เรื่องที่ไม่เคยคิดมาสมัยเด็กๆ คือจะได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศเยอะเท่านี้ ช่วงแรกๆ ก็งงๆ ไปแล้วไม่รู้จะทำอะไร ช่วงหลังเริ่มจับจุดได้ว่าเดินพิพิธภัณฑ์ กับกินของกินท้องถิ่นนี่ล่ะเวิร์คสุด (จนกว่าจะมีโอกาสไปเที่ยวแบบยาวๆ เป็นเดือนๆ ตามที่ฝันไว้)
เลยมานึกๆ ที่ที่เคยไปมาแล้ว
- อังกฤษ
- เทพที่สุดเท่าที่เคยไปมา มีเยอะ ใหญ่ และฟรี
- ทุกที่จะมีเงินสนับสนุน “ที่แนะนำ” บอกไว้พร้อมตู้หยอดเงิน แต่ไม่มีการเก็บเงิน เดินเข้าไปได้เลย
- ที่คนไปหลังๆ คือ National History Museum, กับ National Gallery
- แต่ที่ผมไปเองแล้วประทับใจสุดคือ National Portrait Gallery เนื่องจากภาพบุคคลส่วนมากเป็นการเมือง เลยกลายเป็นการเรียนประวัติศาสตร์อังกฤษ
- ไปเดินแล้วงงๆ รู้แต่ภาพสวยดีไม่ปะติดปะต่อ แต่มีหนังสือขาย ถ้าได้ไปอีกครั้งคงอินมากกว่าเดิมเยอะ เพราะอ่านประวัติศาสตร์อังกฤษเยอะขึ้นมากในช่วงหลัง
- สิงคโปร์
- ไม่ฟรี แพงพอสมควร แถมเล็ก
- วันที่ไปเป็นวันชาติ National Museum เข้าฟรีหนึ่งที่
- มีภาษาอังกฤษให้แทบทุกที่ อ่านออก
- อันแรกที่เข้าไปคือ Peranakan Museum แสดงวัฒธรรมจีนโพ้นทะเลในสิงคโปร์ เทพมาก อันนี้แนะนำ
- ที่อินเพราะจริงๆ แล้วมันใกล้กับคนจีนบ้านเรามาก แต่วัฒนธรรมจีนในสิงคโปร์หายไปเยอะมากแล้ว เหตุผลหนึ่งคือการจัดสรรที่ดินใหม่ทำให้คนจีนกระจายตัวไป
- แต่ที่ชอบเพราะมันสะท้อนหลายมุม ความยุ่งเหยิงของการเปลี่ยนผ่านจากวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมมาเป็นคนเมืองสมัยใหม่ ฯลฯ
- National Museum เป็นห้องจัดแสดงชั่วคราวเยอะ ทั้งด้านหน้า ด้านล่าง และด้านบน
- มีห้องประวัติศาตร์ แต่วันที่ไปคิวยาว เลยหนี
- ฝั่งตรงข้ามเป็น Art Gallery ตอนที่ไปเป็นนิทรรศการของไทย แต่ส่วนถาวรก็น่าสนใจดี มีห้องสอนการดูงานศิลปะด้วย
- โซนพวกนี้เดินถึงกันได้หมดแม้จะเหนื่อยหน่อย
- ญี่ปุ่น
- เก็บเงิน และใหญ่โคตร
- แทบไม่มีภาษาอังกฤษเลย บรรลัยมาก
- ค่อนข้างกระจัดกระจาย เป็นหย่อมๆ ถ้าไม่ได้อยู่ยาวๆ ไม่มีทางทั่ว
- ไต้หวัน
- ได้ไปอันเดียวคือ National Palace Museum
- แต่ก็ซัดไปทั้งวันแล้ว
- เก็บเงิน เดินทางลำบาก ออกนอกเมืองไปไกล
- หาหนังสืออธิบายภาษาอังกฤษไม่เจอ
ที่ควรหาโอกาสไปอีกประเทศคือฮ่องกง
คนเห่อจนเลิกเห่อกันทั่วบ้านทั่วเมืองเพิ่งได้ไปกับเค้าครับ
- ผมว่าจุดเด่นของ IKEA คือของชิ้นถูกๆ ครับ ชิ้นแพงๆ ไม่น่าซื้อเท่าไหร่ ดูจากในแคตตาล็อกคิดแบบนี้ ไปแล้วก็เป็นจริง
- มีระบบลงทะเบียนสมาชิกด้วยตัวเองให้ทั่วไป กรอกๆ ได้เลย ระบบส่ง SMS ยืนยันหมายเลขให้ สะดวกมาก พร้อมพิมพ์บัตรสมาชิกชั่วคราวให้ทันที
- ระบบแจกดินสอกับกระดาษจดนี่เป็น gimmick ที่ดี แต่ใช้จริงโคตรไม่เวิร์ค ผมลืมกระดาษจดไว้สักที่ เดินไปสองชั่วโมงหายหมด
- แอพค่อนข้างดีมาก ตัวเดียวใช้ได้ทั่วโลก แต่ในร้านไม่โปรโมทให้ใช้แทนกระดาษเลย ไหนว่ารักโลก
- ในไทยใช้การสแกน “รหัสสินค้า” ที่เป็นตัวเลขโดยตรง แทน QR หรือ Barcode สแกนได้เหมือนกันเพราะพิมพ์มาให้แสกน แต่ปรากฎว่าแสกนช้ามาก ติดยาก ยอมแพ้ซะแล้วพิมพ์ QR พร้อมกับโปรโมทแอพเถอะ
- แอพบอกจำนวนสต็อกสินค้าด้วย เยี่ยมมาก แต่อัพเดตคืนละครั้ง ผมไปเดินเจอสินค้าลดราคา สุดท้ายก็หมด เซ็ง
- พนักงานคิดเงินไม่ทวงบัตรสมาชิก อันนี้แย่ ทั้งๆ ที่โปรโมทให้สมัครบัตรทั่วร้าน (ผมเองก็บสมัครในร้านนั่นล่ะ) พอจ่ายเงินเดินออกมาอ่าว เพิ่งรู้ตัว ค่าใช้จ่ายต่อบิลพี่แพงกว่าพวกซุปเปอร์เยอะ น่าจะเสียเวลาเพิ่มกับลูกค้าทวงหน่อยนะ
- แกะใช้งานมาสองชิ้นก็ยังประทับใจดี การออกแบบ make sense สำหรับผม ดูดีใช้งานได้ทั้งที่วัสดุราคาไม่แพงนัก
- หลอดไฟแพงมาก แพงฉิบหาย ควรหลีกเลี่ยง ผมซื้อถ่านอัลคาไลน์มาลอง
- โคมไฟใช้เกลียวเล็กจำนวนมากเข้าใจว่าทางยุโรปนิยม แต่เมืองไทยก็น่าจะปรับหน่อยนะ
- แนวคิดสินค้า “ปรับราคาลงจากปีที่แล้ว” น่าสนใจมาก ร้านในไทยควรเอาเยี่ยงอย่างทั้งหมด ไม่ได้โปร แต่มันถูกลง รู้สึกน่าซื้ออย่างบอกไม่ถูก ผมเกือบเสร็จป้ายนี้ไปชิ้นนึง (เปลี่ยนใจจะไปเอาอีกชิ้น ที่พอหาจริงๆ แม่มหมดสต็อก ไม่เอาแม่มทั้งสองชิ้น)
- แนวคิด “เส้นทางเดินดูของแนะนำ” ก็น่าสนใจ แต่ผมว่าป้ายยังน้อยไป คนเราจริงๆ ไม่ได้เดินบนทางเดินขนาดนั้น เดินไป ดูของดูห้อง อ่าวอยู่ตรงไหน เผลอไปมาเดินทะลุอีกห้อง อ่าวข้ามไปแล้ว
ไปต่างประเทศบ้าง สิ่งที่เจอเรื่อยๆ คือการฝากซื้อของ กำหนดกฎส่วนตัวชี้แจงให้คนฝากซื้อเสมอ
- ไม่มีการตามหาของให้ เจอคือเจอ เดินเล่นว่างๆ แล้วผ่านร้านจะเข้าไปดู ดังนั้นอย่าฝากอะไรที่ต้องเดินทางเมืองนั้น ร้านนี้ ถนนโน้น
- บอกราคาที่รับได้เสมอ จะบาทหรือจะประเทศปลายทาง “เกิน XXXX ไม่เอา” กำกับด้วยเสมอ ไม่บอกไม่ซื้อให้
- ห้ามคาดหวังว่า “ได้ของแน่”
- ไม่รับคำฝากประเภท “ไปถึงร้านแล้วส่งรูปให้ที”
ความจริงเรื่องหนึ่งคือเดินจ่ายเงินคนอื่นมันก็สนุกดีครับ แต่ถ้าต้องมาเสียงผิดใจกันก็บอกไปเลยว่าไม่รับจบเรื่อง
หลายปีมานี้บ้านเราเรื่องการเลี่ยงภาษีกลายเป็นการเมืองไปเสียหมด มันเลยงงๆ กันหลายอย่าง
- ภาษีไม่ใช่สิ่งแสดงความดีต่อรัฐสมบูรณ์ คนจำนวนมากไม่ได้เสียภาษีในทางใดๆ เลยมาแต่โบราณ ไม่ใช่เรื่องแปลก
- ประเด็นสำคัญของภาษีคือการกระจาย รัฐเอาเงินส่วนหนึ่งไปเกลี่ยเป็น “อะไรบางอย่าง” ให้กับทุกคน (ที่อาจจะใช้หรือไม่ใช้) ถนน สนามบิน รถไฟ ฯลฯ
- บางประเทศรัฐทำน้อย ก็เก็บภาษีน้อย ส่วน “อะไรบางอย่าง” ที่ว่ากลายเป็นเอกชนไป เก็บค่าผ่านทางทุกทาง ถนน รถไฟ ฯลฯ
- การกระจายปกติคือ คนจ่ายให้รัฐ รัฐเอาไปจ่ายกระจายลงมา
- แต่เก็บมากแล้วดราม่า คนไม่อยากทำงานเพราะทำแล้วไม่ได้อะไรขึ้นมา
- ทางเลือกอีกทางคือเปิดช่องให้ไม่จ่ายภาษีหากทำอะไรบางอย่าง
- อะไรบางอย่างที่ว่าของไทย มีหลักๆ คือ เอาไปลงทุน และเอาไปบริจาค
- เอาไปลงทุน สิ่งที่รัฐบอกคือ อย่าเก็บเงินไว้นิ่งๆ ได้เงินมาแล้วเก็บเงินไว้เป็นเงินฝาก ลำบากต้องมาค้ำประกัน จงเอาเงินไปรับความเสี่ยงแล้วจะไม่ต้องเสียภาษี
- แนวคิดคือแทนที่จะเอาเงินมานอนกอด ก็จงเอาเงินไปให้คนอื่นทำกิจการค้าขายซะ คนอื่นจะได้มีโอกาสมีเงินบ้าง
- รัฐจะสนับสนุนเงินแบบนี้เองก็ได้ ที่ผ่านมาก็มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมโน้นนี้ เข้าท่าบ้าง งี่เง่าบ้างคละกันไป
- แต่เงินที่ให้เราไปสนับสนุน คือให้เราคิดเอง ว่าจะสนับสนุนใคร ที่จริงเราก็ไม่ค่อยคิด จ้างผู้จัดการกองทุนคิดแทนอีกที
- รวมๆ มันคือการตัดตรง รัฐไม่ต้องคิด เราคิดกันเอง โดยหวังว่าถ้าเราโลภกำไร เงินลงทุนของเราก็น่าจะมีประสิทธิภาพสูง แทนที่จะให้รัฐไปนั่งคิด แล้วคนคิดไม่ได้หวังกำไร เงินมันเลยมีประสิทธิภาพต่ำ
- ข้อดีต่อรัฐอีกข้อคือเสี่ยงกันเอง เจ๊งบึ๊มมาเอารับกันเอง รัฐลอยตัว
- การให้ภาษีเพื่อให้เอกชนทำแทนไม่ใช่เรื่องแปลก หลายประเทศมีเครดิตภาษีการจ้างคนพิการ หรือทหารผ่านศึก
- เอกชนก็คิดแทนเหมือนกัน คือ อยากได้เครดิตภาษีก็อยากจ้างคนพิการ แต่ก็เลือกคนที่มีประสิทธิภาพสูงๆ ไปในตัว เพื่อประโยชน์สูงสุด ผลคือคนมีประสิทธิภาพสูงยังได้รับโอกาส แทนที่จะให้รัฐไปคิดว่าจะให้ใคร แล้วคิดไม่ออก ไม่จูงใจให้คนพัฒนาตัว
หาทางลดภาษีตามกฎหมายได้ก็ทำๆ ไปเถิด ไม่ต้องคิดว่ามันดีเลวมาก ไม่งั้นอีกหน่อยคงห้ามซื้อของลดราคาเพราะไม่ได้จ่าย VAT ปัญหาคือแรงจูงใจที่รัฐให้มาพร้อมกับเงื่อนไขที่เราต้องรับ ลงทุนตามรัฐลดภาษีถึงเวลากองทุนเจ๊งเกิดวิกฤติก็ต้องเตรียมใจรับกันเอง