Blognone Upgrade Path

ช่วงนี้ถึงเวลาการอัพเกรด Blognone อีกครั้ง ตอนแรกหวังว่าจะเสร็จในไตรมาสแรก แต่ตอนนี้คงไม่ทันแล้ว (หวังว่าจะเสร็จในช่วงเมษา) แต่เตรียมอะไรไว้หลายๆ อย่างแล้ว คงมาจดอีกไว้ก่อน

  1. การอัพเกรดรอบนี้คงเป็น clean install แล้วย้ายข้อมูลจากฐานข้อมูลเดิมมาด้วย script เพื่อลดขยะจากตารางสารพัดจากโมดูลที่เคยใช้ ตั้งแต่สมัย 5-6 ปีก่อน
  2. ใช้ Drupal 7 ตามแนวทางเว็บที่ทำไปก่อนหน้าแล้วคือ MEconomics
  3. ธีมเป็น Responsive ยกเลิกหน้าเว็บ Mobile/Kindle ออกทั้งหมด แก้ปัญหาเรื่อง SEO ไปด้วยพร้อมกัน
  4. เปิด authentication แบบเดัียวคือ OpenID เท่านั้น ยกเลิก Site Network เพราะตัว Drupal เองก็ไม่แนะนำให้ใช้มาตั้งแต่ Drupal 5 แล้ว
  5. Workflow จะเปลี่ยนไป เพราะมาใช้ Rules + Field Permissions แทน ทำให้ Writer สามารถเข้าไป Edit บาง field ได้

สิ่งที่จะเกิดขึ้น

  1. เว็บใหม่ๆ น่าจะเกิดขึ้นง่ายกว่าเดิม จาก template เว็บที่สร้างไว้ + OpenID ทำให้วิธีการเชื่อมต่อกัน well define กว่าเดิม
  2. อาจจะเปิดให้คนเสนอเว็บแบบใหม่ๆ เข้ามาเรื่อยๆ
 

1st Step

จนวันนี้แล้ว blognone ก็ยังเป็น Drupal 5.x อยู่ เนื่องจากผมขี้เกียจอัพ แถมไม่เห็นประเด็นที่ต้องอัพจริงๆ จังๆ นัก

แต่ช่วงหลังมีไอเดียกระฉูดเรื่องฟีเจอร์ใหม่แล้วปรากฏว่า DP5 มันไม่มีอะไรซัพพอร์ตเลย ขณะที่ DP6 มี API ให้บริการเพียบ

ตกลงปลงใจได้ว่าต้องย้ายแล้ว

แต่อยู่ๆ ไปกดตูม upgrade มันก็เจ๊งกันซะเท่านั้น เลยจะทำ beta tesing กันก่อน (เดี๋ยวคงเปิดให้เข้ามาลองกัน) ปรากฏว่า

  1. Blognone เป็นเว็บที่ใหญ่มาก ข้อมูลทั้งหมด zip แล้วยัง 1.3GB พื้นที่จริงประมาณ 2.7GB
  2. โหลดกลับเครื่องใช้เวลา 3 ชั่วโมง
  3. นั่งคิดวิธี upload อีกพักใหญ่
  4. สุดท้าย @rtsp มาบอกว่าใช้เครื่องที่ ม. remote โหลดเอาน่าจะเวิร์คกว่า
  5. ปัญหาคือ plesk มันต้องโหลดผ่าน URL ประหลาดๆ เลยจะเปิด firefox
  6. ตั้ง X11 ให้ทำ ForwardX11 ทำงานได้ดีไม่มีปัญหา
  7. แต่พอเปิด firefox แล้วกลายเป็น local firefox???
  8. สรุปว่า firefox มันดัก signal ของ x11 เอาไว้ แล้วมันแยกไม่ออกระหว่าง remote กับ local
  9. เปิด firefox -no-remote เป็นอันเสร็จพิธี

ยังไม่ได้งานอะไรเลย นอนแล้ว…

 

Culture

ช่วงนี้มีประเด็นเรื่องวัฒนธรรมในองค์กรเข้ามาให้รับฟังเยอะ พบว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเรื่องหนึ่งในการบริหารงาน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่[บล็อก iPatt](http://www.ipattt.com/2009/wellnet-project/))

ผมไม่ได้เรียนสายบริหาร แต่การดูแล Blognone ก็พบอะไรแนวนี้ได้อย่างน่าประหลาดเหมือนกัน เพราะ Blognone เองนั้นเติบโตมาจากคนกลุ่มเล็กๆ ที่ค่อนข้างมีแนวทางคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาด จนผมไม่แน่ใจว่าเราเป็นที่ที่รวมคนแนวเดียวกัน หรือเราเข้มแข็งพอที่จะโน้มน้าวให้คนเปลี่ยนมาทำตัวในแบบเดียวๆ กัน จนผมคิดว่าเราน่าจะอ้างได้ว่า Blognone เป็นเว็บที่มีวัฒนธรรมของสมาชิกที่เข้มแข็งในระดับหนึ่ง

อย่างน้อยที่สุด เราก็สร้างแนวทางที่บอกว่าการแบ่งปันคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่ช่วยกันพูดถึงเรา ที่ช่วยกันบล็อกในเว็บส่วนตัวว่าท่านได้เขียนลง Blognone แล้ว จนวันนี้บทความมากกว่าครึ่งไม่ได้มาจากผมกับ mk อีกต่อไป!

แต่ยังมีอะไรที่ผมคิดว่าเราต้องสร้างกันเพิ่มอยู่ ผมลองไล่รายการสิ่งที่ผมอยากได้ออกมาคร่าวๆ ดังนี้

– __สังคมแห่งความรู้__ น่าแปลกที่เมืองไทยนั้นอยู่กันด้วยความเชื่ออย่างหนักมาก และเราไม่อยากเป็นเช่นนั้น เราให้คุณค่ากับข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือสูงเราจะให้ความสำคัญมาก เราอิงกับข้อเท็จจริงเป็นหลัก
– __พร้อมถูกตั้งคำถาม__ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ทุกข้อมูลที่คุณใส่เข้ามาต้องพร้อมจะถูกตั้งคำถาม ต้องพร้อมที่จะถูกยันด้วยข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่า
– __ทนทาน__ ขณะที่ Blognone มีประเด็นหลักคือความสนุก (จริงๆ นะ) สนุกที่จะได้รับการแบ่งปัน และสนุกที่จะรับรู้เรื่องที่น่าตื่นเต้น สองข้อข้างบนจะเป็นไปได้ เราคงอยากได้สังคมที่ทนทานต่อคำวิจารณ์ ทนทานเมื่อมีคนอื่นเข้ามาชี้ว่าข้อมูลที่เรานำเสนอไปนั้นมันผิด ผมไม่เชื่อว่าคุณค่ากับการเรียกร้องขี้น้อยใจสารพัด และการบ่นกระปอดกระแปด ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะไม่กล้าตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น และลงท้ายด้วยการอยู่ด้วยความเชื่อกันนั่นเอง

ผมไม่รู้ว่ามันจะเป็นไปได้ไหมกับสังคมไทยที่อลุ้มอล่วย และเต็มไปด้วยความเชื่อที่บางครั้งดูไร้หลักการไปสักหน่อยในสายตาของผม แต่อย่างที่เขียนไปข้างบนๆ ครับ วัฒนธรรมมันไม่ได้สร้างโดยผม แต่มันสร้างโดยทุกคนที่อยู่ในชุมชนต่างหาก

เขียนมาขอให้ช่วยกันทำให้มันเกิดขึ้นดื้อๆ อย่างนี้แหละ

 

Don’t be a zealot.

จากเหตุการณ์ช่วงนี้ เป็นเรื่องที่ผมคาดคิดไว้อยู่แล้วว่าเมื่อ Blognone คนมากขึ้นมันต้องเจอเข้าแน่ๆ แต่ไม่ถึงเวลามันก็นึกกันไม่ออก เลยมารวมรวบไอเดียเอาไว้ เนื่องจากยังไม่ได้เรียบเรียง เลยลุยเป็นข้อๆ ไปล่ะกัน

– ไม่แปลกเลยที่ใครจะชอบหรือไม่ชอบอะไร ผมลำเอียงเสมอ เข้าข้าง ThinkPad อย่างเห็นได้ชัด และมีแง่ลบกับปชป. อยู่
– ปัญหาสำคัญคือพวกขี้น้อยใจ เชื่อผมเถอะ ไม่ว่าจาวา ไมโครซอฟท์ แอปเปิล ฯลฯ เค้าไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรหรอกที่มีคนมาช่วยน้อยใจ บริษัทมันขายของได้มีกำไรก็แบ่งผู้ถือหุ้นไป ง่ายๆ อย่างนั้น
– Blognone เป็นเว็บไอที Apple, ThinkPad ฯลฯ __ไม่ใช่ความเชื่อ__ ไม่ใช่ศาสนา ไม่มีศาสดา ไม่มีซาตาน หลบหลู่ได้ ไม่บาป
– ถ้าเรียนบริหารมาบ้าง คงรู้จักกับ SWOT Analysis ถ้ารักชอบอะไรต้องยอมรับว่าของแต่ละอย่างมันมี Weakness ในตัวมัน ป่วยการที่จะไปไล่บอกชาวบ้านว่าอย่าพูดถึง Weakness
– ว่าง่ายๆ เวลาเจอจุดอ่อน เงียบไว้ได้ ไม่มีใครว่า การไปไล่จี้คนอื่นมาตอบความเห็นตัวเองเป็นอาชญากรรมใน Blognone
– เวลาดีช่วยกันชมเข้าไปก็ได้อีกไม่ว่ากัน +1 ได้บวกไป +10 หรือ +1000 ดูเหมือนเด็กตอบสำหรับผม การบวกเลขมากๆ แสดงความเห็นด้วยมากๆ จะชวนให้ผมรู้สึกว่าความเห็นนั้นน่าจะไม่น่าอ่าน
– ใช้อยู่ก็ติได้ ไม่ใช้ก็ติได้อยู่ดี มันมีเรื่องให้ติเลยไม่ใช้แปลกตรงไหน (ว่ะ)
– ห่วยมากเกินอย่าใช้ ไม่มีตัวเลือกอื่นที่ดีกว่าให้ทนต่อไป ทนไม่ได้เปิดบริษัทสร้างสินค้าเองเลย
– ไม่มีงบเลยไม่ใช้ก็ไม่แปลก ต่อให้เงินเดือนเดือนละล้านก็คงไม่ซื้อตัว Top ทุกยี่ห้อมาเผาเงินเล่น มีเงินเดือนเดือนละล้านผมใช้ R61 แล้วสร้างบ้านหรูๆ อยู่ดี
– คนดูถูกคนอื่นด้วยความจนเป็นคนชั้นต่ำในสายตาผม
– แบรนด์เป็นข้อดี ใช้แล้วดูดีเป็นข้อดี เห็นด้วยเสมอ แต่ประเภทดูดีแล้วรู้สึกว่ามันทนอันนี้เริ่มเป็นความเชื่อ ไม่มีไวรัส ไม่แฮงค์ อันนี้มั่ว ควรตั้งสติก่อนจะเชื่อว่าใช้แล้วบินได้
– เชื่อเถิดว่าไม่มีสินค้าใดสมบูรณ์ ถ้ามีแล้วจีนแดงลอกได้ บริษัทในอเมริกาคงเจ๊งกันหมด
– เพราะฉะนั้นมันจะมีคนติ มันจะมีคนด่า บริษัทมันถึงต้องมี wishlist ให้คนขอการปรับปรุง
– แพงก็เป็นข้อเสีย ไม่แปลกที่มันจะโดนติเพราะมันแพง กาแฟในม. ผม 40 บาทผมก็ติทุกวัน ปากซอยบ้านผม 25 บาทอร่อยไม่ต่างกัน

ผมไม่ใช่คนพุทธ ผมไม่เชื่อว่าคนเราควรละจาก “อารมณ์” สำหรับผมแล้ว “โกรธคือโกรธ โมโหคือโมโห” โกรธได้ โมโหได้ แต่ตำถามคือเราใช้มันเป็นแรงผลักดันอะไร? ประเภทว่า “อัดมันกลับไป” อย่างนี้มันไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่ถ้าคิดอะไรมากกว่านั้นอีกขั้น ใช้แรงจากอารมณ์ตอนนั้นในเชิงบวก ตอบโต้ด้วยข้อมูลและการ contribute ในด้านที่เราสนับสนุ

ผมเชื่อว่ามันจะทำให้โลกดีกว่านี้