ความล้มเหลวของ OLPC

ผมเคยเขียนบทความขนาดยาวเรื่องของ OLPC ไปแล้วมาวันนี้ดูเหมือนว่าโครงการนี้จะลงหม้อไปเรียบร้อยแล้ว เลยลองมานั่งนึกๆ ดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น

– โครงการ OLPC เสนอนวัตกรรมมากเกินไปในครั้งเดียว ทั้งจอแบบพิเศษ, Mesh Network, Sugar, ฯลฯ มันมากเกินไป ในครั้งเดียว คงจะดีกว่านี้ถ้า Mesh Network มาใน OLPC XO 2.0 และ Sugar ตามมาใน XO 3.0
– ลืมจุดขายของตัวเอง ประเด็นของ OLPC นั้นคือ 100 ดอลลาร์ นวัตกรรมในข้อที่แล้ว เรื่องนี้ Classmate PC กินขาด เพราะเสนอนวัตกรรมแบบเบาๆ เครื่องเดิมๆ แต่เบาลง การใส่อะไรเข้าไปเยอะทำให้สุดท้ายแล้ว OLPC ทำราคาที่อ้างไว้ไม่ได้
– ปฏิเสธการค้า จุดพลาดอย่างยิ่งใหญ่คือการปฏิเสธการทำตลาดในเชิงการค้า จริงๆ แล้วจนทุกวันนี้ผมยังไม่เห็นใช้งาน Classmate PC ในเมืองไทยอย่างจริงจัง (ทางอินเทลเรียกผมไปได้นะครับ) แต่ Eee PC ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเดียวกันนั้น ผมเชื่อว่าคนจำนวนมากมาย ซื้อไป “ให้ลูกใช้” ทำไม OLPC จึงหวังแต่ว่าเด็กควรได้รับแจกฟรี ในเมื่อบางประเทศที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่ อย่างไทย มีพ่อแม่จำนวนมากพร้อมจะซื้อเครื่อง OLPC ให้ลูกใช้อยู่แล้ว

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเองยังคงเชื่อใน 100 ดอลลาร์ ของโครงการ OLPC อยู่ และเชื่อว่าถ้าวันหนึ่งแล้วเครื่อง Nettop จะลงไปยังราคานั้นได้ มันจะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าการศึกษาของโลก แทนที่จะเป็น Gadget ประจำกายมือไอทีเช่นทุกวันนี้

หวังว่าเราจะได้เห็น Nettop สักเครื่องกลายเป็น 100 ดอลลาร์จริงๆ ในเร็ววัน ไม่แน่ว่าอาจจะเป็น OpenBook

 

My Atom

 ปลุกปล้ำมาพักใหญ่ๆ ก็เวิร์คเกือบหมดแล้วครับ ขอบคุณ Hardy ที่ทำให้เจอปัญหาเยอะขนาดนี้ – – ” สุดท้ายตอนนี้ Gutsy ยังเป็นหนึ่งในดวงใจผมอยู่ต่อไป

จริงๆ แล้วอยากรีวิวให้ทันฉลอง 30 ปีสถาปัตยกรรม x86 แต่มันก็ผ่านไปแล้วเมื่อสองวันก่อน (วันที่ 8) เลยว่าจะค่อยๆ ใช้งานแล้วมาเล่าให้ฟังกันเรื่อยๆ แล้วค่อยเขียนสรุปลง Blognone ทีเดียว

เล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Atom ตัวนี้กันก่อน

  1. มันเป็น Hyperthread นะครับ ดังนั้น OS จะเห็นสองคอร์ (Wow!!!)
  2. ที่สำคัญคือมันรองรับ AMD64 ดังนั้นเรื่องของอนาคตไม่ต้องห่วง แต่อย่าหวังว่าจะใส่แรมเยอะ เพราะมันมีแค่ช่องเดียว
  3. กำลังคันหัวใจสงสัยว่ามันรองรับ Virtualization ด้วยรึเปล่า????
  4. ไม่แน่ใจว่าเป็นความสามารถพิเศษรึเปล่า ตัวเมนบอร์ดตัวนี้สามารถ Emulate ให้ USB กลายเป็น SCSI ได้ ดังนั้นเวลาเอาซีดีมาเสียบลง Ubuntu แล้วมันจะเหมือนลงฮาร์ดดิสก์เลย แต่ช้ากว่ากันเยอะ
  5. ผมไม่มีวัตต์มิเตอร์ เลยยังดูไม่ได้ว่าตอนที่ไม่มีซีดีรอมและไม่ใช้ฮาร์ดดิสก์มันกินไฟเท่าใหร่กัน
  6. แต่จะว่าไปเนืองจากงบน้อย เลยเอา Supply ขนาด 400 วัตต์มาจ่ายให้ เข้าใจว่าจะไปเปลืองที่หม้อแปลงซะเยอะใช้ได้เลย
  7. เย็นจริง!!! พัดลมเงียบสนิท ผมว่าเสียงค่อยกว่า ThinkPad ของผมเลยนะ
  8. ผมเอา ACPI ไม่ขึ้นไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน เดี๋ยวจะกลับไปปล้ำอีกที
  9. ส่วน Hardy นั้นไม่เห็นอะไรเลยแม้แต่ Bash – -“
  10. อีกอย่างที่ต้องทำคือหาจอกว้างมาทรมานกับวีดีโอ HD ให้ได้
  11. ผมเคยคุยกับทางอินเทลเรื่องนี้ว่าอนาคตผมว่ามันต้องมีคนเอา Atom ไปทำเว็บเซิร์ฟเวอร์แหงๆ เคสขนาด 400 วัตต์ ยัดลงไปได้สิบบอร์ด มองเห็น 20 คอร์ แถมปิดเครื่องเวลา Off-Peak ได้ตามใจชอบมี Fail-Over ในตัว โอ้ลัลล้า……..
  12. ถ้า Flash Drive มันประหยัดไฟกว่า HDD อย่างมีนัยสำคัญ แสดงว่าเราควรแคชทุกอย่างไว้ในแรมให้เป็นก้อนโตๆ ก่อนที่จะเก็บลงฮาร์ดดิสก์ทีละชุด น่าสนใจมากกว่าถ้าเขียนโปรโตคอล P2P ใหม่ให้คิดถึงเรื่องการประหยัดไฟแล้ว เราอาจจะได้ Paper มาอีกชุดทีเดียว
  13. ที่อยากทำอีกอย่างคือกาปิดตัว GMA950 ทิ้งไป แล้วทำเป็น Headless สั่งงานผ่าน Serial ลองดูว่าเราจะบีบพลังงานออกได้มากแค่ไหน
  14. ผมเชื่อว่าเมืองไทยขายดีแน่ๆ คนรอซื้อไปโหลดบิตเพียบ!!! งานนี้เจ้าไหนไป Computex หาของมาขายอย่าลืม Power Supply ขนาด 50-80 วัตต์ด้วยนะครับ

วันก่อน โดนมือดีแฮก WordPress ไปเรียบร้อยด้วยความขี้เกียจอัพเดต

ภายในสองวันนี้ต้องอัพเกรดแล้วครับ