e-commerce

นั่งเล่นเว็บ e-commerce หลายเว็บช่วงนี้ มีดีมีแย่ต่างๆ กันไป เอาเท่าที่เห็นก่อน

  • Asiabooks: ประทับใจมากตั้งแต่แรกเห็น URL เป็น SSL EV แต่ดัน import jQuery จาก CDN ของ jquery เองแถมเป็น HTTP ด้วย อันนี้พอดีสั่ง What-If มาอ่าน พบว่าไม่มีระบบบอก tracking number สั่งแล้วงงๆ ว่าของจะมาวันไหน แต่ก็ถึงตามเวลาดี แถมส่งฟรีและถูกกว่าไปซื้อหน้าร้าน
  • Cdiscount: กำลังจะสั่ง HTTPS ทำงานครบทั้งเว็บไม่มีปัญหาอะไร ยังไม่ได้ลองระบบภายใน ฟอร์มออกบิลเป็นชื่อบุคคลธรรมดา หาทางออกบิลบริษัทไม่เจอ คงต้องติดต่อ
  • Lnwshop: พอดีผมสั่งของจาก Satorshop อยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะชิ้นที่รอของเป็นเดือนจากจีนไม่ไหว ระบบโดยรวมโอเค เข้าใจง่าย แต่เว็บลูกไม่รองรับ HTTPS ถ้าลงทุนซื้อ Wildcard แบบถูกๆ หน่อยน่าจะดีกว่าเพราะตัวเว็บหลักที่ใช้ login เองอุตส่าห์ซื้อ SSL EV
  • คิโนะคุนิยะ: ดูไม่เน้นเว็บเท่าไหร่ เคยใช้เพราะสั่งหนังสือหายากเล่มนึงแล้วไม่ได้ เว็บหลักไม่เข้ารหัส เข้าเฉพาะส่วนสมาชิกเท่านั้น
  • Tarad: อันนี้ยังไม่เคยซื้อ แต่เคยเข้าเว็บคิโนะไปดูส่วนหนังสือภาษาไทย (จะแยกกันทำไม?) มีสคริปต์บางส่วนเป็น HTTP ทำให้แสดงไม่สมบูรณ์ แต่รองรับ SSL หมดทั้งเว็บหลักและเว็บร้านค้า
 

Micro PC

ปกติผมเรียกคอมพิวเตอร์ที่ลงลินุกซ์ (หรือวินโดวส์) ตัวเต็ม แต่มีบอร์ดขนาดเล็กมาก กินไฟต่ำกว่า 20 วัตต์ และราคาต่ำกว่า 200 ดอลลาร์ว่า “micro PC” ซึ่งแอบตลกนิดหน่อยเพราะ PC เคยมีชื่อว่า micro computer

ตัวที่นิยมที่สุดคงเป็น Raspberry Pi อันโด่งดัง ราคาเพียงพันกว่าบาทสามารถทำอะไรได้มากมาย กินไฟสูงสุดไม่ถึงสิบวัตต์ พอๆ กับหลอดตะเกียบสักหลอดเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายตัวในตลาด ตัวที่มาก่อนคือ Beagleboard และ Beaglebone จากค่าย Texas Instrument

ที่จริงแนวคิดบอร์ดพัฒนาเป็นสิ่งที่บริษัทผลิตชิปต้องทำอยู่แล้ว แต่ด้วยความคิดบางอย่าง ทำให้การสั่งบอร์ดพัฒนาจากผู้ผลิตนั่นมักจะแพงบ้าเลือด เช่น ARM ชิปตัวละสองร้อย บอร์ดพัฒนาอาจจะมีราคาถึงสามหมื่นบาทได้สบายๆ แต่ TI ก็เลือกเส้นทางใหม่ด้วยการสร้าง Beagleboard แล้วขายราคาเพียง 250 ดอลลาร์ ราคาในไทยคงแค่แปดพันกว่าบาท แล้วออกลูกออกหลานมาอีกหลายรุ่น รุ่นที่ดังที่สุดคือ Beaglebone Black (BBB) ราคา 45 ดอลลาร์ ที่ออกมาตามหลัง Raspberry Pi ที่ชูธง 35 ดอลลาร์มาตั้งแต่แรก ทำยอดขายถล่มทลายนับล้าน

อีกค่ายสำคัญก็เป็นสาย Cubieboard จากจีนที่ใช้ชิป Allwinner A10 และ A20 ความแรงเหลือเฟือ

งานหนึ่งที่ใช้ได้เสมอๆ คือการเปิดคอมพิวเตอร์พวกนี้เป็น VPN server ไว้ที่บ้าน เอาไว้เวลาเปิด wi-fi ขำๆ ตามร้านกาแฟ แล้วไม่มีการเข้ารหัสก็ยัง VPN กลับบ้านได้ ซึ่งความเสี่ยงน่าจะน้อยกว่าเยอะ แต่พอเจองานเข้ารหัสเข้าจริงๆ RPi ก็เริ่มตันเพราไม่ได้ออกแบบให้รับงานหนักหนาอะไร ซีพียูจะเริ่มเต็มถ้าใช้ VPN ที่ระดับเมกะบิต ไม่ต้องพูดถึงการเข้ารหัสดิสก์ที่ต้องการความเร็วสูงๆ

BBB ดันเจ๋งกว่ามากเพราะมีชุดคำสั่งเข้ารหัสเฉพาะ และประสิทธิภาพดีมาก ทำได้ระดับเมกกะไบต์ต่อวินาทีสบายๆ

ผมเองคิดว่าจะทำ backup storage ที่บ้านอยู่นาน ก็คิดว่าจะซื้อ BBB มาเล่นเสริมกับ RPi ปรากฎว่าในไทยไม่มีขาย ค้นๆ ไปถึงเมืองนอก ปรากฎว่าขาดตลาดกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ผู้ใช้โวยวายว่าจะเลิกผลิตแล้วหรือไร ทาง BBB ก็ออกมาชี้แจงว่าผลิตไม่ได้หยุด แต่ส่งของไปแล้วร้านค้าไม่มีที่ไหนขึ้นว่ามีของในสต็อกเลยก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ตอนนี้รวมๆ ส่งไปแล้ว 150,000 ชุดแล้ว และกำลังผลิตอยู่ที่เดือนละ 13,000 ชุด อาจจะเพิ่มได้ในอีก “หลายสัปดาห์” ตอนนี้ก็เป็นโอกาสของคนมีของในมือ ฝั่ง Aliexpress ขาย BBB กันอยู่ที่ 80 ดอลลาร์ ส่วนฝั่ง eBay นี่เกิน 100 ดอลลาร์กันแล้ว

ตัว Cubieboard ที่ใช้ Allwinner เองก็มีชุดคำสั่ง AES แต่ซัพพอร์ตแย่กว่ามาก

อีกตัวที่มีความหวังคือ minnowboard MAX ที่ใช้ Atom รุ่นใหม่ รองรับ AES-NI น่าจะทำได้ดีพอสมควร แถมซัพพอร์ตไม่ต้องห่วงเพราะ OpenSSL รองรับนานแล้วจากแพตซ์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แต่น่ากลัวว่าเปิดขายมาจะหายไปจากตลาดอีกเหมือนกัน

 

esmre for python 2.7 win32

[esmre](https://code.google.com/p/esmre/) is a great library to scan text for a large collection of pattern. Too bad that the package seem unmaintained anymore.

The latest offical built is for python 2.6. I use this library in my project and need to upgrade to python 2.7. So, in case you don’t want bother to setup the build environment, you could use mine.

I built it for win32.

 

Xubuntu 13.04

  1. ไม่ได้อัพแบบ dist-upgrade มานานหลังจากลองครั้งสุดท้ายเมื่อหลายปีก่อนแล้วบึ้ม หลังจากนั้นลงใหม่เสมอ ครั้งนี้เป็นครั้งแรก
  2. เนียนมาก
  3. บั๊ก Bluetooth Keyboard ในเคอร์เนลไม่ถูกแก้จนกระทั่งจบอายุขัย 12.10 ต้องอัพเวอร์ชั่นถึงหาย สาดดดดด
  4. ตัวปรับหน้าจอปรับสองจอให้อยู่ข้างกันได้แล้ว น่าเกลียดกว่าใน Ubuntu มากแต่ก็พอใช้งาน และเป็นมิตรกว่า xrandr
  5. keyboard property ก็แก้แล้ว เวลา plug คีย์บอร์ดใหม่แล้วค่าที่ตั้งไว้ไม่หาย
  6. ประสบการณ์โดยรวมพอๆ กับ Ubuntu ก่อนใช้ Unity เครื่องนิ่ง เดินเรียบ ทำงานได้อย่างที่หวัง แต่มาพร้อมกับ package ทันสมัยกว่า
  7. ใช้ Xubuntu มา Uptime 7-15 วันไม่ใช่ปัญหา ชีวิตมีสุข ไม่ต้องทนกับระบบ search ของ Unity