OpenRRCP

วันนี้เจอเรื่องน่าสนใจใน Freshmeat คือโปรแกรม OpenRRCP โดยตัว RRCP นี้เป็นมาตรฐานในการควบคุมชิปของ RealTek โดยเฉพาะ

เรื่องของเรื่องคือทุกวันนี้หากหน่วยงานใดต้องการเข้าใช้งานที่ต้องการจัดการระบบ LAN มากกว่าปรกติ โดยเฉพาะการใช้งาน VLAN ที่สามารถแบ่งสวิตซ์หนึ่งตัวให้เหมือนทำงานเป็นสวิตซ์หลายตัว ตลอดจนรวมช่องทางสื่อสารของแลนหลายวงเข้าไว้ด้วยกัน เรื่องที่จำเป็นคือการไปซื้อ Managed Switch ที่สามารถคอนฟิกผ่านทางเว็บหรือทาง Telnet ก็ว่ากันไป ซึ่งระบบที่เข้าไปควบคุมนี้ราคาค่อนข้างสูง ทำให้ตัว Managed Switch นี้มีราคาสูงถึงเท่าตัวของ Switch ทั่วไป

ที่น่าสนใจคืองานส่วนใหญ่ของตัวสวิตซ์เองต้องทำงานผ่านทางชิปควบคุมโดยเฉพาะ เช่นชิป RealTek RTL8316B ที่น่าสนใจมากคือไม่ใช่แค่สวิตซ์ราคาถูกเท่านั้นที่ใช้งานชิปตัวนี้ แต่สวิตซ์พื้นฐานราคาไม่กี่พันบาทก็ใช้งานชิปตัวเดียวกัน

นั่นแสดงว่า จริงๆ แล้วสวิตซ์ราคาถูกก็ทำงานได้ไม่ต่างกันถ้าเรามีวิธีเข้าไปควบคุมชิปที่ว่านี้ได้…

งานนี้ทาง RealTek ก็แอบใส่วิธีที่ว่าไว้จริงๆ ด้วยโปรโตคอล RRCP ที่เป็นโปรโตคอลเฉพาะ ทำงานใน Layer2 นั่นคือไม่ต้องการ IP ในการทำงานแต่อย่างใด  แม้อาจจะไม่เก่งกาจเท่าสวิตซ์ราคาแพงหลายๆ ตัว แต่ก็เรียกว่าครบครันทั้ง QoS และ VLAN นับว่าเกินความต้องการกันพอสมควร

รุ่นที่น่าสนใจที่สุดคงเป็น Compex SDS1224 ที่ทำได้ทุกอย่างอยู่แล้วโดยไม่ต้องโมฮาร์ดแวร์

ไว้ไปซื้อมาลองดีกว่า…..

 

Wiimote

วันนี้ WiiMote เพิ่งลงจากเครื่องบินมาถึงที่ ม.

ผมสั่งซื้อ WiiMote มาเพราะวีดีโอของ Johnny Chung Lee ที่สาธิตการใช้งาน WiiMote ให้สามารถสร้าง White Board อิเลกทรอนิกส์จากหน้าจอแทบทุกประเภท ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ Protocol ของ WiiMote นั้นค่อนข้างเรียบง่าย และใช้ชิปมาตรฐานที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น Bluetooh HID, กล้อง IR แบบ I2C ตลอดจน Flash ภายในตัว ที่ถ้าใครเดินบ้านหม้อบ่อยๆ ก็จะเห็นๆ ว่าราคา 1200 บาทที่วางตลาดกันอยู่ในญี่ปุ่นนั้นกำไรแน่ๆ

ที่น่าสนใจคือ WiiMote นั้นนำมาใช้งานแทน Presentation Mouse ได้ดีมาก เทียบกับเมาส์แบบไร้ยี่ห้อ (เช่นนี้) ในราคาที่พอๆ กัน Wiimote นั้นรองรับปุ่มจำนวนมากกว่า แถมยังหาซื้อได้ทั่วไป ยิ่งเรื่องของ Driver นั้นไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเหล่าแฟนๆ มีเขียนไว้ให้ทั้งบนวินโดวส์, ลินุกซ์ และ OSX

ปีหน้ามีหาเด็กเอา WiiMote มาทำโปรเจคจบน่าจะเข้าท่าดีเหมือนกัน

 

ด้วยรักและ Ubuntu

แม้จะขึ้นปีสองแล้ว แต่ Ubuntu ยังคงตามรับน้องผมไม่หยุดหย่อน

  • Sound Card เจ๊งไปเป็นรอบที่สี่ที่ห้าแล้ว แต่รอบนี้แก้ได้ด้วยการใส่ option ใน /etc/modprobe.d/alsa-base อย่างเดียว ไม่ต้องคอมไฟล์ alsa ใหม่
    • แต่ยังไม่จบ มีคนระบอกว่าถ้าใช้ model=laptop-eapd แทน model=3stack เสียงจะดีเหมือนตอนใช้วินโดวส์
    • ลองแล้วดีจริง แต่ปรากฏว่ามันปิด speaker ไม่ได้ – -” อ่านไปอ่านมา มีคนบอกว่าต้อง patch alsa แล้วคอมไพล์ใหม่ อีกแล้ว!!!!
    • คอมไพล์แล้ว alsa เจ๊งไปเลย driver โหลดไม่ขึ้น มีคนบอกอีกว่าให้ลง kernel ใหม่เป็น linux-ubunut-modules
    • ลงใหม่บูตปั๊บไวร์เลสกลับบ้านทันที เนื่องจากไม่มี Restricted Driver ทางเดียวคือบูตกลับไป kernel เดิมแล้วกลับไปลงใหม่
    • ตอนนี้ใช้ linux-ubuntu-modules แล้วแต่ยังไม่กล้าลง alsa ใหม่ มันหลอนๆ (คอมไพล์แล้ว รอ install อย่างเดียว..)
  • ความหวังอันสูงสุดในการใช้งาน Gutsy คือการใช้ Dual Monitor ที่รุ่นนี้โฆษณามาดิบดีว่ามีตัว config เป็น GUI มาให้ ใช้งานดั่งใจนึก
    • ลงปั๊บก็บอกกับตัวเอง “กูนึกแล้ว” (ว่ามันต้องไม่เวิร์ค) ด้วยเหตุผลที่ไม่รู้มีใครบอกได้ตัวคอนฟิกที่มากับ Gutsy ไม่ให้ผมใช้งานจอที่สอง
    • ว่าแล้วก็ยังมีความหวังกับ URandR อ่านจาก Planet Ubuntu มานาน ก็ได้เวลาลอง
    • ทายซิว่าผลเป็นยังไง….
    • สุดท้ายก็มีแต่ command line ที่เข้าใจเรา เล่นเองกับ xrandr ครับพร้อมการคอนฟิก XOrg ไปอีกสองสามรอบ
    • ฟังดูง่าแต่ X บึ้มไปประมาณสามรอบได้ BulletProof ไม่ทำงานครับ – -” ต้องเข้าไปดึง xorg.conf ตัวเก่ามาทับเอง รอดตายไป….
    • วิบากกรรมอื่นๆ ก็มีเช่น intel GMA 950 จะไม่สามารถใช้ Hardware Acceleration ได้ถ้าขนาด Virtual Screen ใหญ่กว่า 2048×2048 ผลคือเราต้องเอาจอที่สองไปวางไว้ข้างล่าง
    • ยัง… ยังไม่จบ ผลล่าสุดคือ Gnome-Panel มันดันไม่รักดีไม่ยอมอยู่จอหลัก หลบไปอยู่จอเล็ก ตอนนี้กำลังง้องอนให้มันกลับมาอยู่

ประมวลภาพอยู่ด้านล่างครับ

หน้าจอ Config ของ Gutsy Gibbon ที่รอคอย

URandR

xrandr เวิร์คเกินคาด

หน้าจอปัจจุบัน – -“

ถึงจะทำเราเจ็บปวดแค่ไหนก็ยังยืนยันจะใช้ต่อไปครับ :P

 

ด้วยรักและ Ubuntu

  • dist-upgrade เป็นโปรแกรมที่ Over-Simplified อย่างรุนแรง แนวคิด just work กลายเป็น just don’t work
    • ไม่มีให้เลือกทิ้งบางโปรแกรม ผลคือผมต้องโหลดไฟล์เพิ่มเติมอีก 885 เมกกะไบต์ ทั้งที่โปรแกรมส่วนใหญ่แค่ลองลงเล่นๆ และไม่ได้ใช้งานนานแล้ว
    • โหลดเยอะไม่ว่า แต่ไม่มีโหมดหยุดกลางคัน ใครเน็ตช้าก็จบกันเลย
    • status หยาบมากอัพจนมันเดี๊ยงไปยังไม่รู้ตัว
  • Compiz ยังไม่พร้อมอย่างรุนแรง แค่ Dictionary Applet ยังใช้งานไม่ได้
  • บั๊ก Intel HDA ยังอยู่เช่นเดียวกับสมัย Feisty
  • แต่ยังไงก็ยังรักมั่นจะใช้ต่อไป ยิ่งช่วงนี้ทำ Simulation บน NS-2 แล้ว รัก Ubuntu หมดใจ….