กฏเหล็ก marketing online

เรื่องมันเริ่มจากมีน้องมาบอกว่ามีคนมาเนียนโฆษณา (ในที่ๆ ไม่ควรโฆษณา) ของ Blognone

ผมไม่เกลียดโฆษณาครับ ผมซื้อหนังสือหลายต่อหลายเล่ม เพื่อจะอ่านโฆษณาอยู่บ่อยครั้งด้วยซ้ำไป (แต่เลิกอ่านเพราะพบว่าหนังสือกระดาษมันรกบ้านมาก)

แต่ผมไม่เข้าใจว่านักการตลาดภาคออนไลน์ไปเอามาจากไหนกันว่าโฆษณาออนไลน์ ต้องเหมือนว่า “ไม่ใช่โฆษณา” ที่สุดเท่าที่มันจะเป็นโฆษณา????

ผมนั่งบ่นเรื่องนี้จนได้กฏเหล็กสามประการในการโฆษณาออนไลน์

  1. จงเป็นมิตร
  2. จงสัมผัสได้
  3. จงไม่ปิดบังความมีส่วนได้ส่วนเสีย

อินเทอร์เน็ตคือ “การสื่อสาร” ลืมการสื่อสาร “มวลชน” ไปซะ นี่คือการสื่อสารในรูปแบบ mass-customization คุณกำลังสื่อสารกับคนจำนวนมหาศาล และคุณกำลังสื่อสารกับเขาแต่ละคน “ตัวต่อตัว”

จง reply จงตอบ จงพดคุย อย่ายัด อย่าป้อน และอย่าอัด ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นกับแบรนด์และกำลังดำเนินการ ให้แจ้งต่อสาธารณะ

จงเปิดเผย จงแสดงตัว อย่ากลัวที่จะบอกว่าช่องทางไหนคือช่องทางประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ อย่าวิตกว่าถ้าซื้อแบนเนอร์โฆษณาแล้วจะไม่เนียน ตรงกันข้ามควรสร้างความ exclusive นั้นๆ ให้กับช่องทางสื่อสารเช่นนี้เสมอ

อย่าคิดว่ามันประหลาดถ้าจะถ่ายรูปเปิดตู้ container โทรศัพท์รุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าเมืองไทยเป็นตู้แรก รูปเบลอๆ หนึ่งรูปที่ exclusive ต่อช่องทางมีค่ากว่าภาพสวยๆ จาก Press Release มาก

จง share ทุกอย่าง วางรูปใน flickr หรือ picasa อัพโหลดวีดีโองาน Press ใน YouTube ถ่ายรูปความงามใต้เครื่องโน้ตบุ๊กแล้วส่งลง Twitpic

คนเขียนบล็อกหนึ่งเรื่องมักใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที โดยประมาณ (Exteen น่าจะมีตัวเลขนี้อยู่ ไปขอซื้อมาศึกษาซะดีๆ) วางข้อมูลทุกอย่างให้คนเขียนถึงแบรนด์ของคุณให้ได้ดีที่สุดในเวลาเท่านั้น จิ้มติด คลิก ลาก วาง แปะ วางรูปขนาดให้พอดีกับการใส่บล็อก ถ้าไม่ใช้เว็บแชร์รูปทั่วไป อย่าวางรูปคุณภาพระดับงานพิมพ์ 18MB เอาไว้โดยไม่วางรูปขนาด 60kB ไว้ด้วย

cut the crap ถ้าคนสนใจแค่ราคา จงบอกราคา อย่ากลัวที่จะบอกว่า “มือถือรุ่น XXX, เปิดราคา 13,200 บาท” เล่าที่เหลือ เมื่อว่างๆ อย่าใส่น้ำ

จะมีใครมาอ่านไหม?

 

lewcpe

CTO at MFEC PLC. Chief Editor at Blognone.com

 

8 thoughts on “กฏเหล็ก marketing online

  1. good post, I agree with you that the advertisement should be clear and do no evil. As I am in online advertising/marketing industry advertiser/adnetwork will try to sneak these type of scam or low quality ads in. If you see the adnetwork in America you will be shock… Free iPods, Free Macbook ads.. these are scams and the are paying $50 CPA.

    If all the publisher only care about money, then they will let the ad run and do nothing about it… because they make money. We as a publisher should protect our consumer as well.

    Seem like you and Blogone care about your reader.. thank you.

  2. follow นักการตลาดเยอะ ชักรู้สึกว่าหลายคนพยายามนำเสนอ Rule based ของการทำการตลาดออนไลน์ ทั้งที่จำเป็นต้องมีกฏเหรอ? การตลาดในไทยแบบที่ได้ตังค์ได้หน้า แบบไหนตามตำราบ้างเหรอ?

    ไม่รู้สินะ คำว่า การตลาดแบบเป็นมิตรเป็นเพื่อน กับการยัดเยียดขายของมันก็ใกล้กันแบบเส้นบางๆเลยแหละ อาจจะด้วยคำหรือวลีไม่กี่คำเลย

  3. ลงชื่ออ่านอย่างน้อย 1 คน 5555+

    จริง ๆ ผมว่ามันเกิดจากสมัยก่อน ช่วง web 1.0 นะ มาจากวัฒนธรรมเว็บบอร์ดชุมชนอย่าง pantip ที่เจ้าของสินค้าเอง อยากจะโพสต์ อยากจะบอกเล่า แต่ไม่ต้องการจ่ายเงินซื้อ banner เลยเป็นที่มาของการหาวิธีการตั้งกระทู้ให้เนียนที่สุด เพื่อหวังให้คนมีความคิดเห็นร่วมและเข้ามาตอบ ซึ่งบางทีอาจจะมีการทำเป็นทีมเพื่อเข้ามาตอบแบบไม่ชัดเจนเหมือนสมัยนี้

    ปัจจุบันก็ยังเห็นวิธีการนี้หลาย ๆ ครั้ง อย่างเช่นแนวร่วมการเชียร์เครื่องสำอางค์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งใน pantip ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง ซึ่งส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเมื่ออ่านกระทู้ที่มีผู้ร่วมตอบและเนื้อหากระทู้มีความน่าเชื่อถือจากความรู้สึกของผู้อ่าน โอกาสที่สินค้าจะเป็นที่จดจำและมีอิทธิพลชักจูง นำมาก่อให้เกิดการซื้อสินค้านั้น ๆ ไม่ออกไปซื้อทันทีก็ซื้อไปเมื่อเดินผ่านหรือเมื่อมีเงิน

    ทีนี้เมื่อเครื่องมือทางการสื่อสารมันมากขึ้น ความรู้สึกที่ว่ามันต้องเนียนจากคนวางแผนการตลาดมันยังอยู่ไงครับ เห็นได้จาก advertorial ตามรายการบันเทิงในทีวีที่ำำทำยังไงมันก็ไม่เนียนในความรู้สึกส่วนตัว เพราะมาเป็นสคริปต์ แต่คนอื่นอาจจะรู้สึกเนียน เพราะว่ามันมีความรู้สึกเหมือนเพื่อนมาบอกเล่า เป็นเนื้อหาที่เกิดการพูด ๆ ไปเรื่อย ๆ

    ถ้าเกิดเนื้อหามันโดนใจเยอะ ๆ สำหรับคนที่สนใจจริง ๆ คนก็น่าจะคุ้นเคย จะเสาะหาเหมือนอย่างที่คุณลิ่วยกตัวอย่างมา อย่างเช่นใน blognone ถ้าผมสนใจสินค้าชิ้นนึงมาก ๆ ผมก็คงไม่ได้หยุดการอ่านข่าวแค่ื blognone ผมคงไปคุ้ยหาข่าวแอนดรอยด์ว่ามันมีอะไร

    แต่ถ้ามองกลับกัน ก็มีคนอีกกลุ่มใหญ่ ๆ เช่นกันที่ไม่ได้สนใจในเรื่องการโปรโมตแบบ catch up ขนาดนี้ สังเกตได้จากการถามรายละเอียดสินค้าเพื่อเปรียบเทียบกันใน webboard ประเภท “ซื้ออะไรดีหนอ” แบบพฤติกรรมถามเพื่อนร่วมเว็บบอร์ด ซึ่งเสียงส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด แต่เป็นคำตอบที่เกิดจากแนวร่วม และยึดถือคำตอบเหล่านี้แบบ one-stop

    สรุปแล้วการโฆษณาต่าง ๆ นั้นมองว่าต้องเป็นการผสมผสานครับ และความเนียนก็ยังคงจำเป็นอยู่บ้างสำหรับคนกลุ่มหนึ่งเช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าสังคมกลุ่มนั้นเป็นสังคมที่จับไต๋ การตลาดเชิง “คุณพี่คะ คุณน้องขา ตัวนี้ดีมากเลย” ได้มากเท่าไหร่ ถ้าคนกลุ่มนั้นต้องการรูปแบบ full information และ one-2-one ก็ต้องจัดให้เค้าในสัดส่วนที่ก่อให้เกิดการรู้เท่าทันเหมือนกัน

    มีดหั่นขนมปัง มีดหั่นสเต็ก มีดหั่นเนื้อชิ้นใหญ่ จุดประสงค์การใช้ต่างกัน แต่วางอยู่ร่วมโต๊ะเดียวกันได้ครับ ^___^

  4. @arjin

    ผมเขียนบล็อกนี้ตอนตีสอง กำลังเมาๆ แถมคนเขียนไม่ได้จบการตลาด และไม่ได้ทำงานอะไรเกี่ยวข้องเลยแม้แต่น้อย ถ้านักการตลาดจะมาเชื่อผมก็ควรระวังล่ะครับ

    จริงๆ บล็อกนี้มันบ่นๆ มากกว่าว่าผมไม่ชอบที่พวกเขาทำๆ กันอยู่เท่านั้นเอง

  5. @norasama

    ไม่รู้ผมคิดไปเองรึเปล่านะ แต่ชุมชนอย่าง blognone นี่ผมว่าไม่น่าจะอาศัยเทคนิคการเนียนมาทำตลาดเท่าใหร่

  6. เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

    ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าบางหน่วยงาน เข้ามาแล้วก็มาฮาร์ดเซลกันปาวๆๆ เขาคิดว่าจะมีใครสนใจเขาหรือออ??

  7. @lewcpe

    จริงๆใครบ่นก็ได้ครับ นักการตลาดต้องทราบอยู่แล้วว่าหน้าที่พวกเขาคือทำไงก็ได้ที่จะทำสิ่งที่ตรงใจลูกค้ามากที่สุด ถ้าลูกค้ารู้สึกจับได้ ไม่เป็นมิตร สร้างภาพเกินไป ตอนนั้นนักการตลาดก็ผิดพลาดแล้วครับ

    …หรือเพราะ “เรา” follow นักการตลาดใน twitter เยอะไป :P

Comments are closed.