เอกสารฉบับนี้เป็นการแปลจากบันทึกการบรรยายในเรื่อง GPLv3 ที่งาน FOSDEM โดยได้รับการบันทึกและถอดความโดยทีมงานขององค์กรซอฟต์แวร์เสรีแห่งไอริช (IFSO) แปลโดยนายวสันต์ ลิ่วลมไพศาล ร่วมกับ นายอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ โดยได้รับอนุญาตอย่างจากเจ้าของสิขสิทธิ์ ท่านสามารถอ่านต้นฉบับของเอกสารนี้ได้ที่เว็บของ IFSO

กลับไปหน้าเอกสารของ IFSO -หรือ- เยี่ยมชมหน้าโครงการ GPLv3 ขององค์กรซอฟต์แวร์เสรีแห่งไอริช

IFSO: บทการบรรยายายของริชาร์ด สตอลแมน เรื่อง GPLv3,
25 กุมภาพันธ์ 2549

ถอดเนื้อหาโดย Ciaran O'Riordan (มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีแห่งยุโรป / IFSO). หากมีความเห็นใดเกี่ยวกับบทการบรรยายนี้สามารถแสดงความเห็นได้ทางอีเมล เอกสารนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยนายวสันต์ ลิ่วลมไพศาล โดยได้รับอนุญาตจาก IFSO

เอกสารนี้เป็นการถอดบทบรรยายความยาว 25 นาทีโดยริชาร์ด สตอลแมนในวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม วันแรกของงานประชุม FOSDEM ประจำปี 2549 สตอลแมนพูดถึงการนำเสนอเวอร์ชั่นที่สามของ GNU GPL และกระบวนการรับคำปรึกษาจากคนทั่วไปในเวลาหนึ่งปี

บทบรรยายในภาษาอังกฤษถูกถอดความและตรวจสอบซ้ำสองครั้งจากการบันทึกวีดีโอโดย Ciaran O'Riordan โดยใช้กล้องวีดีโอระดับคอนซูมเมอร์ทั่วไป สำหรับวีดีโอคุณภาพสูงสามารถดาวน์โหลดได้ที่ ftp://ftp.belnet.be/pub/mirror/FOSDEM/FOSDEM2006-GPL.avi

ส่วนต่างๆ ของการบรรยาย

บทบรรยาย

[back to top]

[00m 00s]

ริชาร์ด สตอลแมน (ผู้ก่อตั้ง โครงการ GNU, ประธานของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี):

ผมเป็นผู้เขียนหลักของ GNU GPL ทุกเวอร์ชั่น แต่ผมก็ได้ความช่วยเหลือจากทนายเสมอๆ ในอดีตนั้นคือ Jerry Cohen, สำหรับเวอร์ชั่นนี้คือ Eben Moglen ที่ผมได้ร่วมงานกับเขามาตั้งแต่กลางช่วง 90

[back to top]

[การจำกัดสิทธิการใช้งานทางดิจิตอล (Digital Restrictions Management - DRM)]

เหตุผลสำหรับการที่ต้องมีการปรับปรุงบ่อยครัง้นั้น เพราะการเปลี่ยนแปลงส่วนมากเป็นส่วนเล็กๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักใน GNU GPL รุ่นที่ 3 GNU GPL ไม่สามารถเปลี่ยนได้ และจะต้องไม่ถูกเปลี่ยนแปลงตลอดไป แนวคิดพื้นฐานจะต้องคงอยู่เหมือนเดิม

สิ่งที่เราเปลี่ยนคือส่วนเฉพาะของ GNU GPL เพื่อสนองต่อเรื่องเฉพาะ และเรายังมีการอธิบายเหตุผลของทุกส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง ในเอกสารอธิบายเหตุผลที่คุณอ่านได้จากเว็บ: gplv3.fsf.org.

[01m 09s]

เว็บนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อรับความคิดเห็นเป็นหลัก เราไม่ได้สร้างเว็บนี้ขึ้นมาเพียงเพื่อให้คุณรับรู้ถึงสิ่งที่เรากำลังนำเสนอเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อให้คุณได้แสดงความเห็นว่าคุณคิดอย่างไรกับ GNU GPLv3 นี้ และเพื่อให้คุณได้แนะนำเรา เพื่อที่เราจะมั่นใจว่า GPLv3 นี้จะเสร็จออกมาอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ขอให้เข้าไปดูเอกสารอธิบายเหตุผลนี้ด้วย

[01m 37s]

ในการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด มีส่วนทีผมมองว่าสำคัญอยู่สี่เรื่องคือ การรองรับสิทธิบัตรซอฟต์แวร์, ความเข้ากันได้กับไลเซนส์แบบอื่นๆ, การนิยามว่าส่วนใดในซอร์สโค้ดต้องมีกฏในการจัดการอย่างไรบ้าง, และการรองรับการจัดการการจำกัดสิทธิทางดิจิตอล

ผมเพิ่งได้อ่านแผนการของไอบีเอ็ม, ไมโครซอฟท์, และดิสนีย์ ผมจำไม่ได้ว่าไอบีเอ็มเข้าร่วมด้วยหรือไม่ แต่ดีสนีย์, ไมโครซอฟท์, โซนี่, และอินเทล หรืออาจจะรวมถึงไอบีเอ็มก็อยู่ในแผนนี้ด้วย มันคือ AACS ระบบจัดการการจำกัดสิทธิ์ทางดิจิตอลแบบใหม่ มันถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดสิทธิการใช้ซอฟต์แวร์และภาพยนต์

มันเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ผู้ใช้ควบคุมและแก้ไขระบบได้ยากขึ้น ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่ต้องการให้อุปกรณ์ของเขาทำงานได้กับทีวีความละเอียดสูง จะต้องเข้ามาตรฐานนี้ด้วย และข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ไม่ใช่เพียงการออกแบบอุปกรณ์ที่จำกัดไม่ให้ผู้ใช้ควบคุม และแก้ไขดัดแปลง หรือแม้กระทั่งการห้ามไม่ให้ส่งข้อมูลออกมาในรูปของอนาล็อก

ข้อมูลอนาล็อกถูกมองว่าเป็นช่องโหว่ความปลอดภัยสำหรับมาตรฐานนี้ ความคิดของพวกเขาคือในอนาคต, คอมพิวเตอร์จะไม่มีเอาท์พุตเป็นอนาล็อกอีกต่อไป คุณจะไม่สามารถนำคอมพิวเตอร์ของคุณไปต่อกับจอภาพใดๆ ได้นอกจากจอภาพที่ออกแบบมาเพื่อให้รับสัญญาณภาพที่เข้ารหัสมาแล้วได้

[04m 05s]

การสมคบคิดเพื่อยึดอำนาจควบคุมคอมพิวเตอร์ไปจากเรานี้เริ่มที่จะรุนแรงและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี บริษัทเหล่านี้รู้ตัวดีว่าพวกเขามีอำนาจล้นเหลือ และพวกเขากำลังหาทางใช้มัน พวกเขากำลังจะบังคับให้โลกเป็นเป้นอย่างที่พวกเขาต้องการ พวกเราต้องทำทุกวิถีทางที่จะต่อต้านมัน

มีบางคนแนะนำให้ผู้คนซื้อของเหล่านี้มาและนำกลับไปคืนที่ร้าน ซื้อแล้วคืนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ พวกเขาเชื่อว่าวิธีการอย่างนี้จะทำให้ร้านค้าที่ขายของพวกนี้ลำบากขึ้น อย่างไรก็ดี, ผมกำลังมองหาทางอื่นๆ ที่จะต่อต้านอันตรายเหล่านี้ และทำให้มันเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะมาเปลี่ยนแปลงแนวทางของซอฟต์แวร์เสรี

อย่างที่คุณเห็น, สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการกระจายซอฟต์แวร์สาธารณะที่ในทางทฤษฏีแล้วเป็นซอฟต์แวร์เสรี แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเขาต้องการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ใช้ไลเซนส์ GPL ไปสู่สาธารณะ และประกาศว่า "ไบนารีนี้อยู่ภายใต้ GPL และเราจะให้ซอร์สโค้ดถ้าคุณต้องการ ซอร์สโค้ดก็เป็น GPL เช่นเดียวกัน แน่นอนว่าคุณสามารถแก้ไขมันได้ คุณเพียงแต่ไม่สามารถใช้มันบนคอมพิวเตอร์ที่เราผลิตได้ เพราะถ้าคุณติดตั้งลงบนเครื่องของเรา มันจะไม่ทำงาน หรือไม่สามรถใช้งานจริงได้"

[06m 01s]

เรามาถึงจุดที่บอกว่าเงื่อนไขเช่นนี้ไม่ได้ให้อิสระกับผู้ใช้ในการแก้ไขและแบ่งปันซอฟต์แวร์ และในเมื่อเริ่มต้นของ GNU GPL นั้นทำขึ้นเพื่อที่จะรับประกันอิสระภาพ ดังนั้น GNU GPLv3 จึงถูกออกแบบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับอิสระภาพนั้นจริงๆ โดยไม่ได้ถูกจำกัดจากคอมพิวเตอร์ของคุณที่จะทรยศคุณเอง หรือการจำกัดสิทธิทางดิจิตอล

แต่การรับประกันอิสระภาพนี้ก็ทำในวิธีที่ฉลาดมาก อย่างน้อยก็ในความคิดของผม มันไม่ได้ใช้วิธีที่แข็งกร้าวจนเกินไป มันไม่ได้จำกัดความสามารถด้านเทคนิคของซอฟต์แวร์ เพราะนั่นเป็นแนวคิดอีกข้อหนึ่งของซอฟต์แวร์เสรีที่ต้องการให้ผู้ใช้สามารถใช้ซอฟต์แวร์ของเขาเพื่อประโยชน์ใดก็ได้ และเปลี่ยนซอฟต์แวร์อย่างที่เขาต้องการให้มันเป็น ดังนั้นเราจึงไม่ได้กำลังบอกว่า "คุณไม่สามารถแก้ไขซอฟต์แวร์นี้ให้ทำงานของคุณได้ ถ้าคุณกำลังจำกัดสิทธิการใช้งานของผู้ใช้ ในทางตรงข้าม, เรามุ่งเน้นไปในอีกมุมมองของ DRM ที่ใช้ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ควบคุมซอฟต์แวร์ที่จะมารันบนเครื่องของเขา คอมพิวเตอร์ที่ไว้ใจไม่ได้พวกนี้ถูกออกแบบมาเพื่อที่ว่าเมื่อคุณแก้ไขซอฟต์แวร์ คุณจะทำงานไม่ได้

[06m 35s]

พวกมันใช้การตรวจสอบ เช่น การสร้าง Checksum ของตัวซอฟต์แวร์เพื่อตรวจว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้รับการรับรอง และอนุญาตแล้วหรือไม่ ดังนั้นเมื่อคุณดัดแปลงซอฟต์แวร์และติดตั้งมัน หากซอฟต์แวร์ของคุณไม่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิต เวอร์ชั่นของซอฟต์แวร์ที่คุณสร้างขึ้นก็จะถูกถือว่าไม่ได้รับอนุญาต และจะไม่ทำงานบนเครื่องเหล่านี้ มันอาจจะไม่ยอมเปิดไฟล์ที่คุณต้องการขึ้นมาใช้งาน หรืออาจจะไม่สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้ ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ซอฟต์แวร์ที่คุณแก้ไขจะไม่ทำงานแบบเดียวกับที่มันเคยทำได้เหมือนในเวอร์ชั่นแรกที่มันเคยทำงานได้

ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำใน GPLv3 คือการที่เราระบุว่าเราต้อนรับการออกแบบซอฟต์แวร์เสรีให้ให้ทำงานอะไรก็ได้ ตามที่พวกเขาต้องการ พวกเขาอาจจะสร้างเครื่องที่ไม่รับนโปรแกรมที่ไม่ได้รับการรับรอง แต่พวกเขาต้องให้กุญแจสร้างข้อมูลรับรองเพื่อให้คุณสามารถรันเวอร์ชั่นของคุณเองได้ด้วย

[07m 46s]

พวกเขาต้องให้กุญแจเพื่อที่คุณจะอนุญาตซอฟต์แวร์ของคุณเอง อย่างน้อยก็ในเครื่องของคุณเอง

ในตอนนี้ ถ้าเครื่องแต่ละเครื่องมีกุญแจที่ไม่ซ้ำกันอยู่แล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องทำก็แค่ให้กุญแจรับรองสำหรับเครื่องของคุณเองกับคุณ  พวกเขาไม่ต้องเผยแพร่มัน หรือให้คนอื่นๆ พวกเขาอาจจะต้องสัญญากับคุณว่าพวกเขาจะไม่ให้กุญแจรับรองนี้กับคนอื่น แต่พวกเขาต้องให้มันกับคุณ

ทั้งหมดเพื่อรับรองว่าคุณจะได้รับสิทธิเสรีภาพในการแก้ไขดัดแปลงโปรแกรมของคุณจริงๆ โดยยังสามารถติดตั้งมันลงในเครื่องของคุณ แล้วยังสามารถทำงานเดิมบนข้อมูลเดิม หมายความว่าโปรแกรมที่ผ่านการแก้ไขต้องสามารถเข้าถึงไฟล์เดิมที่เวอร์ชั่นเดิมเคยเข้าถึงได้ และสามารถสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์เดิมที่เวอร์ชั่นเดิมสามารถใช้งานด้วยได้

ดังนั้นทุกอย่างที่โปรแกรมต้องการเพื่อที่จะสื่อสารกับเน็ตเวิร์คเซิร์ฟเวอร์ได้ พวกเขาต้องให้มันกับคุณด้วยเสมอ

[09m 04s]

ผู้ฟังในงาน:

แล้วนี่จะไม่ขัดขวางการที่ดิสทริบิวชั่นต่างๆ แจกจ่ายไบนารีที่ได้รับการรับรองหรือ?

ริชาร์ด สตอลแมน:

ไม่เลย เมื่อวัตถุประสงค์คือการพิสูจน์ว่านี่คือเวอร์ชั่นไบนารีของผู้แจกจ่ายเอง และไม่ได้ถูกดัดแปลงจากคนอื่น ในกรณีนี้มันต่างออกไป เพราะพวกเขาไมได้ให้เครื่องที่จะไม่รันโปรแกรมอื่นๆ นอกจากที่ได้รับการรับรองจากผู้ผลิต กรณีเช่นนี้ไม่ได้มีอันตรายใดๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการแจกจ่ายไบนารีหรือซอร์สโค้ดของโปรแกรมของคุณ และรับรองมันด้วยกุญแจของคุณเพื่อที่จะบอกว่านี่เป็นเวอร์ชั่นของคุณจริงๆ คุณสามารถทำเช่นนี้ได้อย่างอิสระ ผู้ใช้สามารถนำกุญแจสาธารณะของคุณมาตรวจสอบโค้ดได้

เหตุผลที่กรณีเช่นนี้ไม่ได้ถูกห้ามใน GPL เพราะว่าในกรณีนี้ ผู้ใช้มีสิทธิเลือกที่จะตรวจสอบถ้าเขาต้องการ ต่างจากกรณีที่เครื่องเป็นผู้ตรวจสอบ และไม่ยอมรันโปรแกรมที่ไม่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ถ้าผู้ผลิตต้องการให้เครื่องของพวกเขาปฎิเสธที่จะรันโปรแกรมที่ไม่ได้รับการรับรอง ผู้ผลิตต้องให้กุญแจรับรองแก่ลูกค้าของพวกเขาด้วยเสมอ แต่ในกรณีที่คุณแจกจ่ายไฟล์ไบนารี แล้วระบุว่าสามารถตรวจสอบได้ ถ้าผู้ใช้ต้องการ ในกรณีนี้ไม่ได้ขัดกับ GPL แต่อย่างใด ความต้องการของ GPLv3 คือคุณต้องให้ทุกอย่างที่จำเป็น เพื่อที่จะให้โค้ดที่ถูกดัดแปลงไปนั้นสามารถทำงานได้เช่นเดียวกับไบนารีปรกติทำ ถ้าเราสามารถทำให้ไบนารีที่ถูกดัดแปลงยังคงทำงานได้อยู่ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องให้กุญแจหรือสิ่งอื่นใด

[10m 54s]

การหาทางออกที่จะป้องกันซอฟต์แวร์ของเราจาก DRM โดยไม่จำกัดความสามารถด้านเทคนิคของโปรแกรมเป็นเรื่องที่เราทำมานานพอสมควร ดังนั้น แทนที่เราจะโจมตีความสามารถด้านเทคนิคของ DRM เราโจมตีสิ่งที่ทำให้ DRM กลายเป็นสิ่งชั่วร้าย คือการทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถควบคุม DRM ได้ เราจึงขัดขวาง DRM ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ใช้ต้องสามารถควบคุมเครื่องของเขาได้ทั้งหมด และตรวบใดที่คุณยังเคารพสิทธินั้นอยู่ คุณสามารถโปรแกรมให้ซอฟต์แวร์ของคุณทำงานอะไรก็ได้ตามที่คุณต้องการ

[back to top]

[ประเด็นสิทธิบัตรซอฟต์แวร์]

เรื่องที่สองคือการรับมือกับสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ เราเคยตัดสินใจว่าการอนญาตการใช้สิทธิบัตรที่เคยรวมอยู่ในตัวของ GPL อยู่แล้วสำหรับ GPLv2 นั้นไม่แข็งแกร่งเพียงพอ เราจึงเพิ่มส่วนของการอนุญาตใช้สิทธิบัตรลงไปในส่วนของการแจกจ่ายซอฟต์แวร์

[ริชาร์ดชี้ไปที่ผู้ฟังคนหนึ่ง] ถ้าเธอให้ซอฟต์แวร์คุณมาชุดหนึ่ง, เธอกำลังมอบสิทธิในการใช้สิทธิบัตรใดๆ ที่คุณต้องการเพื่อการใช้ซอฟต์แวร์และเอาสิ่งที่ได้จากซอฟต์แวร์ไปด้วยในตัว

ส่วนนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามไลเซนส์ซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ออกมาในช่วงยุค 90

[12m 39s]

สมมติว่าคนๆ หนึ่งกำลังเผยแพร่โปรแกรม โดยเขามีสิทธิใช้สิทธิบัตรที่จำเป็นในการใช้โปรแกรมนั้น เขารู้ว่าโปรแกรมนี้ต้องการสิทธิในการใช้สิทธิบัตรอยู่ แต่เพราะว่าเขามสิทธินั้นอยู่แล้วเขาจึงไม่ถูกฟ้อง แต่คุณอาจจะถูกฟ้องได้หากคุณเผยแพร่โปรแกรมนี้ต่อ กรณีอย่างนี้ไม่ยุติธรรม, เราจึงเพิ่มเติมส่วนเงื่อนไขที่ระบุว่าหากผู้เผยแพร่รู้ว่าโปรแกรมต้องใช้สิทธิบัตรใด เขาต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ความมั่นในใจกับผู้เผยแพร่ต่อๆ ไปที่จะใช้สิทธิตามแบบ GPL ได้อย่างปลอดภันด้วยเช่นกัน ส่วนนี้เป็นส่วนของที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์

เมื่อมาคนแจกจ่ายโปรแกรมมาให้คุณแล้วบอกคุณว่า "โปรแกรมนี้อยู่ใต้ GPL คุณมีอิสระที่จะเผยแพร่มันต่อไปได้" โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้นเขารู้อยู่แก่ใจว่าเมื่อคุณแจกจ่ายมัน คุณจะถูกฟ้อง แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่ถูกฟ้องเองก็ตาม กรณีเช่นนี้คือการไม่ซื่อสัตย์ เราจึงกำหนดให้ผู้เผยแพร่คนแรกต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าคนต่อๆ ไปจะไม่ถูกฟ้องหากเขารู้ว่าซอฟต์แวร์ต้องพึ่งไลเซนส์สิทธิบัตร

ในอีกมุมหนึ่ง,ถ้าเขาจะลองเสี่ยงดูแล้ว, เขาอาจจะไม่ทำอะไรพิเศษเลยก็ได้ [skip] นั่นคือสิ่งที่เราขอได้มากที่สุดแล้ว

[14m 04s]

ประเด็นนี้ซับซ้อนเพราะมีกรณีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ถือสิทธิบัตรจำนวนมากร่วมกัน บริษัทขนาดใหญ่สองแห่งอาจตกลงกันว่า "เราจะให้ใบอนญาตสิทธิบัตรทั้งหมดของเราแก่กันและกัน" โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่าพวกเขาได้รับใบอนุญาตอะไรมาบ้าง นี่คือเหตุผลที่เราต้องใส่วลี "ขึ้นกับเท่าที่ทราบ", เพราะเราไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขในเรื่องนี้, ยกตัวอย่างไอบีเอ็มที่อาจจะไม่สามารถทำอะไรให้ใครได้ เพราะไอบีเอ็มเองก็ไม่รู้ว่าตนเองมีใบอนุญาตสำหรับสิทธิบัตรในเรื่องนั้นหรือไม่ เราจึงใส่วลีที่ระบุว่า "ขึ้นกับเท่าที่ทราบ" เรื่องนี้ทำให้เกิดข้อโต้แย้งว่าเส้นแบ่งอยู่ที่ตรงไหน แต่การเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ ที่จริงแล้วก็เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเท่านั้น

[back to top]

[ประเด็นความเข้ากันได้ของไลเซนส์]

การเปลี่ยนแปลงหลักอีกอันหนึ่ง คือเราติดสินใจให้ GPLv3 เข้ากันได้กับไลเซนส์ซอฟต์แวร์เสรีอื่นๆ ที่เคยไม่เข้ากับ GPLv2 เพิ่มเติมขึ้น ความไม่เข้ากันนี้สร้างความลำบากหลายๆ ประการในการใช้งาน และเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะได้แก้ไขมัน เราไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ทั้งหมด เพราะนั่นอาจจะหมายถึงการทิ้งแนวคิดหลักของ GPL เอง GPL มีข้อกำหนดให้ผู้ใช้ต้องรักษาอิสระภาพเอาไว้ และเราใส่เงื่อนไขที่หลากหลายเข้าไปทั้งหมดไม่ได้ เราจึงต้องเลือกเฉพาะเงื่อนไขบางอย่างที่เหมาะสม เพื่อไลเซนส์สามารถเพิ่มเงื่อนไขเหล่านั้นเข้าไปได้

[16m 11s]

ยกตัวอย่างเช่นอาจจะมีเงื่อนไขระบุในเรื่องของการแจ้งการเปลี่ยนแปลงของโปรแกรม หรือการให้เครดิตแบบใดบ้าง หรืออาจจะมีการระบุว่า "คุณต้องไม่ใช้ชื่อของเราในการโฆษณา" และยังมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่น่าสนใจที่อาจจะนำมาใช้ได้ในไลเซนส์ที่เข้ากันได้กับ GPL

ยกตัวอย่างหนึ่งคือ Affero GPL ระบุว่า "ถ้าคุณรันโปรแกรมนี้ในให้เข้าถึงได้จากภายนอก, คุณต้องให้มีคำสั่งในการดาวน์โหลดซอร์สโค้ดไว้ด้วย ดังนั้น Affero GPL นั้นแท้จริงแล้วคือ GPLv2 ที่เพิ่มเงื่อนไขเข้าไว้อีกประการคือถ้าคุณนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่เข้าถึงได้จากภายนอก, คุณต้องให้มีคำสั่งที่จะดาวน์โหลดซอร์สโค้ดของโปรแกรมที่คุณใช้ในตอนนั้นด้วยเสมอ ขณะที่เรากำลังคิดว่าจะใส่เงื่อนไขนี้ไว้ใน GPLv3 พร้อมๆ กับที่ผู้ใช้สามารถใส่เงื่อนไขนี้แยกไว้ได้ ผมก็ตัดสินใจว่าน่าจะดีกว่าถ้าเราให้เงื่อนไขเหล่านี้เข้ากันได้กับ GPL และเราเพียงแต่ใส่ไลเซนส์พวกนี้ไว้ในไฟล์ของเราในตอนเขียนโปรแกรม ดังนั้น GPLv3 จึงไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเหล่านี้ลงไป แต่จะเข้ากันได้กับไลเซนส์ที่มีเงือนไขเหล่านี้

[17m 52s]

มีเงื่อนไขอีกข้อหนึ่งที่เข้ากันได้กับ GPLv3 คือการโต้ตอบสิทธิบัตร มีไลเซนส์ซอฟต์แวร์เสรีอยู่หลายฉบับที่ระบุว่าถ้าคุณฟ้องผู้ที่ใช้โปรแกรมที่อยู่ใต้ไลเซนส์นั้น คุณจะเสียสิทธิในการใช้และเผยแพร่โปรแกรมนั้นทันที รายละเอียดในแต่ละไลเซนส์อาจจะต่างกันไป เพราะแต่ละไลเซนส์จะมีวิธีการที่ต่างกัน เราจึงตั้งบรรทัดฐานสำหรับการโต้ตอบสิทธิบัตร และให้เงื่อนไขเหล่านั้นเข้ากันได้กับ GPLv3 ดังนั้นไลเซนส์ที่มีเนื้อหาการโต้ตอบสิทธิบัตรซอฟต์แวร์อาจจะเข้ากันได้กับ GPLv3 แต่ต้องเป็นไปในแบบที่เราระบุไว้เท่านั้น

เงื่อนไขที่เรายอมรับได้มีสองแบบ อย่างแรกคือการโต้ตอบต่อการเปิดฉากการฟ้องร้อง ยกตัวอย่างคือถ้าหน่วยงาน ก. ฟ้องหน่วยงาน ข. ว่าละเมิดสิทธิบัตร, สิ่งที่หน่วยงาน ข. มักจะทำคือการหาทางฟ้องกลับ ถ้าหน่วยงาน ข. ถือสิทธิบัตรซอฟต์แวร์อยู่ หน่วยงาน ข. ก็จะหาทางฟ้องกลับด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตรเหมือนกัน เราตัดสินใจว่าเราต้องการจะโต้ตอบการใช้สิทธิบัตรเฉพาะกับหน่วยงาน ก. เท่านั้น โดยไม่โต้ตอบการใช้สิทธิบัตรของหน่วยงาน ข. เราต้องการโต้ตอบเฉพาะผู้ที่เริ่มเปิดฉากเท่านั้น ไม่ใช่กับผู้ที่กำลังโต้ตอบคนอื่นอยู่ ในส่วนนี้เราจึงมีวิธีการแยกทั้งสองออกจากกัน

[19m 57s]

อีกรูปแบบหนึ่งของการโต้ตอบสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ที่เรายอมรับคือ การโต้ตอบเฉพาะการฟ้องร้องที่มุ่งมายังโค้ดเดียวกัน หรือโค้ดที่ถูกเผยแพร่ออกมาพร้อมกัน มันหมายถึงการตอบโต้อาจจะเป็นการโต้ตอบไปยังการฟ้องร้องที่มุ่งเป้าไปยังโปรแกรมที่ใกล้ชิดกัน

[20m 26s]

[back to top]

[ประเด็นไฟล์ไลเซนส์]

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้ดูยุ่งยาก เพราะมันหมายถึงโปรแกรมที่อยู่ใต้ GPL อาจจะมีบางส่วนที่อยู่ใต้เงื่อนไขที่มาจากไลเซนส์อื่น เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ในโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง เราระบุว่าไฟล์ไลเซนส์ทั้งหมดต้องอยู่ในที่เดียวกันเพื่อให้หาได้ง่าย ...ผมคิดว่ามันอาจจะระบุด้วยว่าไฟล์ไลเซนส์ทั้งหมดต้องอยู่ในที่เดียวกันด้วย แต่ผมยังไม่แน่ใจในรายละเอียดส่วนนี้ แต่ผลสุดท้ายแล้ว เมื่อคุณดูในโปรแกรมที่เป็น GPLv3 คุณจะสามารถเห็นไลเซนส์อื่นๆ ที่ถูกใช้ได้โดยง่าย

แต่การใช้ไลเซนส์เพิ่มเติมเหล่านี้ก็มีข้อจำกัด มันจะไม่ได้สิทธิขาดในการสร้างเงื่อนไขใดๆ มันอาจจะเพิ่มสิทธิให้กับผู้ใช้ตามที่มันต้องการ แต่การสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมนั้นจะทำได้เพียงเท่าที่มีรายการอนุญาตเพียงห้าถึงหกรายการตามที่ผมได้เล่าไปแล้ว

[21m 45s]

[back to top]

[ประเด็นนิยามของ "ไลบรารีระบบ"]

อีกเรื่องหนึ่งที่เรากำลังทำกันอยู่คือการหานิยามของวลี "ซอร์สโค้ดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด" ว่าจะรวมถึงอะไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงบางส่วนเป็นการเปลี่ยนความนัยในวลีที่เกี่ยวกับไลบรารีระบบ มีวลีระบุว่าคุณสามารถเผยแพร่ไบนารีของโปรแกรมบนใช้บนระบบที่ไม่ใช่ระบบเสรี และให้โปรแกรมนั้นลิงก์เข้ากับไลบราลีระบบที่ไม่ใช่ไลบรารีเสรี เป็นข้อยกเว้นพิเศษ

เราได้เขียนส่วนนี้เสียใหม่ เพื่อให้เข้ากับการทำงานของระบบใหม่ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน ก็เพิ่มข้อจำกัดเข้ามา เพื่อป้องกันช่องโหว่ที่พวกเขาต้องการขยายความสามารถของโปรแกรมอย่าง Emacs, ด้วยส่วนขยายที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี คนพวกนี้จึงพยายามเขียนไลบรารีพิเศษแล้วรวมเข้าไว้เป็นไลบรารีระบบ, เพื่อให้พวกเขาสามารถเผยแพร่ไบนารีของ Emacs ที่มีความสามารถพิเศษ โดยสามารถบอกได้ว่า "ส่วนนั้นเป็นไลบรารีระบบ" เรากำลังสร้างความมั่นใจว่าเรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้น

[22m 55s]

[เวลาว่าง 29 วินาทีที่สตอลแมนเดินไปมา]

อย่างไรก็ตาม GPLv3 จะสรุปได้ทั้งหมดภายในเดือนตุลาคม หรือต้นปีหน้า ดังนั้นจึงมีเวลามากพอสำหรับการให้ความเห็น, แต่อย่ารอนานเกินไป เพราะเรากำลังจะฉบับร่างใหม่ในเดือนกรกฎาคมนี้, ผมเชื่อว่าถ้าคุณต้องการให้ความเห็นของคุณมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงในแบบร่างต่อไป มันจะเป็นเรื่องที่ดีมากถ้าคุณมาความเห็นที่ดี โปรดเข้าไปที่ gplv3.fsf.org และให้ความเห็นของคุณ ศึกษาฉบับร่าง, อ่านคำอธิบาย, แล้วลองดูว่าคุณพบเหตุการณ์ในกรณีใดบ้างที่เอกสารนี้อาจจะผิดพลาด แล้วให้คำแนะนำกับเรา

ต่อจากนี้เป็นการถามคำถาม...

[24m 16s]