ภาษี

สองสามวันนี้การเมืองไทยมีประเด็นเรื่องภาษี คิดเรื่องนี้ไว้หลายอย่าง เลยจดรวมๆ กันมา

  • การลดภาษีควรลดเป็นเครดิต: ประเด็นหนึ่งที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างมากในไทย คือการ “ลดหย่อนภาษี” แปลว่าไม่ใครจ่ายภาษีฐานไหนอยู่ ก็จะได้รับการลดหย่อน ตัดภาษีออกจากฐานสูงสุด การลดหย่อนแบบนี้ไม่ดีและไม่แฟร์ ไม่ดีเพราะคนฐานภาษีสูงๆ จะสามารถซื้อมั่วซั่วอะไรก็ได้ยังไงก็กำไรภาษี ทั้งที่การลดหย่อนควรเป็นการจูงใจให้เขาได้เลือกการลงทุนที่ดีและนำไปสู่การลงทุนอื่นๆ ต่อไป ไม่แฟร์เพราะคนที่เริ่มมีเงินเก็บบ้างฐานภาษีไม่สูงมาก กลับมีการจูงใจน้อย ทุกวันนี้คนภาษีฐานต่ำๆ โอดโอยกันว่ากองทุนที่ซื้อมายังขาดทุนกันอยู่ กาารให้เป็นเครดิตควรล็อกเป็น % ตายตัว เช่น ซื้อ RMF ลดภาษีได้ 15% ซื้อแสนนึงลดได้ 15,000 บาท ก็ลดได้เท่านี้ทุกคน ซื้อพลาดกองขาดทุนเกิน 15% ก็ขาดทุนเท่ากัน คนที่ฐานภาษีสูงมากๆ 25-35% นั้นไม่ต้องไปจูงใจเขามาก เขาก็ลงทุนกันเองเป็นอยู่แล้ว (แต่ก็ให้ควรให้เท่าๆ กันเพื่อความแฟร์)
  • ฐานภาษีควรสูงกว่านี้: ฐานภาษีสูงสุดของไทยอยู่ที่ 35% นั้นสูงไม่พอ ส่วนตัวมองว่าไปได้ถึง 49% สำหรับคนยอดพิรามิดสูงสุด
  • การลดภาษีบุคคล ควรอาศัยการเลื่อนขั้นบันได: อ้างถึงข้อก่อนหน้า ว่าเราไม่จำเป็นต้องขึ้นภาษีอย่างเดียว แม้จะคงขั้นบันใดเอาไว้ หรือเพิ่มบันไดขั้นสูง แต่เราควรพิจารณาปรับเลื่อนขั้นบันไดตามช่วงเวลา เงินเดือนสองหมื่นยังถือว่าควรจ่ายขั้นไหน อาจจะมองถึงการแข่งขันในกรณีแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในไทยว่าอัตราภาษีรวมเราก็ต้องแข่งขันได้
  • เพิ่มฐานภาษีต่ำๆ: แม้จะเลื่อนฐานภาษีได้ แต่ควรพยายามขยายฐานผู้จ่าย (ก่อนลดหย่อน) ให้มากขึ้น คนมีรายได้เกินระดับพออยู่ได้ควรต้องยื่นและต้องจ่ายในฐานต่ำมากๆ เช่น หากอยากลดภาษีให้เพิ่มฐาน 1% เข้ามาแทนที่ฐาน 5% เดิม แล้วเลื่อนฐาน 5% ออกไป คนจ่ายฐาน 1% อาจจะแทบไม่ได้จ่ายเพราะลดหย่อนต่างๆ ก็ได้คืนหมด แต่ก็ให้อยู่ในระบบภาษี ให้ต้องยื่น และอาจจะต้องจ่ายบ้างหากไม่ได้ลดหย่อนอะไรเลย
  • ภาษีอื่นๆ นอกจากภาษีรายได้ ควรปรับขึ้น: ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน ภาษีลาภลอย (รถไฟฟ้า ทางด่วน ผ่านหน้าบ้าน) แม้จะมีแล้วแต่อ่อนแอมาก มีช่องโหว่และถูกไป ภาษีเชิงลงโทษอย่างพื้นที่รกร้างว่างเปล่าต้องมีปรับขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึง 10-20% ของราคาประเมินต่อปี (ไม่จ่ายครบ X ปีให้ที่ดินตกเป็นของท้องถิ่น) พื้นที่ธุรกิจที่ปรับเป็นภาษีที่ดินแล้วกลับจ่ายถูกกว่าภาษีโรงเรือนต้องปรับกลับใหม่ให้เท่าเดิม
  • VAT ขึ้นได้แต่ควรมีมาตรการชดเชย: VAT ของเราถูกเกินไปและควรขึ้นมาสักพักแล้ว แต่ก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือ ส่วนที่เพิ่มอาจจะกันบางส่วนเข้าเป็นบัตรสวัสดิการ เปิดรอบสมัครอย่างชัดเจน มีเกณฑ์สมัครชัดเจน (เปิดยิ่งถี่ยิ่งดี ให้ดีมากคือใครเริ่มจนสมัครได้ทันที เหมือนสวัสดิการตกงานของประกันสังคม) แทนที่ทุกวันนี้ที่ต้องรอลุ้น อันนี้ไปเลียนแบบสิงคโปร์ที่เรียกบัตรคนจนของเขาว่าบัตร GST เลยทีเดียว
 

โลกที่ไม่ลืม

LLM แบบ multimodal น่าจะทำให้เกิด device แบบใหม่ ปัญหาตอนนี้คือทุกคนพยายามทำสิ่ง “ทดแทนโทรศัพท์มือถือ” เช่น Humane AI Pin หรือ Rabbit R1 แต่วันนี้ไปเห็น Axon แล้วคิดว่า make sense กว่ามากในตอนนี้

แนวคิดของ Axon นั้นง่ายมาก อุปกรณ์ทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากบันทึกเสียงอย่างเดียว เสร็จแล้วแปลงเป็นข้อความ เลือกบางส่วนของข้อความมาทำรายงาน

ในกรณีการใช้งาน LLM แบบ multimodal มันมีความเป็นไปได้ที่เราจะแปลงทุกอย่างเป็นข้อความทั้งหมด ภาพทุกภาพที่เรามองเห็นกลายเป็นแค่คำบรรยายภาพ “กำลังขับรถ ไปยัง… โดยตอนนี้อยู่ที่แยก…. โดยมี Google Maps นำทาง… บนรถมีคน…..” ชีวิตทั้งชีวิตจะสามารถกลายเป็น log ไฟล์ ข้อมูลทั้งวันอาจจะเหลือแค่หนังสือหนาๆ สักเล่มไม่เกิน 10MB แบบยังไม่บีบอัด

มีคนเคยพูดว่าภาพหนึ่งภาพแทนคำนับพัน แต่ที่จริงแล้วภาพหนึ่งภาพกินพื้นที่มากกว่า 100KB ภาพจากโทรศัพท์มือถือของเราอาจจะกิน 2-5MB ซึ่งเทียบเป็นคำก็อาจจะไปได้ถึงนับหมื่นไปจนถึงนับล้านคำ แม้แต่การเก็บข้อมูลวิดีโอสักชั่วโมงที่บีบอัดต่อเนื่องระหว่างเฟรมก็ยังกินพื้นที่มากกว่า 500MB แต่การแปลงข้อมูลทั้งหมดอัดแน่นเป็นคำบรรยายจะเหลือชีวิตเราชั่วโมงละไม่กี่ MB เท่านั้น หากนั่งนิ่งๆ ก็อาจจะมีเพียงบรรทัดเดียวทีบรรยายว่าชั่วโมงนั้นเรานั่งนิ่ง และยังสามารถบีบอัดลงไปได้จนเล็กมาก การเก็บคำบรรยายทั้งชีวิต จะอยู่ในพิสัยที่ทำได้โดยไม่ต้องการบริการคลาวด์ใดๆ ภายนอกอก

ข้อมูลทุกอย่างสามารถเก็บในรูปแบบ metadata ใบหน้าทุกวันนี้สามารถเก็บในรูปแบบ vector ได้ระดับ 100 byte เท่านั้น เช่นเดียวกับ logo ต่างๆ นั่นแปลว่าเราจะสามารถสืบค้นย้อนหลังทั้งหมด ว่าเราพบใคร พูดอะไร เมื่อไหร่ ได้ตลอดชีวิต LLM แปลงข้อมูลที่ผ่านหน้าเราให้อยู่ในรูปแบบที่อัดแน่น จนสร้างความจำที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อเราพบใครสักคน โทรศัพท์ของเราจะสามารถสร้าง profile ของคนข้างหน้าเราได้ทันที เราพบเขาครั้งแรกและครั้งสุดท้ายเมื่อใด ประเด็นที่พูดคุยกันล่าสุดมีอะไรบ้าง

เราจะไม่ลืมอีกเลย…..

และเราจะไม่ต้องจำอะไรอีกเลย…

 

Hidden Systems

เห็นเล่มนี้จาก The Book Smith แล้วคิดว่าน่าอ่านเลยสั่งมา ปรากฎว่าสั่งรอบแรกไม่ทันต้องรอเป็น pre order รอบหลัง แล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะเนื้อหาค่อนข้างดีมาก ระดับเดียวกับ David Macaulay ที่มาเขียนคำนิยมขึ้นหน้าปกให้เลย

หนังสือเป็นนิยายภาพทั้งเล่มเลยเล่าเรื่องได้ไม่เยอะนักแต่ Nott ก็เลือกเล่าแค่สามเรื่องคือ อินเทอร์เน็ต, ไฟฟ้า, และประปา ในสามเรื่องนี้พาไปดูเบื้องหลังการทำงานว่าเราใช้งานสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

เนื้อหาส่วนที่หลุดออกไปสักหน่อยคงเป็นส่วนของประปา ที่เน้นสิ่งแวดล้อมและความเท่าเทียมกันมากกว่าจะโฟกัสอยู่กับตัวเนื้อหาโครงสร้างระบบประปาที่เราใช้งานกัน ตัว Nott เขียนหนังสือเรื่องประชาธิปไตย และความเท่าเทียมอยู่แล้ว

ภาพสวย เนื้อหาค่อนข้างดี และนำ ตัว Nott มีผลงานอีกหลายอย่าง แต่แนะนำเป็นพิเศษสักหน่อยคือ Our Labor Built AI

 

Rubberducking

After a few days of living with AI chatbots, I found that the most important use case is rubberducking. I just ask them everything I’m doing to see if their answers are different from mine. While most of them are not that different, some are really useful and mind-opening.