บทความที่ใช้ในการทดสอบนี้ นำมาจาก เว็บ Biolawcom.de ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานที่ต้องแสดงที่มา และต้องไม่ใช่เพื่อการแสวงหาประโยชน์ในทางธุรกิจ
ฮุบล่า..ได้เวลาศึกษาหาความรู้เรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากอ่านแต่ข่าวรัฐประหารกันซักทีครับ ผมเงื้อง่าราคา (ไม่) แพง มานานแล้ว ว่าจะเขียนเรื่องนี้แต่ก็ไม่สบโอกาสสักที จนเมื่อวานได้อ่านข่าว ไทยติดอันดับ 5 ของโลก เผยแพร่ภาพลามกอนาจารเด็ก ก็เลยนั่งไม่ติด มือไม้สั่น ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะไม่อยากจะบอกเลยว่า ผมติดตามภาพลามกเด็ก เอ้ย แง่มุมกฎหมายที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพลามกเด็ก บนอินเทอร์เน็ตมานานแล้ว เพราะถือเป็นอาชญากรรมอินเทอร์เน็ตประเภท "เนื้อหาเป็นความผิด" ที่แพร่หลายมากที่สุด ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ในโลกให้ความสำคัญ และพยายามปราบปรามกันอย่างหนักหน่วง มีความร่วมมือ ระหว่างประเทศมากมายถูกจัดตั้งขึ้น ทั้งในรูปแบบ สนธิสัญญา องค์กร คณะกรรมการ และอื่น ๆ จิปาถะ วันนี้มีโอกาสขอเขียนเล่าซะเลย ในข่าวรายงานว่า จากผลการสำรวจของสถาบันจัดลำดับอินเทอร์เน็ตที่รู้จักกันในชื่อ IWF หรือ Internet Watch Foundation พบว่า ประเทศที่มีการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารเด็ก และสตรีมากที่สุด คือ... กฏหมาย กฏหมาย เชกูวารา เชกูวารา อันดับ 1 คือ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 51.1 รองลงมาคือ ประเทศรัสเซีย คิดเป็นร้อยละ 14.9 ญี่ปุ่น ร้อยละ 11.7 สเปน ร้อยละ 8.8 แล ะอันดับที่ 5 ประเทศไทย ร้อยละ 3.6 โดยในบางเว็บไซต์มีการประกาศขายบริการเด็กไทยไปต่างประเทศด้วย และเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ มีทั้งเด็กผู้ชาย และผู้หญิงอายุระหว่าง 10-13 ปี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลของประเทศไทยเอง มารายงานด้วยว่า ด้านการรวบรวมการรับแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2545 จนถึงปัจจุบันพบว่า เว็บไซต์ลามกอนาจารภาษาไทย ได้รับแจ้ง จำนวน 11,681 ราย เว็บไซต์ลามกอนาจารภาษาต่างประเทศ 7,273 ราย เว็บไซต์ ภาพเด็กและเยาวชนลามก 1,592 ราย และ เว็บไซต์ขายวัตถุลามก ภาษาไทย 4,051 ราย เว็บไซต์ขายวัตถุลามกภาษา ต่างประเทศ 500 ราย และ เว็บขายบริการทางเพศ 860 ราย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะคุยกันในรายละเอียด และหาสาเหตุว่าทำไม ประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทย ถึงได้รับ "เกลียด" ในเรื่องนี้ ติดตั้งอันดับ 5 ของโลก ควรต้องบอกก่อนว่า ณ วันนี้ ผมเองก็ยังไม่ได้เข้าไปหารายละเอียด เพิ่มเติมนะครับว่า ไอ้เจ้าสถาบันอินเทอร์เน็ตที่ทำการสำรวจนั่น ใช้เกณฑ์อะไรบ้างในการสำรวจ มีเงื่อนไข และตัวแปรอะไรในการทำวิจัย หรือว่า เก็บรวบรวมเอาจากสถิติที่แต่ละประเทศเค้าเก็บ และรายงานกันเอาไว้ แต่มีข้อสังเกตนิดหน่อย คือ ในรายงานใช้คำว่า ภาพลามกอนาจารเด็กและสตรี ไม่ใช่ ภาพเด็ก หรือ เด็กและเยาวชน นะครับ ในขณะที่ กฎหมายของหลายประเทศ ทั้งที่ติดอันดับ (ไม่รวมไทย) และไม่ติดอันดับ (เท่าที่อยู่ในข่าว) ไม่ได้ถือว่า การเผยแพร่ภาพลามกสตรี (ผู้ใหญ่) โดยทั่ว ๆ ไป ที่ไม่ได้อยู่ในข่าย "เด็ก" แล้ว เป็นความผิด image ส่วนสถิติที่เก็บในประเทศไทย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นั่น ก็ยังจัดแบ่งกลุ่มกันแบบ มั่ว ๆ ซ้อน ๆ เช่น อ่านแล้ว เราไม่อาจรู้ได้นะครับว่า เว็บไซท์ ภาพลามกเด็ก และเยาวชน จำนวนพันกว่าเว็บ มันแยกหรือ รวมอยู่ในสถิติ เว็็บไซท์ลามกภาษาไทย ที่มีแจ้งเข้ามาตั้งหมื่นกว่าชื่อ (อ้อ...ขอติง สถิติไทย (หรือคนเขียนข่าวก็ไม่ทราบได้) หน่อยหนึ่ง เพราะ ไม่ควรเอาคำว่า "ลามก" ไปต่อท้าย คำว่า เด็กและเยาวชน กลายเป็น "ภาพเด็กและเยาวชนลามก" นะครับ ที่ถูกต้อง ควรไว้ ข้างหน้า เพราะไม่งั้น มันจะตีความไปได้ว่า เป็นเว็บไซท์ที่ แสดงภาพของ ไอ้เด็กและเยาวชน ที่มันลามกจกเปรต ซึ่งมีความหมายต่างกันแยะ กับ ภาพลามกของเด็กและเยาวชน ที่โดน ผู้ใหญ่จกเปรต จับมาใส่ในเว็บ) image ข้อสังเกตอีกประการ คือ ผมเข้าใจว่า ประเทศไทยจัดให้เว็บไซท์เสนอขายวัตถุ เพื่อการทำอะไรบางอย่าง เป็น "เว็บไซท์ลามก" ที่ผิดกฎหมายด้วย (ตามกฎหมายอาญาปัจจุบัน) ซึ่งในความเป็นจริง หลาย ๆ ประเทศอีกเหมือนกัน ที่ไม่ได้ถือว่า เว็บไซท์ขาย ของ หรือ "วัตถุ" ที่ขายเพื่อการไป "ทำลามก หรือไม่ก็ตาม" อีกที (เช่น เจ้าหนูช่วยตัวเอง เครื่องหรือยาเพิ่มขนาด อุปกรณ์เพิ่มความหรรษาในการมีเพศสัมพันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ) เป็นเว็บประเภทเดียวกับ "เว็บไซท์ภาพลามก" ที่สามารถดู และมีความหมายในเชิงลามกได้เลย โดยยังไม่ต้องทำอะไรต่อ ดังนั้นสถิติเรื่องนี้ของแต่ละประเทศ จึงไม่เหมือนกันแน่ ๆ เลยแนะนำว่า อย่าพึ่งเชื่อตัวเลขในเนื้อข่าวมากนัก (แต่ผมไม่ได้ว่าข่าวมั่ว นะครับ แต่ ผมมองว่า ตัวเลขที่ถูกนำเสนอจากแหล่งข่าวออกจะคลุมเคลือไปหน่อย จนวัดอะไรแทบไม่ได้เลย ว่างั้น) อนึ่ง บล็อกนี้ ผมขอข้ามประเด็นว่าอะไร คือ "ภาพ หรือสิ่งลามกอนาจาร" ไปนะครับ เพราะไม่งั้น จะยาวเหยียดเกินไป เนื่องจาก จนถึงปัจจุบันก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ ทั้งระดับภายในประเทศ และ ระหว่างประเทศ ว่ามันควรจะหมายถึงอะไรกันแน่ ดังนั้น ณ ตรงนี้ ผมขอฟันธงไปก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน และทำความเข้าใจในประเด็นต่อ ๆ ไปว่า คำว่า ภาพลามกอนาจาร (ตามที่ผมเคยรวบรวมความคิดเห็นของ นักวิชาการ นักกฎหมาย คำพิพากษา และอื่น ๆ แล้วมาสรุปไว้เอง) หมายถึง ภาพใด ๆ ที่ถูกทำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพคนเดียว หรือ หลายคน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อน้อมนำจิตใจของบุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็น ให้มีความรู้สึกไปในทาง อุจจาดบัดสี น่ารังเกียจ เกิดกำหนัด หรือ ยั่วยุกามารมณ์ มีลักษณะเพื่อกระตุ้นความรู้สึกในทางเพศ โดยมิได้มุ่งหวัง คุณค่าทางศิลปะ ความงาม ความรู้ทางการแพทย์ หรือวิทยาการในแขนงใด ๆ เลย อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกต่าง ๆ ดังกล่าว ควรเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีศีลธรรม และยึดถือจารีตประเพณีในระดับบุคคลธรรมดาทั่วไป และมีความรู้ และความเข้าใจในเรื่องศิลปะ และความงาม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกด้วย และต่อจากนี้ เมื่อผมพูดถึง ภาพลามกเด็ก ก็ขอให้นึกถึงความหมายนี้ แต่เป็นกรณีที่ผู้แสดงในภาพยังเป็นเด็ก และเยาวชน นะครับ นอกจากนี้ กฎหมายบางประเทศ ยังให้หมายรวมถึง เสียงในกิจกรรมทางเพศของเด็กและเยาวชน, ภาพของผู้ที่ไม่ถือเป็นเด็กและเยาวชนแล้วตามกฎหมาย แต่ตั้งใจแต่งกาย เพื่อแสดงให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นภาพลามกของเด็กและเยาวชน รวมทั้งเดี๋ยวนี้ ก็อาจหมายถึง ภาพแอนนิเมชั่น หรือ การ์ตูนลามกเด็ก ต่าง ๆ ด้วย (แต่ ปล. ไว้ก่อนว่า รูปเด็กน้อยทั้งหลายที่ผมเอามาใส่ประกอบนั่น ไม่อยู่ในข่ายภาพลามกอนาจาร เลยนะครับ) image สิ่งที่ควรต้องรู้อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ แล้วอายุเท่าไหร่หรือ ที่กฎหมายถือว่าเป็น เด็กและเยาวชน ที่อยู่ในข่ายที่ควรได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษ ? ซึ่งกรณีนี้ มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เนื่องจาก วัฒนธรรม ระบบกฎหมาย และปรัชญาการให้ความคุ้มครอง ที่แตกต่างกัน Cybercrime-Convention หรือ สนธิสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมอินเตอร์เน็ต ที่ออกโดยคณะมนตรีร่วมยุโรป (Europarat) ซึ่งถือเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับแรก ที่เกี่ยวกับอาชญากรรมเครือข่าย และมีผลใช้บังคับไปแล้วตั้งแต่ กุมภาพันธ์ปี 2004 กำหนดไว้ใน มาตรา 9 ให้ประเทศสมาชิก (และไม่สมาชิก) ที่ลงนาม และให้สัตยาบันแล้ว กำหนด หรือ ปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศ ให้ การผลิต เสนอช่องทางเข้าถึง เผยแพร่ ส่งต่อ รวมทั้ง การสืบค้น และครอบครอง ภาพลามกเด็ก เป็นความผิด โดยในอนุมาตรา (3) กำหนดว่า เด็ก และเยาวชน ตามสนธิสัญญนี้ หมายถึงบุคคลที่ อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือบางประเทศอาจจะกำหนดที่ อายุต่ำกว่า 16 ปี ก็ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ อายุเด็กและเยาวชน (ต่ำกว่า 18 ปี) ที่กำหนด คุ้มครองไว้ใน มาตรา 1 a) ของ กรอบความร่วมมือที่ว่า ด้วย การป้องกัน และปราบกรามการกระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก และ ภาพลามกอนาจารเด็ก (Framework decision on combating the sexual exploitation of children and child pornography) ของสหภาพยุโรป (European Union) กฎหมายคุ้มครองเด็กในเรื่องภาพลามกของอเมริกา ให้ความคุ้มครองคน อายุต่ำกว่า 16 ปี ใน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพึ่งบัญญัติคุ้มครองเด็กและเยาวชนไว้โดยเฉพาะ เมื่อไม่นานมานี้เอง คือ ปี 1998 คุ้มครองที่ อายุต่ำกว่า 18 ปี ในขณะที่หลายประเทศในยุโรป อาทิ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ต่างให้ความคุ้มครองเรื่องนี้กับเด็ก อายุต่ำกว่า 16 ปี กฎหมายอาญาเยอรมัน และออสเตรีย กลับ คุ้มครองที่ อายุต่ำกว่า 14 ปี เท่านั้น (ตอนนี้กำลังเถียงกันอยู่ว่า จะปรับเปลี่ยน ดีหรือไม่ ?) image คำถามก็คือ เรื่องนี้ ประเทศไทยมีบทคุ้มครองเด็กไทย ไว้ที่อายุเท่าไหร่กันจ๊ะ ? ขอตอบแบบไม่อายเลยครับว่า กฎหมายไทยเท่าที่มีใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายทั่วไป อย่างกฎหมายอาญา กฎหมายเฉพาะ อาทิ พระราชบัญญัติปรามการทำให้แพร่หลายและการค้าวัตถุอันลามก, พระราชบัญญัติสิ่งพิมพ์ รวมทั้ง พระราชบัญญัติควบคุมสื่ออื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เทป ฯลฯ ไม่มีบทบัญญัติ หรือมาตราใดเลย ที่กำหนดให้ความคุ้มครองเด็ก และเยาวชนเป็น "พิเศษ" ในเรื่องการเผยแพร่ "ภาพหรือสิ่งลามก" ครับ ! สาเหตุก็เพราะ ตามกฎหมายไทยเรา กำหนดห้ามการเผยแพร่ ภาพ หรือสิ่งลามกอนาจาร ทั้งหมด ทั้งปวง ไม่ว่าภาพนั้นจะเป็นภาพของ เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ แม้กระทั่ง วัยชราภาพ เรียกว่า มีความผิดเสมอหน้ากันหมด โดยในที่นี้ ขอยก มาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาให้อ่านเท่านั้นก่อน เพราะถือเป็นมาตราหลักที่มีวัตถุประสงค์ควบคุมสิ่งลามกอนาจารไม่ให้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณชน เนื่องจากเห็นว่า จะก่อผลเสียต่อสังคมโดยรวม และกระทบต่อจารีตประเพณี และศีลธรรมอันดีงาม มาตรา 287 ผู้ใด (1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า หรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไป หรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือสิ่งอื่นใดอันลามก (2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจ่ายแจก หรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุหรือสิ่งของเช่นว่านั้น (3) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว โฆษณาหรือไขข่าว โดยประการใด ๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณาหรือไขข่าวว่า วัตถุ หรือสิ่งของ ลามกดังกล่าวแล้ว จะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น กฎหมายของเราจึงค่อนข้างแตกต่างกับประเทศอื่น ๆ ในเรื่องนี้ ...คำถามต่อมาก็เลยมีว่า แล้วการไม่มีบทคุ้มครองเด็ก และเยาวชนในเรื่องนี้ไว้เป็นพิเศษ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ต่อการป้องกัน และปราบปราม ภาพลามกเด็ก และเยาวชน บนอินเทอร์เน็ตที่เกลื่อนเกลอในปัจจุบัน ? ..แต่อันนี้เดี๋ยวผมจะค่อย ๆ สาธยาย ให้ฟังอีกทีครับ อย่างไรก็ตาม ใน ร่างพระราชบัญญัติความผิดที่เกียวกับคอมพิวเตอร์ ฯ (ที่ร่างกันมาเกือบจะ 8 ปีแล้ว แต่ไม่ออกเป็นกฎหมายสักที...ไม่ง่ายเหมือน ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 แฮะ) เราพบ ข้อกำหนดให้ความคุ้มครองเด็ก และเยาวชน ในเรื่องนี้แล้วครับ ดังที่กำหนดไว้ใน มาตรา 13 วรรคสอง ประกอบ (4) (5) มาตรา 13 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้ ...(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันมีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่ หรือ ส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) และ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ถ้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามก ตาม (4) เป็นภาพของบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปี ถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ. จึงย่อมเท่ากับว่า ถ้าประเทศไทยประสงค์จะคุ้มครองในเรื่องนี้ต่อเด็กเมื่อไหร่ ก็หมายถึง เด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ครับ...แต่แม้กระนั้นก็ตาม จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การคุ้มครองเด็กและเยาวชนของเรา ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุม , ยังผูกติดแนวคิดเดิม ๆ ในมาตรา 287 ป. อาญา และยังแตกต่างจากมาตรฐานในการคุ้มครองเด็กของประเทศอื่น ๆ อยู่อย่างสำคัญทีเดียว อาทิเช่น สิ่งที่แสดงว่า เราคุ้มครองเด็กเพิ่มขึ้นมีแค่ "โทษที่เพิ่มให้หนักขึ้น" หากภาพที่นำมาเผยแพร่เป็นภาพเด็กเท่านั้น ไม่มีบทกำหนดความผิดต่อการมีภาพลามกเด็กไว้ในครอบครอง และไม่มีมาตรการควบคุม หรือเอาผิดเป็นพิเศษ กับคนที่นำภาพลามกมาเผยแพร่โดยไม่จำกัดอายุผู้ดู ปล่อยให้ "เด็กและเยาวชน" เข้าถึงสิ่งลามกทั้งหลายได้โดยง่าย ทั้งนี้ก็เพราะ กฎหมายฉบับนี้ ยังคงมองเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องควบคุม (ไม่ใช่คุ้มครอง) การเข้าถึงโดยรวม ต่อ "ประชาชนทั่วไป" อยู่ (อ้อ..คำเตือนพิเศษ หากกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อไหร่ล่ะก็ มหาชนคนเล่นเน็ท ที่ชอบฟอร์เวิร์ด ภาพโป๊ ลามกจกเปรต ทั้งหลาย ส่งต่อ ปันกันชมไปยังเพื่อนฝูง ระวังมาตรา 13 (5) นี้ให้ดี เพราะคุณอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี แหนะ !!) ความรู้เพิ่มเติม ในประเด็นความผิดเกี่ยวกับเพศ ทั่ว ๆ ไป อย่างการ เป็นธุระ จัดหา ล่อไป หรือ พาไปเพื่อการทำลามกอนาจาร (ที่ไม่ใช่ประเด็นความผิดในเรื่อง เผยแพร่ หรือ ครอบครอง "ภาพลามก" ...อย่าสับสนนะครับ) กฎหมายไทยเรา มีบทบัญญัติ คุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นพิเศษอยู่แล้ว ตามที่กำหนดไว้ ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279, 282, 283 และ 283 ทวิ โดยการกระทำความผิดต่าง ๆ ตามมาตรดังกล่าวต่อเด็กหรือเยาวชน ที่อายุยังไม่เกิน 15 หรือ 18 ปี แล้วแต่กรณี บุคคลนั้นต้องรับโทษเสมอ ไม่ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นจะยินยอม หรือไม่ก็ตาม จะว่าไป ไอ้เจ้าภาพลามกทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ทั้งหลายแหล่นี่ เริ่มถูกนำมาเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่เกิดอินเทอร์เน็ตแล้วล่ะครับ ไม่ใช่พึ่งเกิด แต่นัยว่า ในสมัยก่อน ที่การแสดงผลบนอินเทอร์เน็ตยังเป็นตัวหนังสือ และข้อความแบบเท็กโหมด (Text Mode) อยู่ ประกอบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ยังอยู่่ในขอบเขต จำกัด การเผยแพร่ ่เลยยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง หรือส่งผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมต่อสังคมนัก จนรัฐต้องเข้าไปควบคุม แต่นับจากปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ที่ระบบกราฟิกบนอินเทอร์เน็ต (Graphic Mode) เริ่มเกิดขึ้น ได้รับการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพสามารถแสดงผลแบบมัลติมีเดีย ที่มีความละเอียดสูง การเผยแพร่ภาพลามก จึงเริ่มแพร่หลาย และโจ่งแจ้งมากขึ้น จน เขาว่ากันว่า “เรื่องราวแห่งเซ็กส์” นี่เองครับ ที่เป็นแรงผลักดันสำคัญให้อินเทอร์เน็ตเติบโตแบบก้าวกระโดด ในยุคส มัยต่อ ๆ มา เคยมีการสำรวจพบว่า ไม่ว่าจะเป็นบริการเว็บไซด์ธรรมดา โอนย้ายไฟล์ข้อมูลข่าวสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล) กระดานข่าว หรือในการสนทนา ล้วนแล้วแต่มีเรื่องลามกอนาจาร เข้ามาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้น image และเนื่องจากอินเทอร์เน็ต กลายเป็นสื่อที่ง่ายต่อการเข้าถึงของเด็กและเยาวชน ผลร้ายต่อเด็กและเยาวชนจึงเริ่มก่อตัว มีการล่อลวงเด็กผ่านอินเทอร์เน็ต คนที่มีพฤติกรรมชอบเล่นเด็กมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จนนำไปสู่การละเมิดสิทธิเด็กเพิ่มขึ้น ในระยะหลัง ๆ ที่ผ่านมา หลายประเทศจึงเห็นความจำเป็น ต้องรีบเข้าควบคุมการเผยแพร่ภาพลามกอานาจาร ด้วยการสั่งห้ามบ้าง จำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตบ้าง รวมทั้งหาทางดำเนินคดีกับผู้นำภาพลามกมาเผยแพร่ด้วย แหม..แต่ก็อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้กันล่ะครับว่า อินเทอร์เน็ตเป็น เครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) ที่ประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลายล้านเครือข่ายทั่วโลก การบริการและข้อมูลจึงมีมหาศาล ดังนั้น การที่รัฐใดรัฐหนึ่งเพียงลำพัง จะเข้าไปควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมดจึงเป็นไปไม่ได้เลย ... แตกต่างจากการควบคุมสื่อดั้งเดิมประเภทอื่น ๆ ที่เป็นภาพ ข้อมูล หรือวัตถุที่มองเห็น และจับต้องได้ ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากกว ่าโทษ ดังนั้นการจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ต จึงย่อมเกิดกระแสการต่อต้านจากประชาชน และสังคมโดยทั่วไป เป็นธรรมดา ดังนั้น นอกจาก รัฐต้องพยายามทำให้ประชาคม และประชาชนทั่วไป เห็นความร้ายแรง และผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยให้การ แพร่ภาพดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างเสรีแล้ว หลาย ๆ ประเทศ ยังพยายาม จำแนกประเภท ของบริการที่จำเป็นต้องควบคุม ออกจากบริการที่ควรปล่อยให้เป็นเสรีภาพของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ให้ชัดเจ น ทั้งนี้เพื่อลดกระแสการต่อต้านที่อาจเกิดขึ้น ด้วย แนวคิดเรื่องสื่อลามกเด็กบนอินเทอร์เน็ต ถูกพูดถึงในระดับโลกครั้งแรก ในการประชุมระดับนานาชาติเรื่องการกระทำทาร ุณทางเพศต่อเด็กที่กรุงสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน ราวเดือนสิงหาคม ปี 2539 มีรัฐบาลรวม 122 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ร่วมลงนามยอมรับ Agenda for Action ตกลงกันที่จะ พัฒนา ปรับปรุง และบังคับใช้กฎหมายในประเทศ เพื่อสร้างความรับผิดชอบทางอาญาให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ลูกค้า และผู้เป็นสื่อกลาง ในเรื่องของ สื่อลามกเด็ก รวมทั้งการ มีสื่อลามกเด็กไว้ในครอบครอง ด้วย image จากนั้น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (U.N, Convention on the Rights of Child) ซึ่งประเทศทั่วโลก (ยกเว้นโซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา) ลงนาม และให้สัตยาบัน ก็ มีบทคุ้มครองเด็กในเรื่องดังกล่าวกำหนดไว้โดยเฉพาะใน มาตรา 34 รัฐต่าง ๆ ทั่วโลก จะต้องหามาตรการที่เหมาะสมทั้งในระดับชาติ และระหว่างชาติในการป้องกันการหาประโยชน์อันมิชอบจากเด็กในการถูกใช้เป็นวัตถุแสดงภาพสื่อลามก และปัจจุบันดังกล่าวไปแล้วแต่ต้น ๆ ครับว่า กลุ่มประเทศในยุโรป ก็มีมาตราทางกฎหมาย และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองเด็ก และเยาวชนในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ออกมาอีกมากมาย อาทิ สนธิสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมอินเทอร์เน็ต หรือ กรอบความร่วมมือสหภาพยุโรป เป็นต้น image อนึ่ง เนื่องจาก ภัยอันตรายจากการแพร่ภาพลามกอนาจารเด็กบนอินเทอร์เน็ต มิได้จำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะในสังคมอินเทอร์เน็ตเท่า นั้น เพราะหากพิจารณาให้ดี ๆ จะพบว่า การกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งภาพลามกเด็ก ย่อมแฝงไว้ด้วยการกระทำความผิดทางเพศ หรือ กระทำทารุณกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ต่อเด็กและเยาวชนในโลกแห่งความเป็นจริงด้วย อีกทั้ง ภาพลามกอนาจารเหล่านี้ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นความรู้สึกของผู้ใช ้บริการอินเทอร์เน็ต ให้ลงมือกระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก หรือเยาวชนในโลกแห่งความจริงเพิ่มมากขึ้นอีก (เคยมีการวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า เมื่อมีการเผยแพร่ภาพลามกทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น อัตราการกระทำความผิดทางเพศก็เพิ่มมากขึ้น) ดังนั้น ประเด็นการให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนในเรื่องที่เกี่ยวกับภาพลามกบนอินเทอร์เน็ต ที่นานาประเทศพิจารณา จึงไม่ได้มีแค่ประเด็น การป้องกันเด็กและเยาวชนจากการตกเป็นเหยื่อในฐานะ “ผู้แสดง” ในภาพ และ ป้องกันไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพต่อสาธารณะ เท่านั้น เมื่อหลายประเทศมองว่า เมื่อเกิดภาพลามกเด็กขึ้นหนึ่งภาพ ย่อมหมายความว่า มีเด็กคนหนึ่งถูกล่วงละเมิดทางเพศในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว รัฐจะให้ความคุ้มครองเด็กอย่างแท้จริง จึงย่อมไม่สำคัญว่า ภาพที่ถูกทำขึ้นนั้น จะเป็นไปเพื่อการค้า หรือไม่ หรือ ไม่สำคัญเลยว่ามันจะต้องถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะเท่านั้น ถึงจะเป็นความผิด ดังนั้น ผู้ที่เพียงมีมันไว้ในครอบครอง นอนดูคนเดียว (ได้มาจากไหนไม่รู้ล่ะ) จึงควรมีความผิดตามกฎหมาย ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อเด็ก และสนับสนุนการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กด้วย กฎหมายประเทศอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง สนธิสัญญาหลาย ๆ ฉบับที่ผมยกมา ก็กำหนดชัดเจนครับว่า การมีภาพลามกเด็กในครอบครอง แม้มิได้มีการเผยแพร่ต่อไป ก็ถือเป็นความผิด ใน Cybercrime Convention แค่การ "สืบค้น" ก็ควรถือเป็นความผิดแล้ว (ซึ่ง อย่างที่บอกครับ กฎหมายบ้านเรา ยังไม่ถือว่า การครอบครองดูส่วนตัวเป็นความผิด กฎหมายอาญาปัจจุบ ัน มาตรา 287 รวมทั้ง ร่างพระราชบัญญัติความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ เอาผิดเฉพาะกรณีมีไว้ เพื่อส่งต่อ หรือ นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณะ หรือ มีไว้เพื่อเป้าหมายทางธุรกิจ การค้า เท่านั้น และนี่ ก็คือ มาตรฐานการคุ้มครองเด็ก ทีี่แตกต่างจากที่อื่น ๆ เขา ดังเกริ่นไปแล้ว) คดีใหญ่คดีหนึ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ นักการทูตประเทศอังกฤษประจำประเทศญี่ปุ่น ได้รับคำสั่ง ให้ย้ายไปประเทศสเปน แต่ต้องเดินทางมาประเทศอังกฤษก่อน ศุลกากรตรวจพบวีดีโอลามกเด็ก 96 ม้วนที่นักการทูตซื้อไว้ มิได้ทำขึ้นเอง นักการทูตดังกล่าวถูกไล่ออก และถูกฟ้องคดีต่อศาล ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปีโดยไม่พิจารณาว่า เขาเคยทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติมาก่อนหรือไม่ ทั้งนี้เพราะถือว่าเมื่อมีแนวโน้มจะทำร้ายเด็ก และรัฐต้องปราบปราม image นอกจากเป้าหมายเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก ในฐานะ ผู้แสดงในโลกเสมือนจริง และเหยื่อทางเพศในโลกจริง แล้ว ประเทศต่าง ๆ ยังมีแนวคิด ปกป้องเด็ก และเยาวชน จากการ “เผชิญหน้า” กับสื่อลามกไว้เป็นพิเศษแยกจากกลุ่มผู้ใหญ่ด้วย ดังนั้น เว็บไซท์ภาพลามกผู้ใหญ่ธรรมดา ๆ ที่เปิดให้เข้าชมฟรี กับ เว็บไซท์ที่จะเข้าชมได้ ก็ต่อเมื่อต้องกรอกข้อมูล เพื่อสมัครสมาชิก และจ่ายค่าตอบแทนผ่านเครดิตการ์ด หรือระบบชำระเงินออนไลน์ จึงมีสถานะทางกฎหมาย แตกต่างกัน ในบางประเทศ เช่น อเมริกา และอังกฤษ ถือว่า เว็บไซท์ ภาพลามกผู้ใหญ่ ที่ผู้จะเข้าชมได้ต้องเป็นสมาชิก และเสียเงิน ไม่ผิดกฎหมาย เพราะรัฐเห็นว่า เงื่อนไขดังกล่าว เป็นมาตรการป้องกันการเข้าถึงภาพลามกจากเด็ก และเยาวชนได้แล้วในระดับหนึ่ง ในขณะที่เว็บฟรี ที่ไม่มีมาตรการอะไรเลย ในการจำกัด หรือ กรองอายุผู้เข้าชม เป็นเว็บผิดกฎหมาย ประเทศเยอรมันไม่ได้กำหนดประเด็นนี้้ไว้ชัด ๆ แต่ไปกำหนดจำแนกประเภท เพื่อ ป้องกันการเผชิญหน้ากับสิ่งลามก “อันไม่เหมาะสม และยอมไม่ได้อย่างยิ่ง” ไว้เป็นการทั่วไปสำหรับทุก ๆ คนไม่เฉพาะเด็ก และเยาวชน เท่านั้น คือ ไม่ว่าการเข้าถึงได้ จะฟรี หรือ ไม่ฟรี ถ้าเป็น ภาพลามกเด็ก, ภาพทารุณกรรมทางเพศ หรือกิจกรรมทางเพศที่ใช้ความรุนแรง และ ภาพการร่วมเพศกับสัตว์ เหล่านี้ ถือว่า เป็นความผิดทั้งหมดทั้งสิ้น ซึ่ง ประเด็นต่าง ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ กฎหมายไทยเราไม่มีครับ เพราะดังกล่าวมาแล้วว่า กฎหมายไทย ถือว่า ภาพลามกทุกประเภท และภาพของทุกเพศ ทุกวัย ผิดเสมอหน้ากันหมด ถ้ามีไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า หรือเพื่อการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ไม่ว่าเว็บ หรือ สื่อนั้นจะให้ฟรี หรือ ไม่ฟรี (ไม่ฟรี ยิ่งต้องผิด เพราะชัดเจนว่า เป็นไปเพื่อการค้า) ดังนั้น เว็บไซท์ภาพลามก (รวมทั้ง สิ่งของลามกด้วย) ทุกเว็บ จึงเป็นเว็บเถื่อน ๆ ที่ผิดกฎหมาย ครับ...จากแนวคิด และความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะเห็นได้นะครับว่า เมื่อกล่าวถึง ภาพลามกอนาจารบนอินเทอร์เน็ต ที่รัฐทั้งหลายควรร่วมมือกันปราบปราม นั่นไม่ได้ หมายถึง ภาพลามกอนาจารทุกกรณี อย่างที่เราเข้าใจกัน หลายประเทศ ทั้งในอเมริกา ประเทศในยุโรป รวมทั้งเยอรมันเองด้วย ไม่ได้ถือว่า ภาพลามกผู้ใหญ่ในระบบปิด เป็นความผิด ยกเว้นบางกรณี การรวบรวมสถิติเว็บไซท์ลามกที่ผิดกฎหมาย จึงย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ผมขอสรุปเรื่องที่เกี่ยวกับข่าว (ข้างบนนู่น) ตรงนี้ก่อนครับว่า ดังนั้น เราจึงไม่ควรต้องแปลกใจว่า ทำไมสถิติ “เว็บไซท์ภาพลามกผิดกฎหมาย” (ไทย) ที่ตำรวจไซเบอร์ และเจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีที ได้รับแจ้ง และต้องตามปิดกันจน “ตาแฉะ” มันจึงมีมากมายก่ายกองเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ เว็บ ทั้ง ๆ ที่ เอาเข้าจริง ผมพยายามเสริจหาเว็บโป๊สัญชาติไทย (แหะ ๆ เพื่อการวิจัยครับ ถือเป็นการกระทำที่มีความชอบธรรมไว้อ้างอิง ทั้งในแง่กฎหมาย และศีลธรรม..อย่าอิจฉากันเชียว) ก็ยังแอบคิดว่า มันมีปริมาณน้อยกว่า สัญชาติเยอรมัน (ที่ไม่ติดอันดับ) เป็นไหน ๆ คำถามสืบเนื่อง ก็คือ แล้ว เราจะทำอย่างไรกันดี เราจะตามปิดเว็บพวกนี้กันไหวหรือ ? ถ้าเราปิดเว็บสัญชาติไทยได้ แล้วปิดสัญชาติต่างประเทศได้หรือไม่ ? สุดท้าย คือ ระหว่างการไม่จำกัด หรือ จำแนกประเภท อะไรเลย แบบประเทศไทย กับการจำกัดว่าอะไรควรผิด และอะไรควรถือเป็นเรื่องธรรมดา และ เป็นธรรมชาติ อะไรควรเป็นสิทธิพลเมือง (ผู้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว) ที่ควรเข้าถึงได้ หรือเข้าถึงไม่ได้ แบบในต่างประเทศ ... แบบไหน น่าจะป้องกัน และควบคุมการกระทำความผิดรูปแบบนี้ ได้ดีกว่ากัน ในยุคโลกไร้พรมแดน และสนุกสุดแสน อย่างแดนอินเทอร์เน็ต ? ผมเองเคยเสนอปัญหาเรื่องนี้ไว้ในงานป.โทตัวเองครับ แต่ไม่มีใครเอาด้วย (ฮา) เนื่องจากมันเป็นประเด็นอ่อนไหว เหมือน ๆ ประมาณว่า ผมดันไปเสนอให้ประเทศไทย ปรับมาตรฐานศีลธรรม ในเรื่องนี้กันใหม่ อะไรทำนองนั้น อย่างไรก็ตาม ไหน ๆ ก็มีบล็อกเป็นของตัวเองแล้ว เลยขอหยิบไอเดียเก่ามาขายที่นี่เสียเลย image ควรต้องออกตัวก่อนว่า ที่ผมเสนอนั้น ไม่ใช่ว่า ผม ตัวไทย ใจฝรั่ง เห็นดีเห็นงามกับฝรั่งไปเสียหมด จนไม่สนใจวัฒนธรรม (อันดีงาม) แบบไทย ๆ ..แต่เกิดจากการนั่งคิดทบทวนสรตะ ถึงความเป็นไปได้ และข้อดี ข้อเสียแล้ว จนสุดท้ายผมมองว่า ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ด้วยลักษณะความไร้พรมแดนของอินเทอร์เน็ต เพื่อให้รัฐมองเรื่องแบบนี้ ให้เป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ แล้วเปลี่ยนจากมาตรการ "ควบคุม" ทุกคนแบบไม่เลือก หน้า และวัย ไปสู่ มาตราการ "คุ้มครอง" อย่างเต็มที่ กับคนที่เราควรต้องดูแลเป็นพิเศษอย่างเด็กและเยาวชน และ เพื่อประสิทธิภาพในการปราบปรามการกระทำความผิดในเรื่องนี้ แบบสมดุลย์กับพัฒนาการทางเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต (ที่มีประโยชน์มากกว่าโทษ) เราน่าจะปรับเปลี่ยนวิธีคิดกันได้แล้ว เมื่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร อย่างอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้เรื่องบางเรื่องมีมาตรฐานเดียวกัน หรือเหมือนกันทั้งโลก ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายนี้อย่างได้ผล เราก็อาจต้องยอมปรับเปลี่ยนมาตรฐานบางอย่างให้สอดคล้องต้องกันไปด้วย แทนที่เราจะไล่ปิดมันไปเรื่อยเปื่อย แบบไร้ขอบเขต ไม่มีจุดสิ้นสุด หาความสำเร็จได้ยาก เราก็อาจมาลงมือ จำแนกประเภทเว็บ เหล่านี้ กันสักที สำหรับผม เว็บไซท์ภาพลามกอนาจารของผู้ใหญ่ กรณีพื้น ๆ ธรรมดา ซึ่งคงไม่ต้องอธิบายนะครับว่า หมายถึง เว็บไซท์ที่มีภาพแบบไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีเว็บไซท์ หรือ บริการแบบ Pay Site ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์รูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ต้องการเข้าถึงข้อมูล ต้องเสียค่าบริการเป็นการตอบแทนในรูปของค่าบริการจากการเข้าใช้ (Access Charge) หรือ ค่าธรรมเนียมในการเป็นสมาชิก (Membership Fee) การเสียค่าใช้จ่ายในการบริการแบบ Pay Site นี้อาจมีวัตถุประสงค์และประโยชน์ในการจัดเก็บที่แตกต่างกันออกไป เช่น 1) เพื่อเป็นค่าบริการในการรวบรวมและเข้าถึงข้อมูล/ข่าวสาร/บริการจากที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน 2) เพื่อ ทดแทนการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ เช่นการเป็นสมาชิกวารสารซึ่งสามารถเป็นสมาชิกได้ทั้งในรูปของกระดาษรูปอิเล็กทรอนิกส์หรือ 3) เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากผู้ใช้บางกลุ่ม เช่น ระบบป้องกันผู้เยาว์เข้าถึง ข้อมูลใน Site บางแห่ง เช่น ระบบ Cyberpatrol และ Net Nanny ซึ่งเป็นระบบที่ผู้ให้บริการเป็นผู้กำหนด ความสามารถหรือคุณสมบัติในการเข้าถึง Site บางแห่งจากเครื่องของตนเอง) เราน่าจะปล่อยให้ดำเนินการกันได้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมตรวจสอบ เช่น ใครประสงค์จะทำเว็บไซท์ หรือให้บริการเรื่องนี้โดยเฉพาะ ก็ให้มาจดทะเบียน หรือเสียค่าธรรมเนียม (ด้วยก็ได้) กับหน่วยงานภาครัฐ (หรือภาคเอกชน เช่น สมาคมผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต) โดยปกติแล้ว ความพึงพอใจในการดูรูปภาพ หรือการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ย่อมเป็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลนะครับ แม้แต่ เรื่องราวเกี่ยวกับเพศ กับเซ็ก เองก็ไม่ต่างกัน มันจะผิดอะไรเหรอ หากผมอยากดูภาพโป๊ตอนอายุ 20 30 หรือ 40 ผมยังไม่โตพอที่จะตัดสินใจเลือกบริโภคสื่ออะไรเองอีกหรือ ? และ เมื่อผมอยากดู มันก็ควรจะมี "ผู้ประกอบการ" ในเรื่องนี้ มาเสนอขายให้ดูด้วยไม่ใช่หรือ..มันธรรมชาติ และธรรมดาจะตายไป ไม่งั้น ผมจะไปหามันได้จากที่ไหน ไม่งั้น เราจะบอกได้ยังไงว่า เรามีสิทธิเสรีภาพ ในเมื่อสิ่งเหล่านี้โดยควบคุมโดยไม่เลือกจากรัฐ ? (ปล. ผมขอข้ามปัญหาเรื่องที่ว่า หากปล่อยให้พลเมือง (ผู้ใหญ่แล้ว) ในประเทศ ดูภาพโป๊มาก ๆ หรือ ดูกันโดยเสรี จะทำให้เกิดอาชญากรรมทางเพศ หรือข่มขืนเพิ่มขึ้นจริง ๆ หรือไม่ นะครับ...เพราะประเด็นนี้ ยังเถียงกันไม่จบ ประเทศที่ มีนางทางโทรศัพท์ มีน้องโป๊ทางโทรทัศน์ทุกคืน (หลังเที่ยงคืน) หนังสือโป๊ขายตามซุปเปอร์มาเก็ตธรรมดา ๆ อย่าประเทศเยอรมัน ทำไมอัตราอาชญากรรมทางเพศถึงน้อย ในขณะที่ ประเทศที่ควบคุมทุกอย่างละเอียดยิบ อย่างประเทศไทย อัตราการข่มขืน รุมโทรม และอื่น ๆ จึงสูงขึ้นทุกวัน ดังนั้น ปัจจัยที่มีส่งผลให้ใครสักคน อยากกระทำผิดทางเพศต่อคนอื่น ๆ น่ะ มันมีหลายอย่างครับ ว่ากันตั้งแต่ พื้นฐานจิตใจ พื้นฐานครอบครัว สภาพสังคม ที่สำคัญ ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย ฯลฯ มันไม่ได้มีแต่เรื่อง ผู้หญิงแต่งตัวโป๊ หรือ สื่อโป๊เกลื่อนเมือง อย่างที่ คนหัวโบราณจำนวนหนึ่ง พยายามตีปี๊บ และบิดเบือนกันอยู่เท่านั้นหรอก..เชื่อผมจิ) เอ้า กลับมาว่ากันต่อ ... เมื่อลักษณะของบริการที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เป็นไปอย่างมีขอบเขต จำกัดไว้เฉพาะกลุ่มสมาชิก จำกัดอายุ และหรืออื่น ๆ มิได้เผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นการทั่ว ๆ ไป จนเกิดผลกระทบในวงกว้าง รัฐก็น่าจะปล่อยให้เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพเฉพาะกลุ่ม ที่ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง เรื่องนี้ หากมองในแง่ของการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ย่อมไม่มีปัญหาในประเด็นเด็กต้องตกเป็นเหยื่อในฐานะ “ผู้แสดง” หรือประเด็นการกระตุ้นให้เกิดการละเมิดทางเพศต่อเด็ก เพราะผมหมายเฉพาะภาพลามกผู้ใหญ่ ...ทำนองเดียวกัน หากมอง ในแง่ของการป้องกันเด็กจากการ “เผชิญหน้า” กับสิ่งลามกอนาจาร ก็ด้วยมาตรการสมัครสมาชิก การขอหมายเลขบัตรเครดิต เราก็น่าจะถือเป็นมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนที่พอรับได้ และยังถือเป็น แนวทางการป้องกัน และปราบปราบ ทีมีมิติแห่งการประนีประนอมระหว่าง กฎหมาย กับพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้วย image อนึ่ง แม้ในความเห็นของผม การให้บริการที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ไม่ควรถือเป็น เว็บไซด์ที่รัฐต้องเข้าไปควบคุมดูแลเป็นพิเศษ แต่หากเรื่องราว หรือภาพลามกอนาจารที่ให้บริการนั้น เกิดขึ้นจากความไม่สมัครใจของผู้ถูกละเมิ ดสิทธิ เช่น เผยแพร่ภาพเปลือยผู้หญิงที่ถูกแอบถ่าย ผู้ถ่ายถูกข่มขู่ หรือล่อลวงมา กรณีนี้ นอกจากผู้กระทำการดังกล่าว จะมีความผิดตามกฎหมายอาญาอื่น ๆ แล้ว เช่น หมิ่นประมาท หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำลามกอนาจาร ฯลฯ รัฐก็ควรต้องเข้าไปควบคุมและปราบปราม เว็บไซท์เหล่านั้นด้วยครับ เพื่อไม่ให้เว็บเหล่านี้กลายเป็นสื่อที่สนับสนุนการกระทำความผิดในฐานความผิดอื่น ๆ ต่อไป สำหรับเว็บไซท์ภาพลามกผู้ใหญ่ ที่เป็นฟรีบริการ เผยแพร่เป็นการสาธารณะ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั้ง ผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชน เข้าถึงได้ตลอดเวลา สำหรับประเทศไทยเรา คงต้องถือให้เป็นความผิดอยู่ เพราะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน การเผยแพร่ภาพในลักษณะเหล่านี้ ย่อมไม่ต่างอะไรกับการนำเสนอทางสิ่งพิมพ์ หรือสื่อลามกที่วางขายทั่วไ ป โดยไม่จำกัดเพศ และวัยของผู้ซื้อ เผลอ ๆ จะแย่ยิ่งกว่า เพราะดูได้ฟรี ๆ โดยไม่ต้องเสียเงิน สุดท้าย คือ กลุ่ม เว็บไซท์ที่เป็นภาพลามกเด็กและเยาวชน เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาที่ประเทศไทยอุตส่าห์ไปร่วมลงนาม และให้สัตยาบันกับเขาไว้แล้ว เรา จึงควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และหามาตราการเพ่ือคุ้มครองเด็ก และเยาวชน ให้ชัดเจน และครอบคลุม กว่าที่เป็นอยู่ เว็บไซท์ หรือบริการใด ๆ ที่มีการแลกเปลี่ยน เผยแพร่ รวมทั้ง การเสนอขายบริการเด็ก ไม่ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ หรือไม่ แม้แต่การ แลกเปลี่ยนภาพระหว่างกันในหมู่เพื่อนฝูง เช่น ทางอีเมล ก็ควรต้องถือเป็นความผิดทั้งนั้น และแน่นอนครับ ควรกำหนดให้ เพียงการมีไว้ในครอบครอง โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการส่งต่อ เผยแพร่ต่อ หรือเพื่อธุรกิจการค้าใด ๆ เป็นความผิดด้วย เพราะการหมกมุ่น และรวมกลุ่มของคนที่มีรสนิยมและมุมมองต่อเด็กและเยาวชนแบบนี้ มีแนวโน้มที่จะเกิดการล่วงละเมิดทางเพศ และเป็นภัยอันตรายต่อเด็กและเยาวชนได้ง่าย ๆ image สำหรับข้อดีของการจัดแบ่งให้ชัดเจนแบบนี้ นอกจากทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีขอบเขตที่ชัดเจนในการตรวจสอบ และเช็คบิลแล้ว การกำหนดให้เว็บไซท์ที่ประสงค์จะดำเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมาขึ้นทะเบียนกับรัฐ หรือหน่วยงานใด ๆ ยังอาจเป็นการสร้างกลไกให้ผู้ให้บริการเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต (Content Provider) ตรวจสอบกันเองด้วย เพราะเมื่อผู้ให้บริการรายใด ยินดีปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องเสียเวลามาจดทะเบียน หรือ ต้องเสียค่าธรรมเนียมบางอย่าง การต้องคอยหมั่นตรวจดูคู่แข่งเถื่อนที่ให้บริการแบบเดียวกันกับตน แต่ไม่ยอมทำตามกฎหมาย เพื่อแจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐไปจัดการ ย่อมเป็นสิ่งที่รัฐพอจะคาดหวังได้ ซึ่งย่อม ช่วยแบ่งเบาภาระเจ้าหน้าที่รัฐ และเป็นการช่วยกันสอดส่องเว็บไซท์ผิดกฎหมายไปด้วยในตัว อะ อะ ...ผมเสนออย่างนี้ ใครอย่าเอาไปเปรียบเทียบกับนโยบายอดีตนายก ฯ ที่ทำให้ หวยใต้ดิน ขึ้นมาอยู่บนดิน หรืออยากทำให้การพนันทั้งหลายเป็นเรื่องถูกกฎหมายโดยไม่เลือกนะครับ เพราะมันไม่เหมือนกัน ผมไม่ได้เสนอให้เปิดเสรีเว็บลามก เพราะรัฐไม่มีปัญญาจัดการได้หมด .. แต่ผมเสนอให้ “จำแนก” เพื่อ “ควบคุม” ต่างหาก อย่างไรก็ตาม จะดำเนินการต่าง ๆ ดังที่เสนอนี้ได้ เราต้องมองเรื่องนี้ ให้ข้ามพ้นไปจาก หลักเกณฑ์เก่า ๆ ในมาตรา 287 แห่งประมวลกฎหมายอาญาให้ได้ก่อนนะครับ ไม่งั้นไม่มีทาง... ผมถึงบอกไงว่า มันเป็นประเด็นอ่อนไหว ที่อาจไปกระทบกับมาตรฐานทางศีลธรรมของคนไทย ในเรื่องที่เกียวกับ ของลามก ๆ Laughing อ้อ และเพื่อให้การป้องกัน และปราบปรามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลจริง ๆ ประเทศไทยก็ควรไปเข้าร่วม หรือ มองหาความร่วมมือกับต่างประเทศเขาด้วยครับ เพราะเมื่ออินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายของเครือข่าย การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย จะไม่ทำกันเป็น "เครือข่าย" มันจะใช้ได้รึ ?...จริงมั๊ย...โป๊มะ โป๊มะ โป๊มั๊ยน้อง ?