ตอบสัมภาษณ์ CJ Hinke แห่ง FACT

[จาก Blognone] นี่เป็นคำตอบจากคุณ C J Hinke แห่ง FACT (คำถาม) ผมพยายามแปลเป็นภาษาไทยให้ แต่คุณ C J ตอบมาค่อนข้างยาวและใช้ภาษาสละสลวย ก็คงมีบางส่วนที่แปลตกไปบ้าง ดังนั้นถ้าต้องการใจความครบถ้วนก็อ่านฉบับภาษาอังกฤษที่ยกมาให้ด้วยละกันครับ


จาก mk

FACT has been recognized in some mainstream media. Do you start having problem with MICT people who considering you are their trouble?
ตอนนี้ดังแล้ว มีปัญหากับคนของ ICT บ้างหรือเปล่า

FACT’s primary goal has been to raise public awareness of the dangers of censorship to our basic rights and freedoms. We’ve gotten some pretty good press and this issue is raised, at least in the English newspapers four or five times a week. Thus far, we haven’t been blocked.

เป้าหมายหลักของ FACT คือการทำให้สาธารณชนตระหนักถึงอันตรายของการเซ็นเซอร์ต่อสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน หลังจากที่นำเสนอเราได้รับความสนใจจากสื่อพอสมควร อย่างน้อยก็ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง และที่ผ่านมาเรายังไม่เคยดูบล็อค

MICT’s reply to FACT’s information request could be considered to be vaguely threatening. FACT does post MICT’s secret blocklists and MICT attached a lot of law and court decisions that attempt to prove we are at least in a grey area.

สิ่งที่กระทรวงไอซีทีตอบคำร้องขอของ FACT ในการเปิดเผยข้อมูลนั้นอาจมองได้ว่าเป็นการขู่แบบอ้อมๆ FACT ได้เปิดเผยรายชื่อเว็บที่กระทรวงต้องการให้บล็อค และทางกระทรวงได้แนบสำเนาของกฎหมายและคำสั่งของศาลซึ่งเป็นความพยายามที่จะบอกว่าเราอยู่ในพื้นที่สีเทา

However, all our personal contact with MICT has been very cordial. FACT is not out to make enemies in government or anywhere else but to find common ground and show them the error or their ways. We KNOW censorship is wrong!

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลระหว่างเรากับกระทรวงไอซีทีเป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย FACT ไม่ได้มีจุดประสงค์จะเป็นศัตรูกับภาครัฐหรือองค์กรใดๆ แต่ต้องการหาข้อตกลงร่วมกัน และชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของพวกเขา เราต่างรู้ว่าการเซ็นเซอร์ไม่ใช่เรื่องถูกต้อง

What is the situation of Internet Censorship in Thailand, compared to the other countries? Are we on the top of the list?
เทียบกับประเทศอื่นแล้ว การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตบ้านเราร้ายแรงแค่ไหน

There are 30-35 countries which censor the Internet, including Western democracies. For example, Germany blocks all Nazi references. I’m not sure how to grade Thailand’s censorship position qualitatively or quantitatively. Simple numbers just don’t work.

มีประเทศประมาณ 30-35 ประเทศที่เซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมประเทศตะวันตกที่ใช้การปกครองแบบประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น เยอรมนีบล็อคเรื่องทั้งหมดที่เกี่ยวกับนาซี ผมไม่แน่ใจว่าจะให้คะแนนการเซ็นเซอร์ของประเทศไทยด้วยจำนวนหรือคุณภาพดี แต่คะแนนเป็นตัวเลขอย่างเดียวก็คงไม่สามารถแทนค่าได้

North Korea, Burma, Vietnam prevent access to the Internet for almost all their citizens and, for those who can access the ‘net, content is severely censored. China and Saudi Arabia censor the largest number of websites with a huge bureaucratic mechanism in place and thousands of civil servants doing nothing else.

เกาหลีเหนือ, พม่า, เวียดนามปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนเกือบทุกคน แม้ว่ามีบางส่วนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่เนื้อหาต่างๆ ก็ถูกเซ็นเซอร์อย่างหนักอยู่ดี จีนและซาอุดิอาระเบียเซ็นเซอร์เว็บไซต์จำนวนมากด้วยกระบวนการทางภาครัฐ โดยใช้บุคคลของราชการจำนวนเป็นหลักพันที่ไม่ต้องทำอย่างอื่นเลย (นั่งบล็อกเว็บอย่างเดียว)

Most countries start with a single issue, say, pornography. But censorship is an addictive drug and governments NEVER know when to stop! While I can’t give a number grade to Thailand, I feel that ANY censorship damages our society, our ability to be fully-informed and therefore make fully-informed decisions, to have access and expression for ALL opinions.

ประเทศส่วนใหญ่เริ่มจากเรื่องเดียวคือภาพโป๊ แต่การเซ็นเซอร์เปรียบเสมือนยาเสพย์ติดที่เลิกไม่ได้ และทางรัฐบาลไม่มีวันที่จะรู้จักพอ ถึงแม้ว่าผมจะไม่สามารถให้คะแนนประเทศไทยได้ ผมก็รู้สึกว่าการเซ็นเซอร์ใดๆ ทำลายสังคมของเรา ทำลายโอกาสที่เราจะได้รับข้อมูลทั้งหมด และการตัดสินใจในการแสดงความคิดเห็นของเราโดยใช้ข้อมูลเหล่านั้น

จาก pittaya

We all know that 20 questions to MICT have been irresponsibly answered. What is FACT’s next strategy?
หลังจากที่คำถาม 20 ข้อ ได้รับการตอบกลับมาแบบปัดความรับผิดชอบแบบนี้แล้ว FACT จะมีแนวทางเคลื่อนไหวในรูปแบบใดต่อไป

FACT has just this week submitted its formal complaint to the Official Information Commission which must render its decision within 60 days. The Commission’s decision has binding force of law. MICT MUST answer them. If MICT continues to cite martial law, national security and law enforcement as its excuses for censorship, they must specify how these grounds apply to the Commission.

สัปดาห์นี้ FACT ได้ส่งคำร้องไปยัง สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) ซึ่งตามกฎหมายแล้วต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน คำสั่งของคณะกรรมการนี้มีผลในทางกฎหมายซึ่งทำให้กระทรวงไอซีทีต้องตอบ แต่ถ้ากระทรวงไอซีทียังคงอ้างกฎอัยการศึก, ความมั่นคงของชาติ หรือการบังคับใช้ของกฎหมายอื่นๆ อย่างที่ใช้อ้างกับการเซ็นเซอร์ กระทรวงจะต้องอธิบายกับทางคณะกรรมการด้วยว่ากฎหมายเหล่านี้มีผลบังคับใช้อย่างไร

(หมายเหตุ: ผมเข้าใจว่า CJ หมายถึงอธิบายเป็นเคสอย่างละเอียดว่าเว็บนี้เข้าข่ายกฎหมายใดบ้าง ซึ่งแต่เดิมไม่เคยอธิบาย)

Pure and simple, censorship is illegal in Thailand; even if one considers the 1997 Constitution to be irrelevant, it still forms the foundation of Thai law. Of course, MICT is just a small part of the picture which we have chosen to target because we have access to its blocklists.

พูดอย่างง่ายๆ และตรงไปตรงมา การเซ็นเซอร์ในประเทศไทยถือว่าผิดกฎหมาย ถึงแม้เราจะมองว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ไม่มีผลบังคับใช้ แต่มันก็ยังเป็นรากฐานของกฎหมายไทยอยู่ดี แน่นอนว่ากระทรวงไอซีทีเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ในภาพใหญ่ เรามุ่งเป้าไปที่กระทรวงเนื่องจากว่าเราสามารถเข้าถึงรายชื่อของเว็บที่ถูกบล็อคนั่นเอง

Our expectation is that MICT will not simply cease blocking and that FACT will have to file a lawsuit. This will not only name MICT but every element of censorship in Thai government from top to bottom

เราคิดว่ากระทรวงไอซีทีจะไม่เลิกบล็อคง่ายๆ และสุดท้ายเราคงต้องยื่นฟ้อง ซึ่งผู้ถูกฟ้องคงไม่ใช่แค่กระทรวงไอซีที แต่เป็นหน่วยงานรัฐทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเซ็นเซอร์

จาก veer

How long have you been in Thailand? How long are you going to be in Thailand? Why?
อยู่เมืิองไทยมานานแค่ไหน จะอยู่ต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ทำไม?

I have lived in Thailand for nearly 20 years. As a retired Canadian academic, I came to Thailand to publish children’s books in Thai, my field of expertise. My family, my home and my career are here. Although I may never hold a Thai passport, I have all the protections in law as a Thai citizen, including the freedom to be disappeared.

ผมอยู่เมืองไทยมาเกือบ 20 ปี เมื่อก่อนผมเป็นนักวิชาการเกษียณอายุชาวแคนาดา มาอยู่เมืองไทยเพื่อเขียนหนังสือเด็กที่ผมเชี่ยวชาญ ครอบครัวของผม บ้านของผม และอาชีพของผมอยู่ที่นี่ ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้ถือพาสปอร์ตไทย แต่ผมก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นคนไทยคนหนึ่ง

For the past 20 years, I haven’t been very active in any social movements here. But sometimes one is the first person to recognise a fault in society or government. How can one be a responsible member of society and not act on one’s conscience? If I had not be able to influence at least a few Thai people, I probably would have left Thai democracy to its fate. But now, as you can see, FACT has signers from every avenue of Thai life, even a couple of NLA members and an Army general.

20 ปีที่ผ่านมาผมไม่ได้สนใจในการเคลื่อนไหวทางสังคมมากนัก แต่คนเราย่อมมีโอกาสที่จะเป็น “คนแรก” ที่พบปัญหาหรือช่องโหว่ในสังคมหรือรัฐบาล เราจะเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยไม่รู้สึกผิดชอบชั่วดีได้อย่างไรกัน? ถ้าผมโน้มน้าวคนไทยแค่ไม่กี่คนไม่ได้ ผมก็อาจต้องปล่อยประชาธิปไตยของประเทศไทยไปตามยถากรรม แต่อย่างที่คุณเห็น ผู้ร่วมลงนามกับ FACT มีทุกระดับอาชีพ ซึ่งรวมถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บางคน และนายพลในกองทัพด้วย

I am active on this issue because I care so passionately about the future of Thailand; it’s MY country, too.

ผมจริงจังในเรื่องนี้เพราะผมเป็นห่วงอนาคตของประเทศไทย ซึ่งก็เป็นประเทศของผมด้วยเหมือนกัน

จาก bact

Censorship/filtering is one thing. Surveillance is another. Believing in civil liberty, what’s your thought on the later one ?
การปิดกั้น/คัดกรองก็เรื่องหนึ่ง การจับตาดูพฤติกรรมก็อีกเรื่องหนึ่ง
ด้วยความเชื่อในสิทธิพลเมือง, คุณคิดอย่างไรก็กับเรื่องหลัง ?

You may be aware that FACT has submitted proposals and recommendations to both the Constitutional Drafting Committee and the NLA committee considering the Computer-Related Crimes Bill which involve personal privacy issues such as the retention of Internet log data and search fields for each user. A free society requires a legal court order for a bona fide criminal or civil case to have such data kept.

คุณอาจทราบมาบ้างว่า FACT ได้ส่งข้อเสนอไปยังคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการของ สนช. ที่เกี่ยวกับ พรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ ในประเด็นด้านข้อมูลความเป็นส่วนตัว เช่น การเก็บ log และประวัติการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้ สังคมเสรีย่อมต้องใช้อำนาจส่วนนี้ผ่านทางศาลยุติธรรมเสมอ

As long as people keep installing and accepting CCTV everywhere and GPS in every mobile phone, we will live in a surveillance world. I don’t think this is an issue government will ever give up on. Here in Thailand, the New Year’s bombings gives a great excuse for more control. Government ALWAYS uses such incidents to increase repression and surveillance; history proves the government sometimes bombs itself in order to create an enemy. Mostly, I think government considers its citizens at worst the enemy, at least they don’t have any trust in our actions.

ตราบเท่าที่คนยังยอมให้ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) และใส่ GPS ลงในมือถือทุกเครื่อง ที่สุดแล้วเราจะอยู่ในโลกที่ถูกตรวจสอบได้ ผมไม่คิดว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะมีวันยอมแพ้ เหตุการณ์ระเบิดเมื่อคืนวันขึ้นปีใหม่เป็นข้ออ้างชั้นยอดในการควบคุมประชาชนมากขึ้น รัฐบาลย่อมใช้เหตุการณ์ทำนองนี้ในการปราบปรามและตรวจสอบประชาชนเสมอ ประวัติศาสตร์สอนเราว่าบางครั้งรัฐบาลวางระเบิดตัวเองเพื่อสร้างศัตรูด้วยซ้ำ ถ้ามองในแง่ร้ายที่สุดผมคิดว่ารัฐบาลมองประชาชนเป็นศัตรู เพราะอย่างน้อยรัฐบาลไม่เคยเชื่อมั่นในการกระทำของเราอยู่แล้ว

This causes one to think about the definition of “democracy”. To quote an old saw, if voting could change anything, it would be illegal. There’s hardly ever anybody worth voting for so what we need is participatory democracy using…the Internet.

สิ่งนี้ทำให้เราต้องมาย้อนดูนิยามของคำว่า “ประชาธิปไตย” ผมขออ้างคำพูดที่ว่า “ถ้าการลงคะแนนเสียงสามารถเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องได้ มันจะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย” จะไม่มีใครที่มีคุณค่าพอที่เราจะลงคะแนนให้ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการคือประชาธิปไตยทางตรง… โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง

By natural selection, such an incompetent specie like Panda should be already extincted.
Some say Internet is a real wild, shouldn’t we need something to protect the “Panda” ?
(Panda diplomacy? may be!)

ตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สปีชีไร้ฝีมืออย่าง แพนด้า ควรจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
บางคนว่าอินเทอร์เน็ตก็เหมือนป่าดง เราไม่ควรมีอะไรที่จะมาปกป้อง “แพนด้า” หน่อยหรือ ?
(การทูตแพนด้า? ก็อาจจะใช่!)

Another old saw is, if it ain’t broken, don’t fix it! Except for spam, the Internet is still the freest environment we have on this planet. Yes, we ALL need to protect the Internet from commercial exploitation, restriction, regulation and, of course, censorship.

ขออ้างคำพูดอีกอันว่า “ถ้ามันไม่เสีย ก็อย่าไปยุ่งกับมัน!” ถ้าไม่เอาเรื่องสแปมมาคิด อินเทอร์เน็ตเป็นสภาพแวดล้อมที่เสรีที่สุดในโลกใบนี้ แน่นอนว่าเราต้องปกป้องอินเทอร์เน็ตจากการใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง, การจำกัด, การวางกฎระเบียบ และการเซ็นเซอร์

จาก infernohellion

Why are the majority of Thais not aware that their rights to media are being limited?
ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงสิทธิของตัวเองหลังจากสื่อโดนปิดกั้น?

Most people anywhere are not thinkers. They limit themselves to a small circle. Most people will never see the broader implications. Almost everyone is afraid to stand up to express a strong opinion; we all think someone else will do it for us. Nothing could be less true.

คนส่วนมากไม่ใช่นักคิด พวกเขาจำกัดตัวเองอยู่ในวงจรเล็กๆ เท่านั้น คนส่วนมาไม่เคยมองภาพความสัมพันธ์ในมุมกว้างกว่าที่เคย เกือบทุกคนไม่กล้าที่จะลุกขึ้นแสดงความเห็นที่แข็งกร้าว เราคิดว่าจะมีคนอื่นทำเรื่องแบบนี้ให้แทนเรา

When would you expect the government to be more open-minded about this? Or perhaps the Thais are just simply not ready to handle these rights?
คุณคิดว่าเมื่อไรรัฐบาลจะเปิดใจกว้างขึ้นในเรื่องนี้ หรือเป็นเพราะประเทศไทยไม่พร้อมที่จะจัดการเรื่องเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม?

Let’s get this straight: this has ABSOLUTELY NOTHING to do with Thais or outsiders. ALL governments have always treated their citizens as stupid children. Many functionaries in the Thai government think power and decision-making should be centred in the educated, wealthy elite. After all, the poor voted overwhelmingly for Thaksin! It’s up to all of us to FORCE government to give up censorship. When you give people more freedom, they behave more responsibly, not less so.

ถ้าให้พูดอย่างตรงไปตรงมา เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิงว่าจะเป็นประเทศไทยหรือไม่ รัฐบาลทุกประเทศมองประชาชนของตัวเองว่าเป็นเด็กโง่ๆ เสมอ คนจำนวนมากในฝั่งรัฐคิดว่าอำนาจควรสงวนไว้สำหรับชนชั้นนำในตระกูลสูง มีฐานะ และได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีเท่านั้น ซึ่งทำให้คนจนทั้งหมดลงคะแนนให้รัฐบาลทักษิณอย่างท่วมท้น! นี่ขึ้นกับเราทุกคนในการบีบให้รัฐบาลยอมเลิกเซ็นเซอร์ เมื่อคุณให้เสรีภาพกับผู้คนมากขึ้น พวกเขาจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมากขึ้นเช่นกัน ไม่เคยมีน้อยลง

Is there any other NGOs who are supporting the campaign?
มี NGO กลุ่มอื่นสนับสนุนแคมเปญนี้หรือไม่?

FACT is part of the Global Internet Liberty Campaign, an online anti-censorship movement of 60 or so international human rights and civil liberties groups. FACT has the support of these groups through its statement of purpose. In addition, many local and international groups have pledged their support.

FACT เป็นส่วนหนึ่งของ Global Internet Liberty Campaign ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านการเซ็นเซอร์ที่เกิดจากกลุ่มทางด้านสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติมากกว่า 60 กลุ่ม FACT ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเหล่านี้ผ่านทางข้อเสนอของ FACT นอกจากกลุ่มใหญ่นี้แล้วยังมีกลุ่มเคลื่อนไหวทั้งในและนอกประเทศอีกมากที่ช่วยสนับสนุนเรา

Shouldn’t we target to promote the idea through other means apart from the internet?
เราควรจะเผยแพร่แนวคิดนี้ในสื่ออื่นๆ นอกเหนือจากอินเทอร์เน็ตหรือเปล่า

FACT is by no means fighting censorship only on the Internet. We have research into banned books and are scanning their content into PDF for Web publication as part of FACT’s Banned Books Project. FACT opposes ALL censorship.

FACT ไม่ใช่การต่อสู้กับการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตเท่านั้น เรายังได้ค้นคว้าเรื่องหนังสือที่ถูกประกาศห้าม และสแกนเก็บไว้เป็น PDF สำหรับโครงการหนังสือต้องห้ามของ FACT เราต่อต้านการเซ็นเซอร์ทุกชนิด

จาก tr

What would be FACT’s next move if the ministry of ICT manages to remove (or not) the death penalty from that bill?
FACT จะทำอะไรต่อถ้ากระทรวงไอซีทียกเลิกโทษประหารชีวิตจาก พรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์

The presence of the death penalty in the government’s cybercrime bill is not its only fault. The bill, in essence, criminalises ISPs and Internet users for content published by others.

พรบ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีโทษประหารชีวิตเพียงอย่างเดียว พรบ. นี้ยังส่งผลให้ผู้ให้บริการและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นอาชญากร แม้ว่าเป็นข้อมูลของคนอื่น

Should the bill be passed including capital punishment, I think we will have to SHAME Thailand into recanting before the rest of the world. If the death penalty is deleted, is life imprisonment any better? What is this, the Middle Ages? Crusades and crucifixions? I can see that boycott action against ISPs or other interests might be necessary should the bill be passed with repressive features.

ถ้ากฎหมายฉบับนี้ผ่านทั้งที่มีโทษประหาร ผมคิดว่าเราควรจะละอายในประเทศไทยก่อนใครเพื่อน แต่ถ้าโทษประหารถูกเอาออกไป โทษจำคุกตลอดชีวิตก็ยังคงอยู่ไม่ใช่เหรอ? นี่เราอยู่ในยุคกลางหรือเปล่า? ผมเห็นว่าการบอยคอต ISP อาจเป็นเรื่องจำเป็นที่กฎหมายต้องผ่านเรื่องนี้

จาก ipats

Some of parents think that censorship will help to protect their kids from some bad contents, so they support the censorship. How do you think about this?
ผู้ปกครองบางคนคิดว่าการเซ็นเซอร์จะช่วยป้องกันลูกหลานจากเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
พวกเข้าจึงสนับสนุนการเซ็นเซอร์ คุณมีความคิดเห็นอย่างไร?

I call those BAD PARENTS! In large part, I am campaigning against censorship for the future of my own eight-year old daughter and two younger grandchildren (with another on the way!). I don’t ever want them to come up to a blocked page that tells them, “You’re too stupid to look at this.” I want them to grow up to be THINKING people, capable of making their own decisions as to right and wrong. I see nothing wrong with parents using Net Nanny-type software on their children’s computers. But I do think that parents who want to give away control to some government Big Brother should never have had kids. My daughter’s computer is next to mine. She asks me many questions. If she finds something disturbing/disgusting/shocking/weird, she’ll ask me about it if she’s curious. Otherwise, she’ll do what everyone should: go on to the next page!

ผมเรียกผู้ปกครองเหล่านั้นว่าเป็นผู้ปกครองที่แย่ ในระยะยาวแล้วผมเริ่มแคมเปญ FACT นี้เพื่ออนาคตของลูกสาววัย 8 ขวบของผม และหลานอีกสองคน (อีกคนกำลังตามมา!) ผมไม่อยากให้พวกเขาต้องพบกับหน้าเว็บที่ถูกบล็อกและเขียนว่า “คุณโง่เกินกว่าจะดูเว็บนี้ได้อย่างเหมาะสม” ผมอยากให้พวกเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักคิด สามารถตัดสินใจด้วยตัวเองว่าอะไรผิดถูก

ผมคิดว่าพ่อแม่ที่ใช้โปรแกรมเซ็นเซอร์ประเภท Net-nanny กับคอมพิวเตอร์ของลูกนั้นไม่ผิดอะไร แต่พ่อแม่ที่ยินดีมอบสิทธิ์ในการควบคุมให้กับหน่วยงานภาครัฐนั้นก็ไม่ควรจะมีลูกตั้งแต่แรก ผมตั้งคอมพิวเตอร์ของลูกสาวไว้โต๊ะติดกันกับผม เธอถามผมเยอะมากในแต่ละเรื่อง ถ้าเธอเจอสิ่งที่เป็นอันตราย/แปลก/น่ารังเกียจ เธอจะถามผมได้เนื่องจากเธอสงสัยว่ามันคืออะไร มิฉะนั้นแล้วเธอจะเหมือนคนอื่นๆ คือเปิดเข้าไปโดยไม่ปรึกษาใคร

Should we change their mind to realize that the censorship will not cause the internet danger to be decreased and its cost, including money, time, resources, etc. , is very high and not acceptable? How?
เราควรจะทำให้เค้าตระหนักว่าการเซ็นเซอร์ไม่ได้ทำให้อันตรายจากอินเทอร์เน็ตลดลง
และต้นทุนของมัน ทั้งเงิน เวลา ทรัพยากร ฯลฯ สูงมาก และไม่สามารถยอมรับได้? อย่างไร?

This question is the central part of FACT’s approach to government. Even if government believes in censoring, say, pornography, any effort is completely hopeless. There are five to seven BILLION cached webpages, between one and two billion active pages, more than 100 million blogs. Around ten percent of all this content is thought to be pornography, roughly ten million websites. Even if we wanted to, it would take an army of porn-surfing censors and Thailand’s entire national budget and, I firmly believe, we STILL wouldn’t really eliminate all of it. We could actually put that money to good use working on real problems in Thai society instead of imagined threats.

คำถามนี้คือหัวใจสำคัญของข้อเสนอที่ FACT มีต่อรัฐบาล แม้ว่ารัฐบาลเชื่อมั่นในการเซ็นเซอร์ภาพโป๊ ความพยายามในการเซ็นเซอร์จะไม่มีวันสำเร็จ

ทุกวันนี้เรามีเว็บประมาณ 1-2 พันล้านหน้า รวมกับที่แคชไว้อีก 5-7 พันล้านหน้า และบล็อกกว่า 100 ล้านบล็อก อัตราส่วนของเว็บโป๊จะอยู่ที่ประมาณ 10% ซึ่งตีว่าประมาณ 10 ล้านเว็บไซต์ การเซ็นเซอร์ต้องใช้บุคคลากรนั่งตรวจสอบเป็นกองทัพ และงบประมาณทั้งหมดของประเทศ กระนั้นก็ตามผมเชื่อว่าเราไม่มีวันกำจัดเว็บโป๊ทั้งหมดออกไปได้ เราควรนำเงินส่วนนี้ไปแก้ปัญหาสังคม ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาจริงๆ มากกว่าสิ่งที่เราคาดว่ามันน่าจะเป็นปัญหาแบบนี้

There is absolutely no use whatever in putting up the APPEARANCE of doing something when we really have no hope. Better to educate people properly and then let them decide for themselves.

ไม่มีประโยชน์อะไรที่พยายามจะทำในสิ่งที่เรารู้ว่ามันไม่มีวันสำเร็จ สู้ไปให้การศึกษาอย่างเหมาะสม และปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองจะดีกว่า

จาก mk (อีกรอบ)

The Council of State (Government’s Law arm) has ruled in “Decree #343/2549” (Clarification on authority to block inappropriated Internet websites by mean of article 132 of the Criminal Codes: second point) that the Royal Thai Police cannot close a web site nor it may ask for court permission to do so because there is no law giving such an authority. The clarification was clear that there is no law empowering such a blockage. Risking themselves against the law, what is the real motive behind Internet censorship?

คณะกรรมาธิการกฤษฎีกาได้มีความเห็นทางกฎหมายในบันทึกฉบับที่ ๓๔๓/๒๕๔๙ (เรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจในการปิดกั้นเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ทางอินเทอร์เน็ต และของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๑๓๒ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) ว่าตำรวจไม่สามารถปิดเว็บไซต์หรือขอให้ศาลสั่งปิด เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ คำประกาศนี้ชัดเจนมากว่าไม่มีกฎหมายบังคับใช้ในเรื่องนี้ ทำไมพวกเขาถึงกล้าเสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย อะไรคือเป้าหมายเบื้องหลังการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตกันแน่?

Excellent point! The Royal Thai Police is a far bigger censorship culprit than MICT. They went to the Council of State for clarification regarding the legality of their censorship. To put it simply, the Council of State ruled that Internet censorship in Thailand is ILLEGAL. However, that didn’t stop them continuing blocking, as they have since 1999. This was re-emphasised in the Administrative Court in the grounds for their order restraining blocking of Midnight University.

เป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก ตำรวจเป็นจำเลยในเรื่องการเซ็นเซอร์มากกว่ากระทรวงไอซีทีเสียอีก ถึงแม้ว่ากฤษฎีกาจะตีความว่าการเซ็นเซอร์ในประเทศไทยนั้นผิดกฎหมาย แต่ตำรวจก็ยังไม่หยุดเซ็นเซอร์ตั้งแต่ปี 1999 เรื่องนี้ยังถูกเน้นอีกครั้งในการตีความของศาลปกครองกรณีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

The real motive, IMNSHO, of Thai government censorship is fear. Knowledge is power and government is afraid of people having too much of it. There has always been a hidden political agenda in Thai censorship, whether talking about the monarchy, religion or the Muslim South. Take a look at the Thai Terrorist Web Hunter site.

ในมุมมองของผม แรงจูงใจที่แท้จริงเกิดจากความกลัวของรัฐบาลไทย ความรู้คืออาวุธ และรัฐบาลไทยไม่ต้องการให้ประชาชนมีความรู้มากเกินไป มันมักจะมีประเด็นทางการเมืองซ่อนเร้นอยู่หลังการเซ็นเซอร์เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระมหากษัตริย์ ศาสนา หรือปัญหาภาคใต้ ลองดูจากเว็บ Thai Terrorist Web Hunter

Were the Internet completely free in Thailand, I don’t think we’d see any destructive effects. But you have to realise, these government functionaries have built this up to be their whole reason for existence, and it’s pure fiction. A few might have to look for an honest job!

ผมไม่เห็นว่าจะเกิดผลเสียอะไรถ้าอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยไม่ถูกปิดกั้น แต่คุณก็ควรตระหนักว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่หน่วยงานด้านเซ็นเซอร์สร้างขึ้นเพื่อหาเหตุผลในการทำงานของตัวเอง ซึ่งมันเป็นเรื่องแต่งล้วนๆ มีน้อยมากที่ทำตามหน้าที่อย่างซื่อตรง

จาก sirn

– If the FACT website got censored, what would you do?
– If some random (Thai) website got censored, what would you recommends them to do?

ถ้าเว็บไซต์ FACT ถูกเซ็นเซอร์ คุณจะทำอย่างไร
ถ้าเว็บไซต์ในประเทศไทยสักแห่งถูกเซ็นเซอร์ คุณจะแนะนำให้พวกเขาทำอะไร

Great question! If FACT’s site ever gets blocked, we will make it the focus of a huge international campaign exposing Thai government political repression against human rights, civil liberties and basic freedoms. We’d make it an international incident. Don’t forget that Thailand signed the UN’s Universal Declaration of Human Rights. Its signing in 1948 far predated the Internet, but the same rights to free expression, free association, free communication may all be found there. Blogsites are harder to block without disrupting a lot of Web traffic which is why FACT chose WordPress. But we already have contingencies plans for new websites in the event we get blocked.

นี่เป็นคำถามที่ดีมาก ถ้าเว็บไซต์ FACT ถูกบล็อค เราจะทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นในระดับนานาชาติว่ารัฐบาลไทยปิดกั้นสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยลงนามในสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ถึงแม้ว่าสนธิสัญญานี้จะเกิดก่อนอินเทอร์เน็ตหลายปี แต่ใจความหลักในด้านการแสดงความเห็นอย่างเสรีก็ยังใช้ได้ FACT เลือกใช้บริการ WordPress.com เพื่อให้ยากแก่การบล็อค เพราะจะมีผลกระทบต่อเว็บอื่นๆ แต่ในกรณีที่ถูกบล็อคจริงๆ เราก็มีแผนจะเปิดเว็บใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ดี

EVERY webmaster should be keeping a core email list of readers of their website. Then, if the site gets blocked, one can move to a new, unblocked URL and notify everyone, along with press releases.

สำหรับคำถามที่สอง เว็บมาสเตอร์ทุกคนควรเก็บอีเมลของผู้อ่านรายสำคัญเอาไว้ เพื่อว่ากรณีที่ถูกบล็อค จะสามารถแจ้ง URL ใหม่ให้กับผู้อ่านได้

If YOUR favourite website is blocked, tell us. FACT will publicise this as part of our campaign.

ถ้าเว็บไซต์ที่คุณชอบถูกบล็อค ให้คุณบอกเรา FACT จะเผยแพร่เรื่องนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญของเรา

จาก CCCP

As we know, The censorship wasn’t a trusty way to control the internet. If the authorities bring down their censorship, how should we control an inappropriate content?
Does censorship still be necessary?

เราทราบกันดีว่าการเซ็นเซอร์ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมในการควบคุมอินเทอร์เน็ต สมมติว่ารัฐบาลเลิกเซ็นเซฮร์ เราจะควบคุมเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้อย่างไร?
การเซ็นเซอร์จำเป็นจริงๆ หรือเปล่า?

Precisely. Censorship simply doesn’t work! No, censorship is NEVER necessary. A fully-informed population in which government has afforded a full, rich and diverse education through exposure to EVERYTHING will do the right thing.

ถูกต้องแล้ว การเซ็นเซอร์ไม่สามารถทำงานได้ และไม่เคยเป็นสิ่งจำเป็น

ประชาชนที่ได้รับข้อมูลครบถ้วน ซึ่งรัฐบาลสามารถให้การศึกษาที่เหมาะสมสามารถรับมือได้กับทุกเรื่อง

Let’s take lese majeste as a good example here in Thailand. It’s never His Majesty who tells us he’s been slighted in some way, it’s some other bureaucrat who presumes to speak for His Majesty. Nai Luang is a very broadminded and bighearted person who, I believe, has the interests of every Thai person at heart. Of course, he is also a human and subject to some human failings. He walks a razor’s edge in every one of his decisions and has done an excellent job. But it wasn’t Nai Luang who banned “A King Never Smiles” and blocks all those websites! Seriously, how is it conceivable to believe that any Thai person would lose respect for His Majesty because of what they read on the Internet?!?

ตัวอย่างคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย ในหลวงไม่เคยบอกเราว่าท่านโดนหมิ่นอย่างไร มันเป็นเรื่องที่ข้าราชการบางคนทึกทักเอาเอง ผมเชื่อว่าในหลวงทรงเป็นบุคคลที่เปิดใจกว้าง และสนใจในความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างแท้จริง ท่านทำงานที่มีประโยชน์ต่อประเทศจำนวนมาก แต่ในหลวงไม่ได้เป็นคนแบนหนังสือ “A King Never Smiles” หรือบล็อคเว็บไซต์ที่หมิ่นท่าน

มันเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากว่าคนไทยจะเลิกนับถือในหลวงเพียงแค่อ่านเรื่องไม่ดีในอินเทอร์เน็ต

จาก msmart

You are my Hero.Actually i’m looking for someone who can do this so long but …
So , What do u think about that to organize the FACT to fight for Internet censorship in Thailand but head by foreighner?

คุณเป็นฮีโร่ของผม ผมมองหาคนที่สามารถทำเรื่องนี้ได้มาเป็นเวลานานแล้ว คุณคิดอย่างไรที่ FACT ต่อสู้เพื่อการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย แต่นำโดยคนต่างชาติ?

Look, I don’t know why it had to be me! I’d much rather be drinking beer and watching TV! (Just kidding! I’d rather be drinking better wine, swimming in the sea and reading a wonderful book!)

ผมไม่รู้ว่าทำไมจึงต้องเป็นผม ผมอยากนั่งดื่มเบียร์ดูทีวีมากกว่า (ล้อเล่นนะ ผมอยากดื่มไวน์ดีๆ ว่ายน้ำในทะเล อ่านหนังสือดีๆ มากกว่า)

FACT’s central premise is NO CENSORSHIP / NO COMPROMISE! I honestly wonder sometimes if most of our signers actually knew what they were signing! This is a very strong and radical political statement. Perhaps a Thai activist would not have been so strong. Somehow, I’ve always had a very finely tuned social conscience. I simply can’t walk by injustice.

ข้อเสนอหลักของ FACT คือ “ไม่เอาเซ็นเซอร์! ไม่ประณีประนอม!” บางครั้งผมสงสัยว่าคนที่ร่วมลงชื่อนั้นรู้หรือเปล่าว่าเขาลงชื่ออะไรไป เนื่องจากมันเป็นจุดยืนทางการเมืองที่ค่อนข้างแรง อย่างไรก็ตาม ผมมักจะมีสำนึกรับผิดชอบชั่วดีที่เหมาะสม ผมแค่ทนความอยุติธรรมไม่ได้เท่านั้นเอง

Do you think I’m a foreigner because of my skin or that my Thai is so bad? I live here; Thailand belongs to me as much as to you. I’m not going anywhere.

คุณคิดว่าผมเป็นคนต่างชาติเพราะว่าสีผิว หรือเพราะผมพูดไทยไม่เก่ง? ผมอาศัยอยู่ที่นี่ ประเทศไทยเป็นของผมเท่าๆ กับที่เป็นของคุณ ผมจะไม่ไปอยู่ที่อื่น

Information just wants to be free.

ข้อมูลข่าวสารต้องการจะเป็นอิสระเท่านั้นเอง

 

ไปรษณีย์

แม้ผมจะเขียนบล็อกมานับพันบทความ เล่น IM มานานหลายปี แต่ความจริงข้อหนึ่งที่ปฎิเสธไม่ได้คือสื่อที่ดูมีคุณค่าที่สุดยังคงเป็นไปรษณีย์กระดาษที่เดินทางมาถึงบ้านผ่านบุรุษไปรษณีย์

ไม่รู้ว่าจำกันได้รึเปล่า แต่สมัยประมาณสิบกว่าปีก่อนนี้ Pen Friend ดูเป็นคำฮิตอยู่มาก แต่ด้วยสังคมที่ดูน่ากลัวขึ้นทุกวัน การบอกที่อยู่บ้านอาจจะเป็นเรื่องอันตรายสำหรับหลายๆ คน

มันจะเป็นไปได้ไหม ที่เราจะสร้างเครือข่ายเพื่อติดต่อกันผ่านไปรษณีย์กระดาษ อาจจะมีกติกาให้ทุกคนมีตู้ ปณ. เป็นของตัวเอง อาจจะใช้ร่วมกันหลายๆ คน เพื่อส่งข้อความถึงกันผ่านทางลายมือ

มันดูอบอุ่นกว่าคุยผ่านอีเมลนะ

 

คำแนะนำการบล็อกเว็บถึงกระทรวงไอซีที

ใครอ่าน Blognone คงรู้ว่าผมมีท่าทีต่อต้านการบล็อกเว็บมาโดยตลอด คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ “ไม่บล็อกแล้วจะให้ทำยังไง” วันนี้เลยลองมาเขียนดูคร่าวๆ แล้วกัน

อย่างหนึ่งที่ผมเชื่อคือไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว การบล็อกเว็บไม่เคยแก้ไขสิ่งที่เรามองว่าเป็นปัญหาไปแม้แต่น้อย อินเทอร์เน็ตถูกออกแบบมาตั้งแต่วันแรกให้ทนทานต่อการเสียหายไปบางส่วน หรือกระทั้งการเสียหายไปเป็นส่วนใหญ่ โดยที่ส่วนที่เหลือยังคงทำงานได้อย่างปรกติ การปิดกั้นบางส่วนในอินเทอร์เน็ตเป็นความพยายามที่มีผลเพียงช่วงเวลาสั้นๆ โดยส่วนที่เหลือจะกลับมาใช้งานได้ในเวลาไม่นานนัก การออกแบบเช่นนี้เนื่องจากอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการทหารในยุคที่โลกต้องเผชิญความหวาดกลัวกับสงครามนิวเคลียร์ การออกแบบเช่นนี้ทำให้อินเทอร์เน็ตเติบโตอย่างรวดเร็ว และแน่นอนว่าขาดการควบคุมจากศูนย์ฺกลางที่แท้จริง

การบล็อกการใช้งานสร้างความเสียหายทุกครั้ง เนื่องจากการใช้งานในส่วนที่ดีมักถูกผลกระทบตามไปด้วยเสมอๆ เราเคยเห็นมาตรการการกรองคำสำคัญเช่น sex ไม่ให้สามารถใช้งานได้ ผลคือการศึกษาในทางสร้างสรรของเรื่องเพศกลับถูกปิดกั้น หรือภาคธุรกิจต้องเสียหายเนื่องจาก URL ที่ใช้งานแล้วกลับถูกปิดกั้น เนื่องจากชื่อ URL ที่หลายๆ ครั้งถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์บังเอิญไปสร้าง URL ที่มีคำสำคัญเหล่านั้นโดยบังเอิญ ด้วยปัญหาหลายๆ ประการ การบล็อคเว็บแบบเหมารวมทั้งประเทศจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาว

หนทางที่ไอซีทีจะแก้ปัญหานี้ได้ โดยลดผลกระทบต่อความไม่เชื่อใจในกระบวนการบล็อคเว็บ

  1. เปิดเผยรายชื่อเว็บที่ควรถูกบล็อกทั้งหมดให้มีหนทางตรวจสอบได้อย่างชัดเจน เพื่อลดคำครหาและแสดงความจริงใจว่ากระบวนการบล็อคเว็บจะไม่ถูกใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง หรือประโยชน์ส่วนบุคคลอื่นๆ
  2. สร้างกระบวนการตัดสินใจเลือกเว็บที่จะถูกบล็อคที่สามารถอธิบายได้ว่าเว็บใดจึงควรบล็อคและเว็บใดไม่จำเป็นต้องบล็อค ที่สำคัญคือการบล็อคโดยการกดดันจากสื่อหลักเพียงไม่กี่รายที่มีผู้ตัดสินใจลงข่าวไม่กี่คนนั้นไม่ใช่กระบวนการที่ดี
  3. การให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปจะต้องไม่มีการบล็อคใดๆ ทั้งสิ้น
  4. สร้างกติกาให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศ ต้องเปิดบริการเสริมเพื่อป้องกันเว็บไม่พึงประสงค์ โดยผู้ใช้สมัครใจ
  5. สร้างมาตรฐานชื่อบริการเสริมนี้เพือลดความสับสนของผู้บริโภค ดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงให้ประชาชนที่ต้องการป้องกันเยาวชนในการดูแลของตนให้สามารถเปิดบริการเหล่านี้ได้ง่าย
  6. กำหนดมาตรฐานของบริการบล็อคเว็บนี้ ว่าอย่างน้อยควรบล็อคเว็บที่ทางไอซีทีระบุว่าเป็นเว็บไม่พึงประสงค์ได้ทั้งหมด
  7. สร้างกติกาให้ร้านอินเทอร์เน็ต หรืออินเทอร์เน็ตสาธารณะที่เยาวชนเข้าถึงได้ ต้องเปิดบริการนี้ไว้ตลอดเวลา เว้นแต่ทางผู้ให้บริการตรวจสอบแล้วว่าผู้ใช้บริการบรรลุนิติภาวะ

ด้วยการเปิดบริการการบล็อคแบบสมัครใจ ประชาชนที่กังวลว่าเยาวชนจะติดอยู่กับสื่อไม่พึงประสงค์จะมีทางเลือกที่จะป้องกันได้ทางหนึ่ง กระนั้นไอซีทีควรให้ความรู้กับประชาชนว่าการบล็อคไม่ใช่การแก้ปัญหา และผู้ปกครองควรใส่ใจกับพฤติกรรมการใช้งานของบุตรหลานมากกว่าจะหวังพึ่งบริการเหล่านี้

 

5 บล็อกที่คุณไม่รู้ว่าผมอ่านประจำ

  1. บล็อกแมวหลอน ว่าด้วยชีวิตของแอร์สาว ที่เห็นว่าเพิ่งลดความสาวไปอีกหน่อยแล้วในบล็อกล่าสุด อ่านสนุกด้วยข้อความแรงๆ แบบแปลกๆ (เจ้าของมาเห็นเค้าจะดีใจม่ะ) เอาเป็นว่าเป็นบล็อกแรกที่อ่านแล้ว ผมต้องไปนั่งรื้อบล็อกเก่าๆ มาอ่านด้วยความมันส์
  2. Dunbine บล็อกสารพัดเรื่องราวที่เน้นการกินเป็นพิเศษ คงไม่ต้องอธิบายเหตุผลที่ผมอ่านเพิ่มเติม แต่น่าสนใจว่าผมเจอบล็อกนี้จากกูเกิลเพราะหาร้านอาหาร!
  3. Adverblog บล็อกรวมโฆษณาแปลกๆ จากต่างประเทศ เข้าไปแค่ดูรูปก็คุ้มแล้ว เจอโดยบังเอิญใน Recently Update ของ exteen
  4. Barkata แม้ตัวผมเองจะกินแอลกอฮอล์ต่ำมากๆ ชนิดที่ว่าสี่ปีในมหาวิทยาลัยกินเบียร์ไปไม่เกินสี่กระป๋อง แต่อ่านเรื่องการชงเหล้านี่มันก็สนุกดีไม่ใช่เล่นนะ บล็อกนี้เจอจากการกดมั่วๆ ใน Recently Update อีกเช่นกัน
  5. Impression บันทึกของผู้หญิงคนหนึ่งที่บันทึกความประทับใจทุกอย่างกับแฟนของเธอ อ่านได้ทุกวันว่าวันนี้เธอคุยโทรศัพท์กับแฟนกี่นาที ไปเดินสยามตอนกี่โมง ที่น่าสนใจคือแม้จะเขียนละเอียดขนาดนี้ แต่เธอไม่เคยหลุดข้อมูลส่วนตัวออกมาเลย

เพิ่งเห็นว่าอ่านแต่บล็อกใน exteen แฮะ….