป็น 500kpbs หรือไม่ค่า package ซื้อเพิ่มก็ถูกมากกว่านี้จนคนซื้อได้ง่ายๆ ไม่คิดมาก
- ถึงตอนนั้นฐานคนดูรวมๆ น่าจะพอฟัดพอเหวี่ยงกับทีวีเดิมๆ ตอนนั้นก็ไม่ใช่ content เฉพาะสำหรับ “ชาวเน็ต” อีกต่อไป กลายเป็นรายการทีวีเดิมๆ นี่ล่ะ แต่เอามาฉายในเน็ตแล้วมีอิสระกว่า