ตระหนัก

> หากว่าจะก่นด่าว่าคนโง่ จน เจ็บ ไร้การศึกษา อันเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่มีวิจารณญาณในการเลือก ส.ส.
> ดีๆ มีศีลธรรมเข้าสภา คนชั้นกลาง ชั้นสูง ที่ร่ำรวย มีการศึกษาสูง ก็จำต้องยอมรับว่าตนคือชนกลุ่มน้อย และพึงตั้งคำถาม
> กับตัวเองให้มากว่า ต้นตอของความเหลื่อมล้ำทางฐานะ และระดับการศึกษาที่ดำรงอยู่กับเรานั้นเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่ และ
> จะ__ทำอย่างไรจึงจะกระจายความมั่งคั่งนี้ออกสู่คนเหล่านั้นบ้าง__ [^1]

[^1]: ตัวหนาโดยเจ้าของบล็อก

ประชาธิปไตย์ชั้นประถม โดยคุณคำ ผกา
มติชน สุดสัปดาห์ 5-11 กันยายน 2551

ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไปทีนึงแล้วในเรื่อง [We’re just pity](http://lewcpe.com/blog/archives/688/were-just-pity/) คงไม่ต้องเล่าซ้ำกันยาวมาก แต่เราคงต้องหาทางลบแนวทางการพัฒนาชาติด้วยการบริจาคแบบฉาบฉวย แล้วไม่แก้ไขความเหลื่อมล้ำของสังคมกันไปอีกนาน

 

หน้าที่

เอามาจาก[บทความของคุณ Nost@lgia แห่ง Pantip.com](http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6966099/P6966099.html)

ผมเคยลองถามเพื่อนที่อยู่ที่ญี่ปุ่นดูว่าที่นักการเมืองญี่ปุ่นโกงกันมั้ย?

คำตอบจากเพื่อนคือ ใช่ อเมริกาก็โกง อังกฤษก็โกง แค่เราไม่ได้อยู่ในสังคมนั้น เราก็เลยไม่รู้

จากคำตอบของเพื่อน ทำให้ผมเกินคำถามในใจว่า ทั้ง ๆ ที่ประเทศที่พัฒนาแล้วก็โกง แต่ทำไมประเทศที่กล่าวมาถึงเจริญกว่าไทยแบบสุดกู่

คำตอบที่ผมคิดได้คือ “คุณภาพของประชากรต่อหน่วย” มันต่างกันจนเทียบไม่ได้

ณ ตอนนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ว่าฝ่ายไหน ต่างใช้สิทธิกันเต็มที่ เพื่อชาติอันเป็นที่รักของตน ด้วยวิธีที่ตนเองเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

แต่ พวกท่านกำลังลืมไปว่า ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนไม่ได้มีแค่สิทธิ แต่ยังมี “หน้าที่” อยู่ด้วย

ผมเชื่อ 100% ว่า ทุกท่านที่ไปชุมนุมนั้น รักชาติรักแผ่นดินทุกคน

แต่ วิธีการของท่าน การใช้สิทธิอย่างเต็มที่โดยละเลยหน้าที่ตามบทบาทของท่าน เป็นการทำให้ชาติของพวกเรา พ้นวิกฤติ พ้นปัญหา ทำให้ชาติไม่ล่มจมจริงหรือ?

คน ที่เห็นว่ารัฐบาลเป็นตัวแปรสำคัญที่สุดที่ทำให้ประเทศไม่พัฒนา และใช้สิทธิอย่างเต็มที่เพื่อขับไล่รัฐบาลนั้น ผมอยากทราบว่า ก่อนที่ท่านจะใช้สิทธิอย่างเต็มที่นั้น ท่านทุ่มเทให้กับหน้าที่ ที่ท่านมีอย่างเต็มที่แล้วหรือยัง?

ขอยกตัวอย่างในอุดมคติซักเรื่อง เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น

หาก ทุกคนในชาติทำงาน อันเป็นหน้าที่ตามบทบาทของท่าน ให้หนักขึ้น หมอ ทุ่มเทเวลารักษา วิศวะกร ทุ่มเทเวลาและใจให้งานวิศวะกรรม โปรแกรมเมอร์ทุ่มเทให้กับการเขียนโปรแกรม ฯลฯ

เมื่อทุกคนในชาติ ทุ่มเทให้กับการทำงานของตัวเองมากขึ้น รายได้ของทุกคนก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อรายได้ทุกคนเพิ่มขึ้น อำนาจการใช้จ่ายของทุกคนก็จะเพิ่มขึ้น เมื่ออำนาจการใช้จ่ายของทุกคนก็จะเพิ่มขึ้น เงินในระบบเศรฐกิจก็จะหมุนเวียนเร็วขึ้น

และการที่ เงินในระบบเศรฐกิจก็จะหมุนเวียนเร็วขึ้น มันแปลว่า เศรฐกิจดีขึ้น ใช่หรือไม่?

ฉะนั้น การพูดว่าประเทศชาติย่อยยับนั้นเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีนั้น

ถูกต้อง แต่ไม่ทั้งหมด นายกรัฐมนตรี อาจต้องรับผิดชอบมากหน่อย แต่ไม่ใช่รับผิดชอบทั้งหมด
เพราะความรับผิดชอบส่วนใหญ่มันไปตกอยู่ที่ “ประชาชนในชาติทุกคน”

ทั้งรัฐบาล ทั้ง พธม. ทั้ง นปช. ทั้งตำรวจ ทั้งทหาร ทั้งสมาชิก pantip และทุกคน มีส่วนรับผิดชอบกันทั้งหมด

ผมจำได้ว่าเคยอ่านนิยายเรื่อง ชีวิตรันทด เรื่องจริงผ่านคอม ของคุณ แอร์กี่ ใน pantip แห่งนี้ มีอยู่ตอนหนึ่งที่คุณแอร์กี่เล่าให้ฟังว่า

ใน เครื่องบินสมัยก่อน จะมีที่นังสูบบุหรี่ด้วย ซึ่งคนไทยที่สูบบุหรี่ จะซื้อตั๋วไม่สูบ แล้วถ้าอยากสูบจะไปนั่งสูบในโซนที่สูบได้ ในขณะที่คนญี่ปุ่นที่สูบบุหรี่ จะซื้อตั๋วที่นังสูบบุหรี่เลย

ตรงนี้ แสดงให้เห็นชัดมาก ๆ ถึงเรื่องการเคารพกฎของสังคม ความไม่เอาเปรียบสังคม ที่คนญี่ปุ่นมีแต่คนไทยไม่มี

ขอวกกลับมาที่ การตระหนักถึงหน้าที่ของคนในชาติ

การ ทำให้ประเทศไทยเจริญได้นั้น ผมมองว่า แค่คนไทยทุกคน ตระหนักในหน้าที่ของตัวเอง ตั้งใจทำงานที่เป็นอาชีพของตัวเองให้หนัก ให้อะไรแก่สังคม ถ้าให้ไม่ได้ อย่างน้อยก็อย่าเอาเปรียบสังคม เท่านี้ ประเทศชาติก็ไปรอดแล้วครับ

ที่พูดมาทั้งหมดไม่ได้จะบอกว่า รัฐบาลจะโกงก็ปล่อยให้มันโกงไป เราหลับหูหลับตาทำงานไปเหอะ แต่ต้องการจะบอกว่า ถ้ารัฐบาลโกง แล้วเราละเลยหน้าที่ของตัวเองเพื่อไปแสดงสิทธิในการขับไล่รัฐบาล ประเทศชาติมีแต่จะล่มจมเร็วขึ้น

ถ้าเราเห็นว่ารัฐบาลโกง แต่เราปกป้องชาติด้วยการทำหน้าที่ของเรา โดย เราสามารถทำให้รัฐบาลไม่มีสิทธิเข้ามายุ่งกับการบริหารประเทศได้ ด้วยหน้าที่หนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่ชื่อว่า “การเลือกตั้ง” ครับ

จากเหตุการณ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ ผมเห็นอุดมการความรักชาติและความมุ่งมั่นของคนไทยแล้ว ผมเห็นการอดทนเพื่อชาติของผู้ที่ไปชุมนุมแล้ว

ผม เชื่อมั่นครับ ว่าถ้าเพียงแต่ท่านใช้ความมุ่งมั่นความรักชาติของท่านให้ถูกวิธี ประเทศชาติของเรา ได้แซงหน้าญี่ปุ่นภายใน 50 ปีนี้แน่นอน….

นี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผมที่เป็นนิสิตชั้นปีสี่คณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งนึงนะครับ ผมอยากให้ทราบว่า นิสิตนักศึกษาที่ไปร่วมชุมนุมนั้น เป็นแค่ส่วนนึง ยังมีอีกหลายส่วนนะครับ ที่มีความเห็นแบบอื่นที่ไม่ใช่แบบที่ท่านเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์ ความเห็นของผมดังที่แสดงไป ก็เป็นหนึ่งในความเห็นที่หลากหลายของนิสิตสถาบันที่ผมศึกษาอยู่

กรุณาอย่าเหมารวมนะครับ ผมขอร้อง

 

กบฏ

[พี่เฮ้าส์เขียนเรื่องนี้](http://house.exteen.com/20080826/entry)ไว้พอดี เลยเอามาต่อมั่ง

ผมประณามการกระทำของกลุ่มพันธมิตรฯ หลายต่อหลายครั้งว่าเป็นการกระทำของสื่อชั้นเลว ที่ไม่ได้มุ่งสร้างความเข้าใจในข้อเท็จจริงตามหน้าที่ แต่เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

มาวันนี้ ผมต้องบอกอย่างเดียวกันกับพี่เฮ้าส์ ว่าผมเข้าใจผิดมาโดยตลอด พันธมิตรไม่ใช่อะไรเลย ไม่ใช่สื่อ ไม่ใช่ม๊อบ แต่พันธมิตรคือกบฏอย่างชัดแจ้ง

การกระทำของพันธมิตร เกินกว่าประกาศสิทธิมนุษยชนพื้นฐานฉบับใดๆ จะให้การรับรองไว้อย่างแน่นอน และไม่ควรมีการแถลงการจากกลุ่มใดๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมกับกลุ่มนี้อีกต่อไป

 

ความเห็นต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในไทย

ช่วยมาร์คทำการบ้าน เอามาลงบล็อคแล้วกันเผื่อจะกลายเป็น Blog-Tag

– ช่วยแนะนำตัวเองคร่าวๆ เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงาน ลักษณะการทำงาน
> วิศวกรคอมพิวเตอร์, ผู้ดูแลระบบ, ผู้ดูแลเครือข่าย, เว็บมาสเตอร์, โปรแกรมเมอร์, นักวิจัย, นักศึกษา (มั่วจริงตู)

– ใช้อินเทอร์เน็ตมานานแค่ไหน? ใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานเยอะน้อยอย่างไร (เช่น ใช้บ้าง หรือ ขาดไม่ได้) ช่วยอธิบายลักษณะการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบคร่าวๆ (เช่น หาข้อมูลบนเว็บ ทำรายการทีวีออนไลน์)
> ตั้งแต่ ป. 5 นับรวมแล้วประมาณ 15 ปี เมื่อขาดอินเทอร์เน็ตแล้วประสิทธิภาพการทำงานลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10

– ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดนผลกระทบจากการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยบ้างหรือไม่? (โดน/ไม่โดน ถ้าโดน เป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน หรือเป็นเจ้าของ/ผู้ดูแลเว็บไซต์ที่โดนเซ็นเซอร์)

> โดนบ้างไม่มากนัก ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน เนื่องจากมักเป็นการบล็อคแบบทั่วประเทศ

– ถ้าได้รับผลกระทบจากการเซ็นเซอร์ ได้กระทำการหลบเลี่ยงหรือแก้ไขอย่างไรบ้าง (เช่น ใช้ proxy หรือ Tor,
ย้าย ISP, ย้ายเซิร์ฟเวอร์, โพสต์แสดงความไม่เห็นด้วยตามเว็บบอร์ด/บล็อก) ถ้าไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษช่วยระบุ

> ยังไม่เคยเจอกรณีที่ทำอะไรไม่ได้ แต่โดยมากแล้วเมื่อมีการบล็อคจะทำให้พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไป โดยมากแล้วแล้วจะเข้าเว็บที่ถูกบล็อคบ่อยกว่าเดิม เนื่องจากสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นจึงถูกบล็อค

– มีความเห็นอย่างไรต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต (เช่น เห็นด้วยทั้งหมด เห็นด้วยบางประเด็น ไม่เห็นด้วย) พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ

> __ไม่เห็นด้วยในบางประเด็น__ หลักๆ คือการบล็อคโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมที่อธิบายได้ เพราะโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเซ็นเซอร์ในบางประเด็นที่ชัดเจนได้ เช่นภาพอนาจารเด็ก

– ในกรณีที่เห็นด้วยเป็นบางประเด็น คิดว่าควรเซ็นเซอร์เรื่องอะไรบ้าง (ตัวอย่าง: การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม สถาบันพระมหากษัตริย์ การก่อการร้าย แบ่งแยกดินแดน ภาพอนาจาร ภาพอนาจารเด็ก การพนัน ฯลฯ)

> ประเด็นที่มีความผิดทางกฏหมาย__อย่างชัดเจน__ เช่น ภาพอนาจาร (ผิดกฏหมายไทยอยู่แล้ว) สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ผิดกฏหมายเช่นกัน แต่ทั้งหมดทั้งมวลคือต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม

– ถ้าเห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ (ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน) คิดว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตควรทำที่ระดับชั้นไหน (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ หรือจะตอบอย่างอื่นก็ได้)
– นโยบายระดับรัฐบาล-กระทรวง
– กฎหมาย
– เกตเวย์ออกกต่างประเทศ (ปัจจุบันมี 3 แห่งคือ CAT, TOT และ True)
– ISP
– องค์กรที่สังกัด (เช่น มหาวิทยาลัย บริษัท)
– พีซี/โน้ตบุ๊ก (เช่น ลงซอฟต์แวร์เซ็นเซอร์)

> กฏหมายบังคับไปที่เกตเวย์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในเชิงเทคนิค อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เช่นรัฐสั่งบล็อคจำนวนมากและซับซ้อนส่งผลให้เอกชนรับภาระค่าใช้จ่าย แล้วผลักภาระไปให้ผู้บริโภค กรณีอย่างนี้จะจัดการอย่างไร?

– คิดว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ต่างจากสื่อชนิดอื่นๆ เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรือไม่

> ต่างกันที่คนมีความเข้าใจมีเพียงจำนวนน้อย ทำให้การจัดการทำได้ไม่ดีนัก หลายครั้งมั่ว และหลายครั้งมีการทำเกินอำนาจที่กฏหมายระบุ

– คุณมีความเห็นต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 อย่างไร

> มั่วซั่ว ตีคลุมอย่างไร้ทิศทาง และขาดความเข้าใจ โดยทั่วไปแล้วสร้างภาพลบให้กับคณะรัฐประหารอย่างทรงประสิทธิภาพ

– คิดว่าระดับการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ถือว่ามากหรือน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (เท่าที่ทราบมา)

> ไม่มากนักเมื่อเทียบกับจีน และประเทศแถบตะวันออกกลาง

– มีความคิดเห็นต่อประเด็นด้านการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ใน พรบ.ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อย่างไร

> ขาดบทลงโทษการใช้อำนาจนอกเหนือกฏหมาย เช่นข่มขู่ผู้ให้บริการต่างๆ ในรูปแบบของการขอความร่วมมือ เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นอาชญากรรมในเชิงข้อมูลข่าวสาร และทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการได้ไม่ต่างจากการแฮกคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด

– รู้จักกลุ่มต่อต้านการเซ็นเซอร์ในประเทศไทยหรือไม่ คิดว่ามีผลกระทบต่อระดับการเซ็นเซอร์มากน้อยแค่ไหน

> รู้จัก และติดตาม Blog ตลอดเวลา แต่คิดว่ายังมีผลในวงจำกัด

– คิดว่าในอนาคต สถานการณ์การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะมากขึ้นหรือน้อยลง

> มากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะ 5-10 ปี หลังจากนั้นแล้วเมื่อคนไทยตระหนักในสิทธิของการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น ภาครัฐน่าจะระมัดระวังในการกระทำการใดๆ มากกว่านี้

– ความเห็นอื่นๆ ต่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

> การเรียกร้องในวันนี้ยังไม่มีผลเท่าใดนักเพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังอยู่ในวงจำกัด และกลุ่มผู้ใช้ยังเป็นเด็กอยู่เป็นจำนวนมาก แต่อนาคตเมื่อการกระจายตัวในการเข้าถึงได้กว้างขึ้น และกลุ่มผู้ใช้เป็นผู้ใหญ่กว่านี้ การกระทำเช่นในอดีตจะถูกต่อต้านมากกว่านี้ตามระยะเวลา

ไม่รู้มาร์คส่งให้ใครทำบ้าง แต่อยากเห็นความเห็นของ[พี่เฮ้าส์](http://house.exteen.com/), [คุณเทพพิทักษ์](http://thep.blogspot.com/), และ[ต่าย](http://ipats.exteen.com/) ดูมั่ง ถ้าว่างๆ ลองทำดู